backup og meta

แก้วมังกร ประโยชน์ที่ควรรับประทาน

แก้วมังกร ประโยชน์ที่ควรรับประทาน

แก้วมังกร เป็นผลไม้ที่อุดมด้วยสารอาหารและคุณประโยชน์หลายชนิด เช่น วิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เบตาไซยานิน ไลโคปีน ช่วยป้องกันความเสื่อมของเซลล์ และอาจช่วยต้านเบาหวาน ต้านมะเร็งสามารถรับประทานแบบสด ๆ หรือใช้เป็นอาหารเสริมก็ได้เช่นกัน

แก้วมังกร คืออะไร

แก้วมังกร คือ ผลไม้ในตระกูลกระบองเพชร ลักษณะของผลเป็นทรงกลมรี มีเปลือกสีม่วงหรือม่วงอมแดง เนื้อข้างในอาจมีสีขาว หรือม่วงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีเมล็ดคล้ายเมล็ดแมงลักอยู่ทั่วผล รสชาติหวานอมเปรี้ยว เวลาเคี้ยวให้ความรู้สึกกรุบกรอบ ซึ่งวิธีการรับประทานก็เพียงแค่นำมาผ่าครึ่ง แล้วใช้ช้อนตักรับประทานได้เลย นอกจากนี้ ยังมีแก้วมังกรเปลือกสีเหลืองเนื้อขาว ที่อาจไม่ค่อยได้พบเห็น ซึ่งพันธุ์นี้จะมีรสชาติหวานกว่าแก้วมังกรเปลือกม่วงเนื้อขาว

โภชนาการของแก้วมังกร

แก้วมังกรประมาณ 170 กรัม ให้พลังงาน 102 กิโลแคลอรี่ ไม่มีไขมัน ทั้งยังอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ดังนี้

แก้วมังกร ประโยชน์ที่ควรรู้

แก้วมังกรมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เช่น

  • เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน แก้วมังกรอุดมด้วยวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระอื่น ๆ เช่น ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) เบตาไซยานิน (Betacyanin) กรดฟีนอลิก (Phenolic Acid) ซึ่งดีต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาจช่วยชะลอวัย ป้องกันการเกิดริ้วรอยต่าง ๆ ก่อนวัย รวมถึงอาจช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็ง นอกจากนี้ แก้วมังกรยังมีวิตามินซีที่อาจช่วยป้องกันการเป็นหวัด
  • แก้ท้องผูก แก้วมังกรมีไฟเบอร์หรือใยอาหารสูง ซึ่งอาจช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย หรือขับถ่ายได้คล่องขึ้น
  • ช่วยลดน้ำหนัก แก้วมังกรปราศจากไขมัน มีใยอาหารสูง และแคลอรี่ต่ำ ซึ่งอาจช่วยทำให้อิ่มท้องนานขึ้นระหว่างมื้ออาหาร
  • ช่วยลดของระดับน้ำตาลในเลือด แก้วมังกรมีสารที่ชื่อว่า มิวซิเลจ (Mucilage) อาจช่วยดูดซับน้ำในร่างกาย จึงอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทั้งนี้ จากการวิจัยชิ้นหนึ่งในปี พ.ศ.2560 พบว่า การรับประทานแก้วมังกรช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
  • ช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ เนื่องจากมีพรีไบโอติกที่อาจปรับความสมดุลของแบคทีเรียชนิดดีและไม่ดีในลำไส้ รวมถึงอาจช่วยย่อยอาหาร
  • ช่วยเพิ่มธาตุเหล็กในร่างกาย แก้วมังกรประกอบไปด้วยธาตุเหล็กที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ธาตุเหล็กช่วยเคลื่อนย้ายออกซิเจนไปทั่วร่างกายและยังให้พลังงาน อาจช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย

ข้อควรระวังการรับประทานแก้วมังกร

แม้แก้วมังกรจะมีประโยชน์และปลอดภัย แต่มีการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า สำหรับบางคนเมื่อรับประทานแก้วมังกรแล้วอาจเกิดอาการแพ้ ส่งผลทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ลิ้นบวม ลมพิษขึ้น เป็นต้น

นอกจากนั้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานควรจำกัดการรับประทานแก้วมังกร เนื่องจาก แก้วมังกรอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งการรับประทานแก้วมังกรร่วมกับยารักษาโรคเบาหวานอาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปจนอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Dragon Fruit. https://www.webmd.com/food-recipes/benefits-dragon-fruit. Accessed December 6, 2021

All About Dragon Fruit: 3 Health Benefits + How to Eat It. https://health.clevelandclinic.org/get-to-know-the-incredible-edible-dragon-fruit/. Accessed December 6, 2021

Dragon fruit (Hylocereus undatus) peel as antioxidant dietary fibre on quality and lipid oxidation of chicken nuggets. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7054537/. Accessed December 6, 2021

แก้วมังกร. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/366/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3/. Accessed December 6, 2021

Phytoconstituents and pharmaco-therapeutic benefits of pitaya: A wonder fruit. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32378233/. Accessed December 6, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/12/2021

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

หัวปลี สารอาหารสำคัญ สรรพคุณทางยา และประโยชน์ของหัวปลี

องุ่น (Grape)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 06/12/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา