backup og meta

เห็ดหลินจือ สมุนไพรต้านมะเร็ง พร้อมประโยชน์ดีๆ ต่อสุขภาพ

เห็ดหลินจือ สมุนไพรต้านมะเร็ง พร้อมประโยชน์ดีๆ ต่อสุขภาพ

เห็ดหลินจือ เป็นเห็ดที่ถือเป็นสุดยอดสมุนไพรอย่างหนึ่ง ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ และในปัจจุบัน เห็ดหลินจือ ถือว่าเป็น สมุนไพรต้านมะเร็ง ที่เป็นที่นิยมนำมาทำอาหารเสริมเพื่อสุขภาพยอดนิยมที่ผู้คนนิยมบริโภค โดยเห็ดหลินจือ (Reishi และ Lingzhi) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่ากาโนเดอร์มา ลูซิดัม (Ganoderma lucidum) เป็นเห็ดราที่เจริญเติบโตในเขตร้อนชื้นในทวีปเอเชีย และมีการใช้เห็ดหลินจือในทางการแพทย์ตะวันออก เนื่องจากภายในเห็ดหลินจือมีโมเลกุล ได้แก่ ไตรเทอพีนอยด์ (triterpenoids) โพลีแซคคาไรด์ (polysaccharides) และเปปติโดไกลแคน (peptidoglycans) ที่มีผลต่อสุขภาพ บทความนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์สุขภาพที่ได้จาก เห็ดหลินจือ มาฝากคุณผู้อ่าน

ประโยชน์สุขภาพของ เห็ดหลินจือ สมุนไพรต้านมะเร็ง

1.เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

หนึ่งในคุณสมบัติที่สำคัญของเห็ดหลินจือคือการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เนื่องจากมีงานวิจัยที่ทำการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งได้ให้ข้อมูลว่า โมเลกุลบางโมเลกุลที่พบในเห็ดหลินจือ สามารถเพิ่มการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งมีหน้าที่ต่อสู้กับการติดเชื้อและต้านมะเร็งในร่างกาย

แต่อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยที่ให้ผู้ที่มีสุขภาพดีกินเห็ดหลินจือเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่าเห็ดหลินจือไม่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันและการอักเสบ เห็ดหลินจือจึงอาจส่งผลต่อเซลล์เม็ดเลือดขาว และระบบภูมิคุ้มกันในผู้ป่วย ส่วนประโยชน์ของการกินเห็ดหลินจือต่อผู้ที่มีสุขภาพดียังคงต้องการการศึกษาวิจัยต่อไป

2.เห็ดหลินจือมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง

หลายคนบริโภคเห็ดหลินจือเนื่องจากมีคุณสมบัติในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง เนื่องจากมีการศึกษาที่พบว่าผู้ที่รอดชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านมมากกว่า 4,000 คน บริโภคเห็ดหลินจือประมาณ 59% นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ศึกษาในหลอดทดลองที่แสดงให้เห็นว่า เห็ดหลินจือสามารถทำให้เซลล์มะเร็งตายได้

มากไปกว่านั้นยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่าเห็ดหลินจืออาจมีประโยชน์ต่อโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เนื่องจากส่งผลต่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการศึกษาวิจัยเรื่องเห็ดหลินจือกับมะเร็งยังคงต้องการการศึกษาเพิ่มเติมอีกมาก

3.เห็ดหลินจือสามารถต่อสู้กับความอ่อนเพลีย และภาวะซึมเศร้า

เห็ดหลินจือ สามารถช่วยบรรเทาความอ่อนเพลียและภาวะซึมเศร้า รวมถึงช่วยทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นด้วย มีงานวิจัยที่กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคอ่อนเพลีย (Neurasthenia) ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้อาการปวดเมื่อย ความเจ็บปวด เวียนศีรษะ ปวดหัว และความหงุดหงิด ผลการวิจัยพบว่าความอ่อนเพลียลดลงและอาการต่างๆ ดีขึ้น หลังจากกลุ่มตัวอย่างกินอาหารเสริมเห็ดหลินจือเป็นเวลา 8 สัปดาห์

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่า กลุ่มผู้ที่รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านมจำนวน 48 คน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและความเหนื่อยลดลง หลังจากกินผงสกัดเห็ดหลินจือเป็นเวลา 4 สัปดาห์

4.เห็ดหลินจือดีต่อสุขภาพหัวใจ

งานวิจัยที่ศึกษาเป็นเวลา 12 สัปดาห์ให้ข้อมูลว่า เห็ดหลินจืออาจเพิ่มไขมันดี (HDL) ในร่างกาย และเห็ดหลินจืออาจช่วยลดปริมาณไตรกลีเซอร์ไรด์ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยที่พบว่า การกินเห็ดหลินจือไม่ส่งผลต่อปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และมีงานวิจัยที่ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่าการบริโภคเห็ดหลินจือเป็นเวลานาน 16 สัปดาห์ ไม่ได้ทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายดีขึ้น

5.เห็ดหลินจืออาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

งานวิจัยหลายงานวิจัยชี้ว่า โมเลกุลที่พบในเห็ดหลินจือสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ได้ และมีบางงานวิจัยที่ศึกษาในมนุษย์รายงานว่าพบผลลัพธ์ที่คล้ายกัน แต่อย่างไรก็ตามมีผลการวิจัยที่พบว่าเห็ดหลินจือให้ผลลัพธ์ที่แย่กว่ายาหลอก (Placebo) ดังนั้นประโยชน์ของเห็ดหลินจือในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจึงยังคงต้องการการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมต่อไป

ข้อควรระวังในการกินเห็ดหลินจือ

  • ผลข้างเคียงจากการกินเห็ดหลินจือ อาจทำให้มีอาการปากแห้ง รวมถึงที่คอและจมูก และอาจมีอาการคันร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีอาการไม่สบายท้อง เลือดกำเดาไหล และอุจจาระมีเลือด เพิ่มเติมไปกว่านั้นการกินไวน์เห็ดหลินจือสามารถทำให้เกิดผื่นคัน และการหายใจเข้าและได้รับสปอร์ของเห็ดหลินจืออาจกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้
  • การกินเห็ดหลินจือในรูปแบบผง เห็ดหลินจืออาจไม่ปลอดภัย หากบริโภคผงเห็ดหลินจือนานเกิน 1 เดือน เนื่องจากผงเห็ดหลินจือมีผลต่อการเป็นพิษในตับ
  • ภาวะเลือดออกผิดปกติ การกินเห็ดหลินจือมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงในการมีเลือดออกได้
  • ความดันโลหิตต่ำ เห็ดหลินจือมีแนวโน้มว่าสามารถลดความดันโลหิต ซึ่งอาจรบกวนการรักษาทางการแพทย์ และในกรณีที่คุณมีความดันโลหิตต่ำ ควรหลีกเลี่ยงการกินเห็ดหลินจือ
  • ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ การกินเห็ดหลินจือมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยง ในการมีเลือดออกของผู้ที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ดังนั้นถ้าคุณมีเกล็ดเลือดต่ำควรหลีกเลี่ยงการกินเห็ดหลินจือ
  • การผ่าตัด การกินเห็ดหลินจือมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงในการมีเลือดออกก่อนและระหว่างการผ่าตัด ดังนั้นควรหยุดกินเห็ดหลินจือ 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

6 Benefits of Reishi Mushroom (Plus Side Effects and Dosage). https://www.healthline.com/nutrition/reishi-mushroom-benefits. Accessed on October 5, 2018.

REISHI MUSHROOM. https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-905/reishi-mushroom. Accessed on October 5, 2018.

Ganoderma lucidum (Lingzhi or Reishi). https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK92757/. Accessed on October 5, 2018.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/08/2020

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตรีผลา สรรพคุณและผลข้างเคียงที่ควรรู้

รู้หรือไม่ อาหารก่อมะเร็ง มีอะไรบ้าง?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 11/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา