backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

อาการโควิดลงปอด มีลักษณะเป็นอย่างไร

อาการโควิดลงปอด มีลักษณะเป็นอย่างไร
อาการโควิดลงปอด มีลักษณะเป็นอย่างไร

โควิดลงปอดอาการ เป็นอย่างไร? โดยส่วนใหญ่แล้วมักไอ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก รวมถึงมีไข้สูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส นอกจากนั้น ผู้ป่วยโควิดบางราย โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง หรือสูบบุหรี่ มักเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เช่น โรคปอดอักเสบ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

[embed-health-tool-bmi]

โควิดลงปอดคืออะไร

เชื้อโควิด-19 หรือ SARS-CoV-2 เป็นเชื้อไวรัสในตระกูลโคโรนาไวรัส (Coronavirus) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของอาการป่วยตั้งแต่โรคไข้หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคอื่น ๆ ที่มีความรุนแรง

เมื่อเชื้อโควิด-19 เข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปเกาะกับเซลล์ของเยื่อเมือกในจมูกหรือปาก แล้วเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจ

ทั้งนี้ เชื้อโควิด-19 สามารถเข้าไปสร้างอันตรายให้ถุงลมได้ซึ่งถือเป็นอวัยวะส่วนที่ลึกที่สุดของระบบทางเดินหายใจ โดยถุงลมเป็นส่วนของปอดซึ่งทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซน์กับหลอดเลือดฝอย เมื่อโควิดลงปอดจึงหมายถึงเชื้อโควิด-19 เข้าสู่ถุงลมนั่นเอง

อาการโควิดลงปอด เป็นอย่างไร

อาการโควิดลงปอด มีลักษณะดังต่อไปนี้

  • ไอแห้ง
  • เจ็บคอ
  • หอบเหนื่อย
  • หายใจไม่อิ่ม แน่นหน้าอก
  • ระดับออกซิเจนในเลือดลดลงต่ำกว่าปกติ หรือต่ำกว่า 97-100 เปอร์เซ็นต์เมื่อใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
  • ง่วงซึม อ่อนเพลีย เพราะมีเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยกว่าปกติ

นอกจากนี้ เชื้อโควิด-19 ยังอาจทำให้เป็นโรคปอดอักเสบ (Covid-19 Pneumonia) ได้ ซึ่งจัดเป็นภาวะแทรกซ้อนและอาการระดับรุนแรงของโรคโควิด-19

เมื่อเป็นโรคปอดอักเสบ ปอดจะเต็มไปด้วยเมือก ของเหลว รวมถึงจำนวนเซลล์ที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยหายใจได้ลำบาก และมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย

  • ไข้สูง
  • สับสน
  • เจ็บหรือแน่นหน้าอก
  • เหนื่อยอ่อนอย่างรุนแรง
  • ริมฝีปาก ผิวหนัง และเล็บเป็นสีน้ำเงิน

นอกจากปอดอักเสบแล้ว เชื้อโควิด-19 ยังเป็นสาเหตุของภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับปอดดังนี้

  • โรคหลอดลมอักเสบ เป็นความผิดปกติที่เกิดจากการมีเสมหะในหลอดลมมากเกินไป ส่งผลให้ไอ แน่นหน้าอก และหายใจลำบาก
  • กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน เป็นผลสืบเนื่องจากโรคปอดอักเสบ โดยถุงลมจะเต็มไปด้วยของเหลวที่รั่วจากหลอดเลือดฝอยในปอด ส่งผลให้หายใจลำบากอย่างเฉียบพลัน ทำให้จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ร่วมกับมีอาการหน้ามืด อ่อนล้า ง่วงซึม หรือสับสน ทั้งนี้ กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลันเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ใครบ้างที่เสี่ยงมีอาการโควิดลงปอด 

ผู้ที่จัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่ออาการโควิดลงปอด มีดังนี้

  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่เป็นโรคอ้วนหรือมีค่าดัชนีมวลกายเกิน 30
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งทุกชนิด
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ

อาการโควิดลงปอด ดูแลตัวเองอย่างไร

เมื่อทราบว่าโควิดลงปอด ควรดูแลตัวเองดังนี้

  • ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา และเว้นระยะห่างจากผู้อื่นเพื่อป้องกันเชื้อโควิด-19 แพร่กระจาย
  • นอนคว่ำเพื่อให้ปอดไม่ถูกกดทับ และถ้ากำลังตั้งครรภ์ให้นอนตะแคงซ้ายแทน
  • หากหายใจไม่ออก ให้นั่งหลังตรงบนเก้าอี้ หรือหายใจเข้าทางจมูกแล้วหายใจออกทางปาก โดยให้ทำปากเผยอไว้ในลักษณะเดียวกับการเป่าเทียน
  • ดื่มน้ำในปริมาณมาก รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ขยับขาบ่อย ๆ ด้วยการยืด-งอขา หรือเหยียดปลายเท้า เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนและป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
  • รับประทานยาลดไข้ทันทีเมื่อเป็นไข้ และใช้ยาตามคำแนะนำของคุณหมอ

ความเสียหายที่ปอดเนื่องจากโรคโควิด-19 ฟื้นฟูได้หรือไม่

ผู้ป่วยโควิด-19 และมีอาการโควิดลงปอด หรือมีภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับปอด เมื่อหายจากโรคโควิด-19 ร่างกายสามารถฟื้นฟูให้กลับไปมีสุขภาพแข็งแรงได้

อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาในการฟื้นตัวของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป โดยส่วนใหญ่มักเกินระยะเวลา 3 เดือน หรือยาวนานถึง 1 ปี หรืออาจนานกว่านั้น ขึ้นอยู่ปัจจัยหลายประการ เช่น อายุ เพศ โรคประจำตัว

โควิดลงปอด ป้องกันได้อย่างไร

โควิดลงปอด รวมถึงโรคโควิด-19 ป้องกันได้หากดูแลปฏิบัติตัว ดังนี้

  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 รวมถึงวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงซึ่งได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปี และผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ เพราะมีโอกาสเกิดโรคปอดอักเสบจากเชื้อโควิด-19 มากกว่าคนทั่วไป
  • งดสูบบุหรี่ หรือสูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่น เพราะการสูบบุหรี่ทำให้ปอดเสียหาย และเพิ่มความเสี่ยงให้เป็นโรคโควิด-19 ในระดับรุนแรงหากติดเชื้อ
  • ล้างมือสม่ำเสมอ ด้วยน้ำสะอาดและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ทั้งก่อนรับประทานอาหาร รวมถึงหลังใช้ห้องน้ำ
  • หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วยโควิด-19 รวมถึงไม่ใช้สิ่งของต่าง ๆ ร่วมกับผู้ป่วย
  • สวมหน้ากากอนามัย โดยเฉพาะเมื่ออยู่ใกล้ผู้ป่วยโควิดหรือเมื่ออยู่ในสถานที่ปิดที่มีคนหนาแน่นเช่นในรถไฟฟ้ารถประจำทางห้างสรรพสินค้า

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

COVID-19 Recovery. https://www.lung.org/lung-health-diseases/lung-disease-lookup/covid-19/treatment-recovery/covid-19-recovery. Accessed June 27, 2023.

When to see a doctor about COVID-19. https://www.ucihealth.org/news/2020/04/when-to-see-a-doctor-about-covid. Accessed June 27, 2023.

Treating COVID-19 at home: Care tips for you and others. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronavirus/in-depth/treating-covid-19-at-home/art-20483273. Accessed June 27, 2023.

Coronavirus and Pneumonia. https://www.webmd.com/covid/covid-and-pneumonia. Accessed June 27, 2023.

How to look after yourself at home if you have coronavirus (COVID-19) or symptoms of COVID-19. https://www.nhs.uk/conditions/coronavirus-covid-19/self-care-and-treatments-for-coronavirus/how-to-treat-symptoms-at-home/. Accessed June 27, 2023.

COVID-19 Lung Damage. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/coronavirus/what-coronavirus-does-to-the-lungs. Accessed June 27, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/06/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet

avatar

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา