กิมจิ (Kimchi) เป็นผักดองไตล์เกาหลีที่ได้จากการดองผักต่าง ๆ เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว หัวใจเท้า นิยมรับประทานเป็นอาหารเคียง หรือนำมาให้ประกอบอาหารเมนูต่าง ๆ เช่น ข้าวผัดกิมจิ ซุปกิมจิ กิมจิมีสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุที่อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ เช่น เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น อย่างไรก็ตาม โซเดียมในกิมจิอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพได้เช่นกัน จึงควรรับประทานกิมจิด้วยความระมัดระวัง
[embed-health-tool-bmi]
ประโยชน์ของกิมจิต่อสุขภาพ
เนื่องจากในกิมจิประกอบไปด้วยพืชผัก จึงอุดมไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุ และวิตามินนานาชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี6 แร่ธาตุ และกรดอะมิโนมากกว่า 34 ชนิด โดบสารอาหารเหล่านั้นอาจมีปริมาณมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับกระบวนการทำเครื่องปรุงของแต่ละสูตร แต่โดยรวมแล้ว การรับประทานกิมจิในปริมาณที่เหมาะสมอาจช่วยให่สุขภาพดีขึ้นได้ ดังนี้
-
อาจช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
การรับประทานผักที่ผ่านการหมักดอง ทำให้เกิดการก่อตัวของ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ซึ่งเป็นแบคทีเรียในเชิงบวกที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับ ประโยชน์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของเชื้อแบคทีเรียที่ได้จากการหมักกิมจิ เผยแพร่ในวารสาร Foods พ.ศ. 2565 นักวิจัยได้ทำการทดลองกับหนูทดลองที่ได้รับการฉีดแลคโตบาซิลลัสชนิด Plantarum ที่ถูกค้นพบในกิมจิจำนวนมาก พบว่าระดับของ Tumor necrosis factor (TNF)-alpha ที่สร้างความอักเสบของภายในร่างกายลดลง จึงทำให้ไม่เข้าไปขัดขวางการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
- อาจช่วยการทำงานของระบบย่อยอาหารให้เป็นปกติ
ในกิมจิ มีโพรไบโอติก (Probiotics) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหารและแบคทีเรียชนิดดีอย่างแลคโตบาซิลลัส จึงอาจช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งยังอาจป้องกันโรคท้องร่วง ท้องผูก และปรับปรุงสุขภาพในช่องทางเดินอาหารให้มีความสมดุลยิ่งขึ้น
3. อาจช่วยบรรเทาอาการอักเสบ
สารสกัดกิมจิอาจมีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการอักเสบ งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับสารสกัดกิมจิและสารประกอบในกิมจิ เผยแพร่ในวารสาร Journal of Medicinal Food พ.ศ. 2557 จากการตรวจสอบสารอาหารในกิมจิ นักวิจัยได้พบสารประกอบชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า HDMPPA ซึ่งอาจมีส่วนช่วยในเรื่องของการต้านการอักเสบ และบำรุงหลอดเลือดให้มีการไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องมีการวิเคราะห์ ศึกษาเพิ่มเติมถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสารประกอบนี้อย่างละเอียดอีกครั้ง
4. อาจช่วยควบคุมน้ำหนัก
การรับประทานผักหรืออาหารหมักดอง มักทำให้ร่างกายได้รับแคลอรี่ในปริมาณที่น้อย กิมจิจึงอาจใช้เป็นอาหารลดน้ำหนักในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานคู่กับเมนูอื่น ๆ ที่มีสารอาหารอย่างครบถ้วนตามหลักโภชนาการ เพื่อเป็นการเพิ่มพลังงานในร่างกายในแต่ละวัน และควรออกกำลังกายอย่างเป็นประจำต่อเนื่อง โดยอาจเข้ารับคำปรึกษาจากนักโภชนาการ หรือเทรนเนอร์ควบคู่กันไปด้วย
5. อาจช่วยปรับปรุงระบบความจำ
ในกิมจิมีสารแคพไซซิน (Capsaicin) ซึ่งเป็นสารประกอบฟีนอลิกที่พบในผักหรือวัตถุดิบที่นำมาทำกิมจิ มีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสมอง งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของสารสกัดชีวภาพที่ได้จากกิมจิต่อการปรับปรุงสมองและความจำ เผยแพร่ในวารสาร Nutrients พ.ศ. 2561 นักวิจัยได้ทำการทดลองกับหนูทดลอง โดยให้หนูบริโภคสารสกัดแคพไซซินที่ได้จากการสกัดกิมจิเป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่าสารแคพไซซินดังกล่าวอาจทำให้ระบบความจำและทักษะของหนูทดลองดีขึ้น นักวิจัยจึงสรุปว่าสารแคพไซซินในกิมจิอาจช่วยบำรุงสมอง ฟื้นความจำ และบรรเทาอาการโรคอัลไซเมอร์ อย่างไรก็ตาม เป็นการทดลองในสัตว์ทดลอง ควรมีการทดลองในมนุษย์เพิ่มเติมเพื่อยืนยันประสิทธิภาพการบริโภคกิมจิต่อไป
ผลข้างเคียงของ กิมจิ ต่อสุขภาพ
แม้ว่าการรับประทานกิมจิอาจจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ในขณะเดียวกันอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน เนื่องจากอาหารหมักดอง มักประกอบไปด้วยเกลือ หรือโซเดียมอยู่จำนวนมาก หากรับประทานเกินกว่าปริมาณ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน อาจได้รับความเสี่ยงที่จะทำให้กระเพาะอาหาร ลำไส้แปรปรวน และเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากต้องการจะรับประทานกิมจิอย่างปลอดภัย ควรรับประทานควบคู่กับข้าวสวยร้อน ๆ หรือนำมาปรุงในเมนูอื่น ๆ ทดแทน
นอกจากนั้นแล้ว สำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจ ควรขอรับคำปรึกษาจากคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญหากต้องการรับประทานกิมจิเป็นประจำ