backup og meta

ส้มโอ ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 30/10/2023

    ส้มโอ ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

    ส้มโอ เป็นผลไม้ตระกูลส้ม มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว สามารถรับประทานได้ทั้งแบบสด นำมาเชื่อมเป็นของหวาน หรือกวนแล้วปรุงรสเป็นส้มโอ 3 รสก็ได้เช่นกัน ส้มโออุดมไปด้วยวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยต้านการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกายจากการทำลายของอนุมูลอิสระ ทั้งยังอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ ช่วยต้านริ้วรอย ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อราและอาจช่วยต้านมะเร็งได้อีกด้วย

    คุณค่าทางโภชนาการของส้มโอ

    ส้มโอ ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 38 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น

    นอกจากนี้ ส้มโอยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินบี ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม สังกะสี ธาตุเหล็ก โซเดียม แมงกานีส แมกนีเซียม ทองแดง

    ประโยชน์ของส้มโอที่มีต่อสุขภาพ

    ส้มโอมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของส้มโอในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้

    1. อาจดีต่อสุขภาพหัวใจ

    เปลือกส้มโออุดมไปด้วยสารประกอบหลายชนิด เช่น ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) คูมาริน (Coumarin) ลิโมนอยด์ (Limonoid) อัลคาลอยด์ (Alkaloid) โพลีฟีนอล (Polyphenol) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และช่วยลดไขมันสะสมในเส้นเลือด จึงอาจช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร PLOS One เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 ศึกษาประสิทธิภาพของเปลือกส้มโอและความผิดปกติของการเผาผลาญที่เกิดจากอาหารที่มีไขมันสูง พบว่า เปลือกส้มโออุดมไปด้วยสารประกอบหลายชนิด เช่น ฟลาโวนอยด์ คูมาริน ลิโมนอยด์ อัลคาลอยด์ โพลีฟีนอล ที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านความดันโลหิตสูงและช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจ

    ทั้งยังอาจป้องกันความผิดปกติของระบบเผาผลาญที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ช่วยลดระดับไขมันในเลือดและลดน้ำตาลในเลือดสูง โดยการแพทย์แผนจีนได้นำเปลือกส้มมาใช้เพื่อรักษาอาการอาหารไม่ย่อย ไอ คลื่นไส้ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตับ ท้องผูก ผิวหนังอักเสบ มะเร็ง และปวดกล้ามเนื้อ ทั้งนี้ ยังคงเป็นการทดลองในสัตว์ ควรมีการวิจัยเพิ่มเติมในมนุษย์เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของส้มโอในการส่งเสริมสุขภาพหัวใจและช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

    1. อาจช่วยต่อต้านริ้วรอย

    ส้มโออุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น วิตามินซี เฮสเพอริดิน (Hesperidin) นีโอเฮสเพอริดิน (Neohesperidin) นารินจินิน (Naringenin) ที่ช่วยต้านปฏิกิริยาที่ก่อให้เกิดการอักเสบของผิวหนัง จึงอาจสามารถช่วยป้องกันการเกิดริ้วรอยได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน EXCLI Journal เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 ศึกษาเกี่ยวกับสารสกัดจากส้มโอในการป้องกันการอักเสบที่เกิดจากน้ำตาลและปฏิกิริยาไกลเคชั่น (Glycation) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดจากการบริโภคน้ำตาลหรือแป้งในปริมาณที่มากเกินไปทำให้น้ำตาลในเลือดไปทำปฏิกิริยากับโปรตีน

    การวิจัยพบว่า ส้มโออุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น วิตามินซี เฮสเพอริดิน นีโอเฮสเพอริดิน นารินจินิน ที่ช่วยต่อต้านการเกิดปฏิกิริยาไกลเคชั่น ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดสารที่เรียกว่า สารที่ทำให้เกิดการแก่ (Advanced Glycation End Products หรือ AGEs) ซึ่งส่งผลต่อโครงสร้างเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย เนื่องจากการสะสมของน้ำตาลและไขมันในเลือดที่สูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเซลล์ผิวหนังทำให้ผิวขาดความยืดหยุ่น จนทำให้เกิดริ้วรอยและความเหี่ยวย่น

    1. อาจช่วยต้านเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย

    สารสกัดในน้ำมันหอมระเหยจากส้มโออาจมีฤทธิ์ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา เช่น เชื้อแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus หรือ S. aureus) ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคติดเชื้อในอาหาร (Pathogen) และอาจสามารถพัฒนาเพื่อใช้เป็นสารกันบูดในอาหารได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Molecules เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 ศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในสารสกัดจากส้มโอ

    การวิจัยพบว่า น้ำมันหอมระเหยจากส้มโอมีสารประกอบหลายชนิด เช่น อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier) ไคโตซาน (Chitosan) ลิโมนีน (Limonene) อาจมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส และเชื้อราอีโคไล (Escherichia coli หรือ E. coli) ได้เป็นอย่างดี จึงอาจสามารถพัฒนาเป็นสารกันบูดในอาหารได้

    1. อาจช่วยต้านมะเร็ง

    ส้มโอมีสารประกอบอย่างโพลีแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) ที่อาจมีคุณสมบัติช่วยต้านการเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็ง กระตุ้นการตายของเนื้องอกและช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ดียิ่งขึ้น โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Polymers เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้างเบื้องต้นของโพลีแซ็กคาไรด์จากเปลือกส้มโอและกลไกการต้านเนื้องอก

    การวิจัยพบว่า โพลีแซ็กคาไรด์เป็นสารสกัดจากเปลือกส้มโอที่อาจมีฤทธิ์ช่วยต้านเนื้องอกซาโคมา (Sarcoma) ซึ่งเป็นเนื้องอกที่มีจุดกำเนิดมาจากกระดูก กระดูกอ่อน ไขมัน กล้ามเนื้อ หรือเส้นเลือด ยับยั้งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเนื้องอกซาโคมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง ยังช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกัน ปรับปรุงการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว และกระตุ้นการตายของเซลล์เนื้องอก ทั้งนี้ ยังคงเป็นการทดลองในสัตว์ ควรมีการวิจัยเพิ่มเติมในมนุษย์เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของส้มโอในการต้านมะเร็ง

    ข้อควรระวังในการบริโภคส้มโอ

    ข้อควรระวังบางประการที่ควรระวังก่อนบริโภคส้มโอ อาจมีดังนี้

    • ส้มโอเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีและเป็นกรดสูง การรับประทานมากเกินไปอาจทำให้มีอาการท้องเสีย ปวดท้อง มวนท้องและท้องอืดได้
    • ส้มโอมีสารประกอบฟูราโนคูมาริน (Furanocoumarins) ที่อาจเกิดปฏิกิริยากับยาบางชนิด เช่น ยาลดคอเลสเตอรอล ยาลดความดันโลหิต ยาแก้แพ้ ซึ่งอาจขัดขวางการออกฤทธิ์และการดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกาย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 30/10/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา