backup og meta

ไวรัสเฮนดรา เชื้อร้ายในม้า ที่หนุ่มสาวคาวบอยควรระวัง

ไวรัสเฮนดรา เชื้อร้ายในม้า ที่หนุ่มสาวคาวบอยควรระวัง

ผู้ที่รักในกีฬาขี่ม้า ต้องฝึกฝนเป็นระยะเวลานานเพื่อให้ม้าคุ้นชินกับเรา และยังต้องดูแลเอาใจใส่ ใกล้ชิดกับสัตว์ใหญ่นี้เป็นพิเศษเพราะคงไม่เชื่องเหมือนน้องแมว หรือสุนัข ที่บ้านแน่ๆ จนบางครั้งก็หลงลืมป้องกันตัวเองจากเชื้อโรคต่างๆ รอบตัว รวมถึง ไวรัสเฮนดรา ภาวะอันตรายที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต วันนี้ Hello คุณหมอ ขอนำความรู้ และวิธีป้องกันเชื้อไวรัสมาฝากให้หนุ่มสาวคาวบอยได้ระวังตัวกันมากขึ้น

รู้จักกับ ไวรัสเฮนดรา ให้มากขึ้นกันเถอะ

เชื้อไวรัสเฮนดรา (Hendra virus ; HeV) ถูกค้นพบครั้งแรกหลังจากการระบาดที่คอกม้าแห่งหนึ่งในปี 1994 ถึงแม้จะเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่ก็มีผู้ป่วยถึง 7 ราย ที่ได้รับการติดเชื้อ จนผู้ป่วย 4 ใน 7 ได้เสียชีวิตลง โดยมีสาเหตุมาจากการสัมผัสจากน้ำลายของม้า น้ำมูก หรือของเหลวที่ออกมาจากร่างกายม้านั่นเอง

แต่ต้นตอที่แท้จริงแล้วไวรัสเฮนดรา มากจากเชื้อบางอย่างในน้ำลายของค้างคาว ที่อาจเข้ามาดื่มน้ำในคอกม้าจนทำให้เชื้อกระจายอย่างมาก เพราะการเลี้ยงดูม้าส่วนใหญ่นั้นนิยมเลี้ยงบริเวณทุ่งนา สวน หรือป่าทึบ ทำให้ค้างคาวที่ออกมาหากินช่วงเวลากลางคืนบินมาหาอาหารละแวกใกล้เคียง และแพร่เชื้อออกมา

อาการแรกเริ่มที่บ่งบอกว่าคุณรับเชื้อ ไวรัสเฮนดรา เรียบร้อยแล้ว

หลังจากที่ได้รับไวรัสเฮนดราเข้าสู่ร่างกาย ประมาณ 9-16 วัน เชื้อนี้จะเกิดการฟักตัวกระจายทั่วร่างกายทำลายสุขภาพของคุณ

อาการแรกเริ่มที่พบได้ทั่วไปคือ : มีไข้ , อาการไอ , เจ็บคอ , ปวดศีรษะ , รู้สึกเมื่อยล้า เหมือนไข้หวัดใหญ่ปกติทั่วไป

อาการแทรกซ้อนที่คุณควรเข้าปรึกษาแพทย์ : อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น , อัตราการเต้นของหัวใจถี่และเร็ว , ทางเดินหายใจขัดข้อง , อ่อนเพลีย , ชัก

หากชะล่าใจ และไม่รู้จักป้องกันเบื้องต้น อาจส่งผลให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบ และภาวะปอดติดเชื้อได้ จนนำไปสู่อาการโคม่า ถึงขั้นเสียชีวิตเลยทีเดียว

ป้องกันสุขภาพให้ห่างไกลไวรัสเฮนดรา

  • สวมอุปกรณ์ เช่น ถุงมือ รองเท้า เสื้อผ้าให้มิดชิด รวมถึงหน้ากากอนามัยปิดจมูก และปาก ก่อนใกล้ชิด หรือสัมผัสร่างกายของม้า
  • ทำความสะอาดมือด้วยน้ำสบู่ก่อนและหลังเมื่อคุณสัมผัสกับม้า
  • ถ้ามีแผลอยู่ ควรปิดบาดแผลของคุณให้สนิท โดยเฉพาะแผลสด แผลถลอกบริเวณผิวหนัง เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสเฮนดราเข้าสู่กระแสเลือด

ยังไม่มีวัคซีนในการรักษาที่เจาะจงต่อโรคไวรัสชนิดนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจทำการบำบัดด้วยสารแอนติบอดี พื่อสร้างภูมิต้านทานของร่างกายป้องกันการติดเชื้อเพิ่ม

Hello Health Groupไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Hendra virus (HeV) https://www.cdc.gov/vhf/hendra/index.html Accessed January 14, 2020

Hendra virus fact sheet https://www.health.nsw.gov.au/Infectious/factsheets/Pages/hendra_virus.aspx Accessed January 14, 2020

Hendra virus https://www.sahealth.sa.gov.au/wps/wcm/connect/public+content/sa+health+internet/health+topics/health+conditions+prevention+and+treatment/infectious+diseases/hendra+virus+infection/hendra+virus+infection+-+including+symptoms+treatment+and+prevention Accessed January 14, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Chayawee Limthavornrak


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคที่มากับสัตว์เลี้ยง ที่คุณควรรู้จัก มีอะไรบ้าง

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แขกไม่ได้รับเชิญในอาหารสุกๆ ดิบๆ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา