backup og meta

สารปรอทในอาหาร พิษต่อสุขภาพ อันตรายที่คุณควรระวัง

สารปรอทในอาหาร พิษต่อสุขภาพ อันตรายที่คุณควรระวัง

สารปรอท เป็นสารพิษชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ โดยเฉพาะในอาหาร ซึ่งสารปรอทในอาหารนี้ หากสะสมเข้าสู่ร่างกายในระดับที่สูงมากจนเกิดพิกัด จะมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพตั้งแต่ความรุนแรงในระดับต่ำไปจนถึงความรุนแรงในระดับสูง Hello คุณหมอ มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับ สารปรอทในอาหาร มาฝากค่ะ

สารปรอท คืออะไร

ปรอท หรือ สารปรอท (Mercury) คือโลหะที่เป็นพิษ จัดเป็นสารพิษตามธรรมชาติที่สามารถพบได้ทั้งในอากาศ แหล่งน้ำ และในดิน รวมถึงยังพบได้จากโรงงานอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และอาหารต่างๆ ซึ่งร่างกายของเรามักจะได้รับสารปรอทสะสมจากการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารจำพวกปลา กุ้ง หอย หรืออาหารทะเล มากไปกว่านั้นยังรวมถึงเนื้อสัตว์ที่กินปลาเป็นอาหารด้วย

อาหารชนิดใดบ้างที่มีสารปรอท

มีอาหารอยู่หลายชนิดทีเดียวที่อาจพบการปนเปื้อนของ สารปรอท โดยเฉพาะอาหารจำพวกปลา หรืออาหารทะเล อย่างไรก็ตาม อาหารที่อาจมีการปนเปื้อนสารปรอทนั้นอาจสามารถจำแนกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

ปนเปื้อน สารปรอท ในระดับต่ำ

  • ปลาแอนโชวี่
  • ปลาดุก
  • หอยกาบ
  • ปู
  • เครย์ฟิช หรือล็อบสเตอร์น้ำจืด
  • ปลาลิ้นหมา
  • ปลาแฮร์ริ่ง
  • ปลาแมคเคอเรล
  • หอยนางรม
  • หอยเชลล์
  • กุ้ง
  • ปลาหมึก
  • แซลมอน
  • ปลาซาร์ดีน
  • ปลานิล
  • ปลาเทราต์
  • ปลาโซล (Soles Fish)
  • ปลาไวท์ฟิช (Whitefish)
  • ปลาเพิร์ช (Perch)
  • ปลาพอลล็อค (Pollock)
  • ปลากระบอก (Mullet)
  • ปลาแฮ็ดด็อค (Haddock)
  • ปลาเฮก (Hake)
  • ปลาแอตแลนติกครอกเกอร์ (Croaker (Atlantic))

ปนเปื้อน สารปรอท ในระดับปานกลาง

  • ล็อบสเตอร์
  • ปลาทูน่า (โดยเฉพาะทูน่าที่บรรจุมาในกระป๋องขนาดบาง)
  • ปลาอีโต้มอญ หรือปลามาฮิ มาฮิ (Mahi-Mahi)
  • ปลามังค์ฟิช (Monkfish)
  • ปลาเพิร์ชน้ำจืด (Perch)
  • ปลาสเกต (Skate)
  • ปลาไทล์ฟิช (Tilefish)
  • ปลาแบส (Bass)
  • ปลาแฮลิบัต (Halibut)

ปนเปื้อน สารปรอท ในระดับสูง

  • ปลาเก๋า
  • ปลากะพง
  • ปลาหิมะ
  • ปลาอินทรี
  • ทูน่าครีบเหลือง
  • ฉลาม
  • ปลากระโทง
  • ปลากระโทงดาบ (Swordfish)
  • ปลาหัวเมือก (Orange Roughy)
  • ปลาบลูฟิช (Bluefish)

ภาวะเป็นพิษจากสารปรอทเป็นอย่างไร

สารปรอทจะยังไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกายในทันที จนกระทั่งร่างกายได้สะสมปรอทเอาไว้ในปริมาณที่สูงและสูงมากจนเกินพิกัด ร่างกายจะเริ่มมีปฏิกิริยาที่เป็นผลมาจากสารปรอท ซึ่ง สารปรอท หากสะสมไว้มากจะมีผลต่อระบบประสาทและสมอง และแสดงออกผ่านลักษณะอาการดังต่อไปนี้

  • มีอาการหงุดหงิด
  • มีอาการชาที่มือและเท้า
  • มีปัญหาที่เกี่ยวกับความจำ
  • มีอาการประหม่า
  • มีอาการสั่น
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • มีความบกพร่องทางการมองเห็น
  • เกิดความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว การพูด การเดิน การได้ยิน
  • อาการซึมเศร้า
  • อาการวิตกกังวล

ถ้าหากเด็กหรือสตรีมีครรภ์ได้รับ สารปรอท มากจนเกินพิกัด จะมีผลต่อระบบประสาทและสมองของเด็กหรือทารกในครรภ์  เสี่ยงที่จะมีพัฒนาการด้านต่างๆ ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน ดังนั้นในกลุ่มเด็กและผู้ที่กำลังตั้งครรภ์จึงควรระมัดระวังเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษ

วิธีป้องกันความเสี่ยงจาก สารปรอทในอาหาร

วิธีป้องกันความเสี่ยงของ สารปรอท ที่ดีที่สุดก็คือ ลดความเสี่ยงในการนำเอาสารปรอทเข้าสู่ร่างกาย ดังนี้

  • รับประทานปลาขนาดใหญ่เป็นครั้งคราว เนื่องจากปลาขนาดใหญ่ที่มาจากมหาสมุทรหรือปลาที่นำเข้า มักมีความเสี่ยงที่จะปนเปื้อนสารปรอทสูง
  • หากกำลังตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงปลาที่อาจจะมีการปนเปื้อนของ สารปรอท หรือควรระมัดระวังอาหารจำพวกเนื้อปลามากเป็นพิเศษ ควรเลือกเนื้อปลาที่มาจากแหล่งจำหน่ายที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้
  • เด็กควรรับประทานอาหารทะเลตามปริมาณที่องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ FDA กำหนดไว้ คือ อายุต่ำกว่า 3 ปี กินอาหารทะเลได้ 1 ออนซ์ เด็กอายุ 4-7 ปี กินอาหารทะเลได้ 2 ออนซ์
  • เพื่อการเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ควรไปตรวจหาสารปรอทในร่างกายเสียก่อน
  • หากสัมผัสกับ สารปรอท มา ควรล้างมือให้สะอาดทันที
  • หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สถานที่ที่มีการปนเปื้อนของสารปรอท

ต้องงดกินปลาเพื่อป้องกันสารปรอทหรือไม่

เนื่องจากปลาเป็นอาหารที่มักพบการปนเปื้อนของ สารปรอท มากกว่าอาหารชนิดอื่นๆ หลายคนจึงอาจเกิดความกังวลขึ้นมาว่า “แล้วแบบนี้จะต้องเลิกกินปลาเลยไหม จะได้ลดความเสี่ยงของการสะสมสารปรอทไว้ในร่างกาย’

แต่…เราไม่จำเป็นที่จะต้องเลิกหรืองดกินปลาเพียงเพื่อจะหลีกหนีจากสารปรอท เพราะในปลามีคุณค่าทางโภชนาการที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งกรดไขมันที่มีประโยชน์ โอเมก้า 3 หรือโปรตีน เป็นต้น เพียงแต่อาจจะต้องใส่ใจกับการกินปลามากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสะสมของสารปรอทอย่างเด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ FDA แนะนำเอาไว้ว่า

  • ควรรับประทานปลาประมาณ 227-340 กรัม หรือประมาณ 2-3 มื้อต่อสัปดาห์
  • เลือกเนื้อปลาที่มีการปนเปื้อนของสารปรอทในระดับที่ต่ำ เช่น แซลมอน กุ้ง ปลาซาร์ดีน
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานปลาที่มีการปนเปื้อน สารปรอท ในระดับสูง
  • เลือกปลาที่มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้และมีความปลอดภัย

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Mercury poisoning definition and facts*. https://www.medicinenet.com/mercury_poisoning/article.htm. Accessed on October 5, 2020.

Understanding Mercury Poisoning. https://www.healthline.com/health/mercury-poisoning. Accessed on October 5, 2020.

Mercury Guide. https://www.nrdc.org/stories/mercury-guide. Accessed on October 5, 2020.

What You Need to Know about Mercury in Fish and Shellfish. https://www.webmd.com/diet/mercury-in-fish#1. Accessed on October 5, 2020.

The Best Types of Fish to Avoid Mercury. https://www.verywellfit.com/the-best-types-of-fish-for-health-2223830. Accessed on October 5, 2020.

Should You Avoid Fish Because of Mercury?. https://www.healthline.com/nutrition/mercury-content-of-fish. Accessed on October 5, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/10/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารล้างพิษตับ 14 ชนิด ที่จะช่วยให้ตับสะอาด ปราศจากสารพิษ

คีเลชั่นบำบัด อีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่อยาก กำจัดสารพิษ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 07/10/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา