backup og meta

เคล็ดลับเลือกสารกันยุง ปกป้องตัวเองจาก ไข้เลือดออก

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 28/06/2022

    เคล็ดลับเลือกสารกันยุง ปกป้องตัวเองจาก ไข้เลือดออก

    ยุงไม่เพียงแต่นำความรำคาญมาให้ แต่ยังนำโรคร้ายมาให้ด้วย โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกระบาดที่พบกันมากในช่วงหน้าฝนแบบนี้ และขั้นตอนสำคัญอย่างแรกของ ป้องกันไข้เลือดออก ก็คือการปกป้องตัวเองจากการโดนยุงกัด การใช้ยากันยุงสามารถช่วยคุณได้จริง ถ้ารู้จัก เลือกสารกันยุง ให้เหมาะสม

    ไข้เลือดออก มาตามนัดทุกหน้าฝน

    ไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นของไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเชียงใต้ ซึ่งมักจะเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดเป็นประจำในช่วงหน้าฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤษภาคม สำหรับในปี 2561 นี้ ไข้เลือดออกก็ “มาตามนัด” อีกเช่นกัน โดยจากข้อมูลของ กรมควบคุมโรค ณ วันที่ 30พฤษภาคม 2561 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่วประเทศแล้ว 13,164 คน และผู้เสียชีวิตมีทั้งหมด 19 คน

    การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกพบว่าระบาดมากที่สุดในภาคกลาง มีผู้ติดเชื้อกว่า 6,000 คน รองลงมาคือ ภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมักพบในกลุ่มอายุ 10-14 ปี รองลงมาได้แก่ กลุ่มอายุ 5-9 ปี

    ในการปกป้องตัวเองจากไข้เลือดออก ด่านสำคัญด่านแรกก็คือการป้องกันยุงนั่นเอง โดยเฉพาะยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกนั้น ยุงลายหนึ่งตัวสามารถออกลูกได้ถึง 500 ตัว เพราะฉะนั้นการกำจัดการขยายพันธุ์ของยุงลายจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันการระบาดของไข้เลือดออก และในขณะเดียวกันก็ต้องหาวิธีในการป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกยุงกัดด้วย

    ทำไมยุงถึงกัดเราได้นะ

    คุณเคยรู้สึกหรือเปล่าว่า บางทีก็ดูเหมือนว่ายุงจะพุ่งเป้าจู่โจมเฉพาะที่คนบางคนมากกว่าอีกคน สำหรับคนที่ดูเหมือนจะถูกยุงกัดมากกว่าคนอื่น อาจจะรีบตอบว่าจริง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทุกคนต่างก็สามารถถูกยุงกัดได้ทั้งนั้น นั่นเพราะยุงรับทราบตำแหน่งของคนเราได้ (ตั้งแต่ระยะไกลเลยทีเดียว) ด้วยสิ่งเดียวกันนั่นก็คือ คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide หรือ CO2)ที่ร่างกายเราปล่อยออกมาเวลาที่หายใจออก และผ่านทางผิวหนังของคุณ และยุงก็ดูเหมือนจะชื่นชอบคาร์บอนไดออกไซด์ ความชื้น และความอุ่นของร่างกายคนเราเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีสารเคมีบางอย่างจากเหงื่อของคุณที่ดึงดูดยุงได้อีกด้วย

    การจะไล่ยุงออกไปไม่ให้มากัดเรา ยากันยุง (หรือยาไล่ยุง) ก็จะมาทำหน้าที่ในส่วนนี้นั่นเอง ก็คือการบล็อคสารเคมีที่จะดึงดูดยุงเข้าหาหาเรา มันมีสารเคมีหลายอย่างที่นำมาใช้เพื่อไล่ยุง เวลาที่เลือกยากันยุงหรือไล่ยุง ก็ควรจะพิจารณาดูว่าสารไล่ยุงเหล่านี้ทำงานได้นานแค่ไหน มีประสิทธิภาพแค่ไหนในการไล่ยุง และมีผลต่อยุงสายพันธ์ใดเป็นพิเศษ

    สารกันยุงทำงานอย่างไร

    สารป้องกันยุงจะเคลือบผิวหนังของผู้ใชท้าให้ยุงไม่ได้รับกลิ่นหรือสารเคมีจากร่างกายของเราหรือออกฤทธิ์รบกวนกลไกการรับรู้กลิ่นของยุงนั่นเอง จึงสามารถป้องกันไม่ให้ยุงมาเกาะผิวหนังและดูดเลือดได้ โดยทั่วไปสารป้องกันยุงจะมีฤทธิ์ไล่ยุ่งได้ในระยะห่างจากผิว2-3 นิ้ว นั่นก็แปลว่า เราอาจจะยังเห็นยุงบินอยู่รอบๆ ตัวเราได้ แม้จะทาสารกันยุงแล้วก็ตาม แต่ตราบใดที่ยุงยังไม่เกาะก็ไม่จำเป็นต้องทาซ้ำ

    อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของสารกันยุงอาจแตกต่างไปในแต่ละคน คนที่มีคาร์บอกไดออกไซด์ที่ผิวมาก ก็จะดึงดูดยุงได้มากกว่า คนที่มีเหงื่อออกมาก เหงื่อก็จะชะล้างสารกันยุงออกไป ทำให้หมดฤทธิ์เร็วขึ้น และในเหงื่อยังมีสารเคมีที่สามารถดึงดูดยุงได้ด้วย นอกจากนั้นผิวหนังของแต่ละคนก็ดูดซึมสารป้องกันยุงได้ไม่เหมือนกัน ในคนผิวหยาบ สารกันยุงก็จะหมดฤทธิ์เร็วกว่าคนที่ผิวละเอียด ซึ่งทาสารกันยุงแบบเดียวกัน

    เราควร เลือกสารกันยุง ป้องกันไข้เลือดออก แบบใด

    • ดีท (DEET)  อาจเป็นหนึ่งในสารไล่ยุงที่ใช้กันมาเก่าแก่ที่สุด และจริงๆ แล้วก็มีประสิทธิภาพมากที่สุด มีการใช้ดีทกันมากมายกว่า 60 ปี แล้ว ดีทสามารถไล้ยุงได้หลายสายพันธุ์ และปกป้องเราจากเห็บ หมัด และแมลงตัวเล็กๆ อีกด้วย คุณสามารถทาดีทได้ลงบนผิวโดยตรง วันละครั้ง ไต่ไม่ควรทาภายใต้ร่มผ้า เพราะมันอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ และระวังอย่าให้เข้าตา ระยะเวลาป้องกันยุงขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสาร โดยถ้าความเข้มข้นน้อยกว่า 10% จะป้องกันยุงได้ประมาณ 1-3 ชั่วโมง ถ้าความเข้มข้น 10-30% ป้องกันยุงได้ประมาณ 4-6 ชั่วโมง ไม่ควรทาบริเวณใกล้ตาหรือผิวหนังที่เป็นแผล ในเด็กเล็กควรใช้สารนี้เมื่ออายุมากกว่า 2 เดือนเพื่อป้องกันผลข้างเคียงต่อระบบประสาทและเลือกใช้ความเข้มข้นที่น้อยกว่า 10%
    • พิคาริดิน (Picaridin) เป็นสารไล่ยุงชนิดใหม่ มีประสิทธิภาพมากในการไล่ยุงที่เป็นพาหะนำเชื้อมาลาเรีย แต่ไม่เหมือนดีทตรงที่มันไม่มีกลิ่นและไม่ทำให้ผิวมันเยิ้ม มันไม่ทำลายสื้อผ้าหรือพลาสติกด้วยเป็นสารตัวใหม่ที่นิยมใช้ในต่างประเทศ มีประสิทธิภาพดี ไม่มีกลิ่นและระคายเคืองต่อผิวหนังน้อยกว่า DEET
    • พีเอ็มดี (PMD) เป็นสารธรรมชาติที่สังเคราะห์มาจากน้ำมันเลมอนและยูคาลิปตัส นักวิจัยพบว่า PMD มีประสิทธิภาพในการไล่ยุงที่นำเชื้อโรคเวสต์ไนล์ไวรัส (WestNilevirus) ที่ทำให้เกิดโรคสมองอักเสบ PMD ทำงานได้ผลดีพอๆ กับดีทและปลอดภัยสำหรับเราด้วย
    • สารไล่ยุงจากธรรมชาติ ที่นิยมใช้กันก็อย่างเช่น ตะไคร้หอม นำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย citronella oil และ geraniol ป้องกันยุงได้ในช่วงสั้นประมาณ 20-30 นาที น้ำมันยูคาลิปตัส (lemon eucalyptus oil) ป้องกันยุงได้ในช่วงประมาณ 2-5 ชั่วโมง

    วิธีทาสารป้องกันยุงให้ปลอดภัย

    เวลาใช้สารป้องกันยุง ควรทาบนผิวหนังบางๆ ให้ทั่ว แต่ไม่ควรทาสารป้องกันยุงบริเวณผิวหนังในร่มผ้า แต่ควรฉีดลงบนเสื้อผ้า และไม่ควรทาบนบริเวณที่เป็นแผล รวมทั้งผิวที่แพ้แดด รวมทั้งหลีกเลี่ยงการทาบริเวณรอบดวงตา และรอบปากด้วย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 28/06/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา