backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

จูบที่แสนหวาน กับความรักที่ขมขื่น เมื่อคุณเป็น โรคจูบ โดยไม่รู้ตัว

จูบที่แสนหวาน กับความรักที่ขมขื่น เมื่อคุณเป็น โรคจูบ โดยไม่รู้ตัว

การจูบ เป็นการแสดงออกถึงความรักรูปแบบหนึ่ง ที่ช่วยสานสัมพันธ์ให้คู่รักได้ใกล้ชิดและผูกพันธ์กันมากยิ่งขึ้น แต่จูบที่แสนหวานอาจต้องสะดุดลง เมื่อคุณเป็น โรคจูบ โดยไม่รู้ตัว ฟังดูแล้วอาจไม่น่าเชื่อ! แต่โรคนี้มีอยู่จริงค่ะ และมักเกิดขึ้นกับคู่รักหลายคู่ จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณค่ะ 

[embed-health-tool-heart-rate]

โรคจูบ (Kissing Disease) สัมผัสรักที่จำขึ้นใจ

โรคจูบ (Kissing Disease) คือ การติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epsterin Barr Virus : EBV) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการจูบ การสัมผัส สารคัดหลั่ง รวมถึงการใช้ของร่วมกัน โรคดังกล่าวนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่วัยเด็กถึงวัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 15-30 ปี 

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าโรคจูบจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท โรคหัวใจ เชื้อไวรัสตับอักเสบ  โดยมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคจูบ ดังต่อไปนี้

  • ประชากรที่มีอายุระหว่าง 15-30 ปี 
  • นักเรียน นักศึกษา
  • นักศึกษาแพทย์
  • ยาบาล
  • ผู้ดูแล หรือใกล้ชิดกับคนป่วย
  • บุคคลที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน 

5 สัญญาณเตือนอาการของ ผู้ป่วยโรคจูบ

ผู้ป่วยโรคจูบ ส่วนใหญ่จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันออกไป โดยจะเริ่มมีอาการภายใน 4-7 สัปดาห์ ดังต่อไปนี้ 

วิธีการรักษาโรคจูบ

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษา ผู้ป่วยโรคจูบ เฉพาะทาง แพทย์อาจรักษาตามสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยส่วนใหญ่แพทย์อาจแนะนำยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) เพื่อบรรเทาอาการบวมที่คอและต่อมทอมซิล (อาการมักจะหายไปเองใน 1-2 เดือน) 

หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาให้ทันท่วงที 

การป้องกันและดูแลตนเองจากโรคจูบ

ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่สามารถรักษาโรคดังกล่าวนี้ได้ แต่เราสามารถป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจูบนี้ได้ โดยมีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้ 

  • ล้างมือเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แปรงสีฟัน แก้วดื่มน้ำ ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ข้าวกล้อง ปลาแซลมอน แอปเปิลเขียว
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ แนะนำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว/วัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Mononucleosis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/mononucleosis/symptoms-causes/syc-20350328. Accessed March 10, 2020

Mononucleosis. https://www.webmd.com/a-to-z-guides/understanding-mononucleosis-causes.Accessed March 10, 2020

Everything You Need to Know About Mono. https://www.healthline.com/health/mononucleosis. Accessed March 10, 2020

Medical Definition of Kissing disease. https://www.medicinenet.com/kissing_disease/definition.htm. Accessed March 10, 2020

About Infectious Mononucleosis. https://www.cdc.gov/epstein-barr/about-mono.html. Accessed March 10, 2020 

โรคจูบ (KISSING DISEASE). https://www.paolohospital.com/th-TH/rangsit/Article/Details/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B9%8C/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%88%E0%B8%B9%E0%B8%9A-(Kissing-Disease)-. Accessed March 10, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/10/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

avatar

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 19/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา