backup og meta

รู้หรือไม่? บริโภคคาเฟอีน มากเกินไป ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 19/02/2021

    รู้หรือไม่? บริโภคคาเฟอีน มากเกินไป ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

    หากคุณบริโภค คาเฟอีน (Caffeine) ในปริมาณน้อยจนถึงปานกลาง ก็อาจให้ประโยชน์ต่อสุขภาพที่น่าประทับใจสำหรับใครหลาย ๆ คน แต่ในทางกลับกัน หากคุณ บริโภคคาเฟอีน มากเกินไป ไม่ว่าจะในรูปแบบเครื่อมดื่มใด ๆ  ก็อาจสามารถส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ และการดำเนินการใช้ชีวิตประจำวันของคุณนั้นเปลี่ยนแปลงไปได้อีกด้วย แต่จะเกิดผลเสียมากน้อยแค่ไหนนั้น ลองอ่านได้ในบทความนี้ของ Hello คุณหมอ ที่นำมาฝากกันค่ะ

    บริโภคคาเฟอีน ปริมาณเท่าไหร่ จึงจะถือว่า มากเกินไป

    การบริโภคคาเฟอีน 400 มิลลิกรัมต่อวันถือว่าปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี นอกจากนี้วัยเด็กไม่ควรบริโภคคาเฟอีน ส่วนวัยรุ่นควรจำกัดปริมาณการบริโภคคาเฟอีน และควรหลีกเลี่ยงการผสมคาเฟอีนกับสารอื่น ๆ เช่น แอลกอฮอล์

    มากไปกว่านั้นผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ได้แก่

    • ผู้ที่มีภาวะไวต่อคาเฟอีน
    • ผู้ที่กินยารักษาโรคบางชนิด
    • ผู้หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์ หรือผู้หญิงที่กำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาคุณหมอก่อนบริโภคคาเฟอีน

    และการบริโภคคาเฟอีนในปริมาณมากจนเกินไป สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ดังต่อไปนี้

    ผลกระทบของการ บริโภคคาเฟอีน มากเกินไป

    1. ความวิตกกังวล

    ถึงแม้ว่า การบริโภคคาเฟอีน สามารถเพิ่มการตื่นตัวของร่างกายได้ แต่การบริโภคในปริมาณมากเกินไปอาจนำไปสู่ความกังวล หรือความกระวนกระวายใจ เนื่องจากมีรายงานว่า การบริโภคคาเฟอีนต่อวัน 1000 มิลลิกรัมหรือมากกว่า สามารถทำให้เกิดความกังวลใจ ความกระวนกระวายใจ และอาการที่คล้ายกันในคนส่วนใหญ่ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่บริโภคคาเฟอีนในระดับปานกลางก็อาจมีผลกระทบคล้ายกัน หากเป็นผู้ที่ไวต่อคาเฟอีน (Caffeine sensitivity)

    มากไปกว่านั้นงานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาในผู้ชายที่มีสุขภาพดีจำนวน 25 คน โดยให้บริโภคคาเฟอีน 300 มิลลิกรัม ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างประสบกับความเครียดมากกว่าสองเท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับยาหลอก (placebo)

    ดังนั้นหากคุณสังเกตเห็นว่า ตนเองมักจะรู้สึกกังวลหรือกระวนกระวายใจบ่อยๆ คุณควรดูปริมาณคาเฟอีนที่ได้รับต่อวัน และอาจลดปริมาณลง

    2. โรคนอนไม่หลับ

    คาเฟอีนสามารถช่วยให้คุณตื่นระหว่างวัน แต่อาจส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับของคุณ เนื่องจากมีงานวิจัยที่พบว่า การบริโภคคาเฟอีนมากกว่าสามารถเพิ่มระยะเวลาที่ใช้ ในช่วงก่อนนอนหลับ และสามารถลดเวลาในการนอนหลับโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ

    นอกจากนี้ การบริโภคคาเฟอีน ในช่วงตอนบ่ายของวัน อาจรบกวนการนอนหลับของคุณ เนื่องจากมีงานวิจัยที่ชี้ว่า คาเฟอีนจะมีผลต่อร่างกายโดยเฉลี่ยเป็นเวลา 5 ชั่วโมง โดยช่วงเวลาอาจมีตั้งแต่ 1 ชั่วโมง 30 นาทีจนถึง 9 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับแต่ละคน ดังนั้นจึงไม่ควรบริโภคคาเฟอีนหลังบ่าย 2 โมงเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนอนไม่หลับ

    3. การขับถ่ายและโรคกรดไหลย้อน

    คาเฟอีน สามารถกระตุ้นการขับถ่ายได้ด้วยการเพิ่มการหดตัวของกล้ามเนื้อของทางเดินอาหาร (Peristalsis) จึงอาจทำให้บางคนขับถ่ายดีขึ้น หรือมีอาการท้องเสีย นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่า การบริโภคคาเฟอีน อาจทำให้อาการของโรคกรดไหลย้อนแย่ลง เนื่องจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน สามารถทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่างคลายตัว ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของอาการกรดไหลย้อน ดังนั้นถ้าคุณมีอาการกรดไหลย้อน หลังจากดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคคาเฟอีน

    4. การเสพติด

    จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า คาเฟอีนสามารถกระตุ้นสารเคมีในสมองบางชนิด คล้ายกับโคเคนและแอมเฟตามีน แต่คาเฟอีนไม่ได้เป็นเหตุให้เกิดการเสพติดเหมือนกับยาทั้ง 2 ชนิด แต่อย่างไรก็ตาม การบริโภคคาเฟอีน มากเกินไป สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายได้

    นอกจากนี้จากการสำรวจผู้ที่บริโภคคาเฟอีน 213 คน ผลการสำรวจพบว่าหลังจากที่กลุ่มตัวอย่างไม่ได้บริโภคคาเฟอีน 16 ชั่วโมง พวกเขามีอาการปวดหัวและอ่อนเพลียมากขึ้น และมีอาการอื่นๆ ที่เกิดจากการขาดคาเฟอีน (Caffeine withdrawal) เมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้บริโภคคาเฟอีนทุกวัน

    ถึงแม้ว่าคาเฟอีนอาจไม่ได้ทำให้เสพติดอย่างแท้จริง แต่ถ้าคุณดื่มกาแฟเป็นประจำในปริมาณมาก รวมถึงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนชนิดอื่น ก็มีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากการบริโภคคาเฟอีน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 19/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา