โควิด-19 หรือ ไวรัสโคโรนา 2019 คืออะไร
เดิมที ไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus 2019) เป็นไวรัสที่ถูกพบครั้งแรกในปีค.ศ. 1960 แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มาอย่างชัดเจนว่ามาจากที่ใด จนกระทั่งเริ่มมีการแพร่ระบาดอย่างหนักในช่วงเดือนธันวาคม 2019 จากตลาดขายอาหารแห่งหนึ่ง ณ เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนนับแสนราย และสามารถเป็นพาหะที่นำไปสู่การติดเชื้อได้ในสัตว์ด้วยเช่นกัน
ไวรัสโคโรนาเป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วย ตั้งแต่ไข้หวัดธรรมดา ไปจนถึงโรคที่รุนแรง เช่น
- โรคระบบทางเดินหายใจในตะวันออกกลาง หรือ โรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome or MERS-CoV)
- โรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือ โรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome or SARS-CoV)
นอกเหนือจากนี้ ยังสามารถลงไปยังระบบหายใจส่วนล่างนั่นก็คือโรคปอดอักเสบ โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีการแพร่กระจายเชื้อในลักษณะเดียวกันกับโรคไข้หวัดที่เราคุ้นเคยกันทั่ว ๆ ไป เช่น การไอ จาม
เนื่องด้วยไวรัสโคโรนาที่เริ่มแพร่กระจายส่งท้ายปี 2019 จนปัจจุบันเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ค่อนข้างรุนแรง เทดรอส อะดานอม เกเบรเยซุส (Tedros Adhanom Ghebreyesus) ผู้อำนวยการใหญ่ของ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) ได้ประกาศกับผู้สื่อข่าวถึงการเปลี่ยนชื่อไวรัสโคโรนา อย่างเป็นทางการล่าสุดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2020 โดยกล่าวถึงที่มาการให้ชื่อย่อนี้
จากชื่อภาษาอังกฤษเดิมของโคโรนาไวรัส “Corona Virus Disease” ซึ่งแต่เดิมนั้น คำว่า Co มาจาก Corona ส่วน Vi ย่อมาจาก Virus ตัว D ย่อมาจาก Disease ส่วนตัวเลข 19 มาจากปีที่เริ่มแพร่ระบาดอย่างหนัก
การย่อของแต่ละตัวอักษรเหล่านี้ เมื่อนำมารวมกันจึงได้ คำว่า โควิด-19 (COVID-19) ที่ใช้เรียกแทน ไวรัสโคโรนา (Coronavirus) นับแต่นี้เป็นต้นไป
ประเภทของเชื้อ โควิด-19 หรือ ไวรัสโคโรนา 2019
โคโรนาไวรัส ถูกตั้งชื่อจากลักษณะของเชื้อไวรัสที่มีรูปทรงวงกลมคล้ายกับฐานของ มงกุฎ และยังมีโครงสร้างที่ยื่นออกมาให้ดูเหมือนกับหนามแหลมที่ประดับอยู่ด้านบนมงกุฎ ซึ่งในสมัยก่อนนั้น เชื้อโคโรนามีเพียงแค่ 6 สายพันธุ์ โดยมีชื่อสายพันธุ์ต่าง ๆ ดังนี้
- Coronavirus 229E
- Coronavirus NL63
- Coronavirus OC43
- Coronavirus HKU1
- Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus (MERS-CoV) หรือโคโรนาไวรัสสายพันธุ์กลุ่มอาการของโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง
- Severe Acute Respiratory Syndrome-related Coronavirus (SARS-CoV) โคโรนาไวรัสสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง
ส่วนสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักทั่วโลกในปัจจุบันเป็นสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยพบมาก่อน คือ สายพันธุ์ที่ 7 ที่เรียกได้ว่า โควิด-19 หรือ ไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19 or Coronavirus 2019) นั่นเอง โดยมีการพัฒนาสายพันธุ์มาจากไวรัสซาร์ส มีสามารถสร้างความเสียหาย และร้ายแรงกว่า และอาจแพร่กระจายได้จากสัตว์สู่สัตว์ สัตว์สู่คน รวมไปถึงจากคนสู่คน ได้อีกด้วย
สาเหตุของการเกิดเชื้อ โควิด-19
สาเหตุของการเกิดเชื้อ โควิด-19 หรือ ไวรัสโคโรนา 2019 มีอะไรบ้าง
ยังคงเป็นที่สืบหา และศึกษาข้อมูลกันต่อไปถึงที่มาถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ แต่จากการสันนิษฐานเบื้องต้นโดยนักวิชาการหลายคนเชื่อว่า ไวรัสที่กำลังแพร่กระจายอาจจะมีจุดต้นตอมาจากค้างคาว
ทฤษฏีนี้ได้มาจากผลการสรุปการศึกษาวิเคราะห์การเรียงลำดับเบสของสารพันธุกรรมของ เชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีงานวิจัย 2 ชิ้นชี้ให้เห็นถึงคำตอบตรงกันว่า เชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ มีดีเอ็นเอที่ตรงกันกับเชื้อไวรัสที่พบได้ในค้างคาวมากถึง 87% ก่อนที่จะมนุษย์จะนำพาหะตัวกลางดังกล่าวเข้ามาสู่การแพร่กระจายกันเอง
และในงานวิจัยชิ้นที่ 2 ทีมนักวิจัยได้ตั้งข้อสงสัยว่า พาหะตัวกลางก่อนที่จะแพร่เชื้อไวรัสโคโรนามาสู่คนนั้น มีความเป็นไปได้สูงว่าอาจจะเป็นงู หรือสัตว์ป่าอื่น ๆ ที่ถูกวางขายอยู่ในตลาดขายของสด ณ ประเทศจีน เมื่อคุณได้รับการสัมผัสใกล้ชิด หรือรับประทานเข้าไปนั้น ก็อาจทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ภายในร่างกายของเราได้แล้วเช่นกัน
อาการของ ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19
อาการของไวรัสโควิด-19 นั้นไม่มีอาการเฉพาะเจาะจง ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีการแสดงอาการใด ๆ เลย แต่ในบางกรณีก็แสดงอาการออกมาได้อย่างเด่นชัด รวมทั้งอาการปอดอักเสบรุนแรงที่นำไปสู่การเสียชีวิต สืบเนื่องจากรายงานล่าสุดในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2020 จากการสังเกตกลุ่มผู้ป่วยในจีนจำนวน 55,924 กรณี จากรายงาน Report of the WHO-China Joint Mission on Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) โดยองค์การอนามัยโลก) พบว่าค่าเฉลี่ยของสัญญาณ และอาการโดยทั่วไปของโควิด-19 ที่พบบ่อยได้มากที่สุดนั้น อาจมีได้ ดังต่อไปนี้
- มีไข้ ร้อยละ 87.9
- ไอแห้ง ร้อยละ 67.7
- มีอาการอ่อนล้า เหนื่อยล้า ร้อยละ 38.1
- มีเสมหะ ร้อยละ 33.4
- หายใจถี่หอบ ร้อยละ 18.6
- ปวดกล้ามเนื้อหรือมีอาการปวดข้อ ร้อยละ 14.8
- เจ็บคอ ร้อยละ 13.9
- ปวดหัว ร้อยละ 13.6
- หนาวสั่น ร้อยละ 11.4
- คลื่นไส้และอาเจียน ร้อยละ 5
- คัดจมูก ร้อยละ 4.8
- ท้องเสีย ร้อยละ 3.7
- ไอเป็นเลือด ร้อยละ 0.9
- ตาแดง ร้อยละ 0.8
เมื่อเกิดอาการข้างต้นผู้คนส่วนใหญ่ก็มักจะเกิดความวิตกกังวลอย่างหนัก และไม่กล้าที่จะเข้ารับการตรวจสอบของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพราะเกิดความไม่แน่ใจว่าตนเองกำลังได้รับเชื้อ หรือเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดาเท่านั้น ถึงแม้จะมีสัญญาณเตือนเบื้องต้นที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็ยังคงมีข้อแตกต่างอยู่บ้างเล็กน้อย
อาการเบื้องต้นของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19
ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO)ได้ระบุไว้ว่า อาการที่ผู้ได้รับเชื้อจากไวรัส COVID-19 จะมีอาการไอแห้งค่อนข้างรุนแรง ไข้สูงต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน เจ็บคอ หายใจถี่ ปวดเมื่อยตามร่างกายอย่างรุนแรง และมีอาการท้องเสีย อาการโดยรวมนี้อาจแสดงออกมาให้เริ่มเห็นเด่นชัดขึ้นเมื่อคุณได้รับเชื้อไวรัสนี้แล้วประมาณ 14 วัน หรืออาจมากกว่านั้นตามสุขภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
ส่วนอาการของผู้ที่เป็นหวัดธรรมดา อาจมีไข้ เจ็บคอ เช่นเดียวกัน แต่แตกต่างกันตรงที่ อาการเจ็บคอ ไอแห้ง อาจกลับกลายเปลี่ยนเป็นไอแบบมีเสมหะได้รวมถึงมีอาการจาม น้ำมูกไหล อีกด้วย
ถึงอย่างไรก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ไม่ว่าคุณจะเป็นเพียงแค่ไข้หวัด หรือมีอาการสุ่มเสี่ยงตามตัวเลขค่าเฉลี่ย เพราะนั่นอาจหมายความได้ว่าร่างกายของคุณได้รับ เชื้อไวรัสโควิด-19 นี้แล้วก็เป็นได้ ดังนั้นโปรดปรึกษาแพทย์จากโรงพยาบาลใกล้ตัวคุณเพื่อขอเข้ารับการตรวจ โดยคุณควรแจ้งข้อมูลถึงสถานที่ต่าง ๆ ที่คุณเคยไปมา หรือสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศสุ่มเสี่ยง เพื่อที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะได้รับทราบและดำเนินการรักษาอย่างถูกต้องตามขั้นตอนต่อไป
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจนำพาไปสู่การรับเชื้อ โควิด-19
เมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างหนัก ปัจจัย หรือพฤติกรรมเหล่านี้ของคุณก็อาจสามารถที่จะนำพาเชื้อไวรัสไปแพร่กระจายให้กับผู้คนรอบข้าง และสังคมในวงกว้างที่เราอยู่อาศัยได้ โดยเฉพาะ
- ผู้ที่มักเดินทางเข้า-ออกภายใน และนอกประเทศที่สุ่มเสี่ยง
- สถานที่แออัดของผู้คนเป็นจำนวนมาก เช่น สถานบันเทิง ห้างสรรพสินค้า รถสาธารณะทั่วไป เป็นต้น
- ความใกล้ชิด หรือการสัมผัสกับผู้ที่มีอาการเจ็บป่วย รวมถึงผู้ที่มีอาการเบื้องต้น และอาการสุ่มเสี่ยงของเชื้อไวรัสโควิด-19
- มีพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่ติดเชื้อไวรัส
“ผู้สูงวัย’ และ “ผู้มีโรคประจำตัว’ อีกหนึ่งกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ ไวรัสโควิด-19
นอกจากนี้ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวก็เข้าข่ายอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่อาจมี การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ง่ายที่สุด
จากงานวิจัยได้เผยถึงค่าเฉลี่ยของช่วงอายุ และประวัติทางสุขภาพของผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ ที่มักมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และรุนแรงกว่าบุคคลทั่วไป เนื่องด้วยมีภูมิคุ้มกันที่ค่อนข้างอ่อนแอ พร้อมมีโรคประจำตัว โดยเฉพาะผู้ป่วยเกี่ยวกับ
- โรคหัวใจ
- โรคปอด
- โรคเบาหวาน
- โรคมะเร็ง
- โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
- โรคอ้วน
- สภาวะสุขภาพที่เกียวข้องกับการทำงานของไต และตับ
ภาวะแทรกซ้อนของ โควิด-19 ที่อาจเกิดขึ้น
จากการศึกษาแหล่งที่เชื่อถือได้ของ ผู้ป่วย 138 คนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน พบว่า ร้อยละ 26 ของผู้ป่วยที่มักมีอาการรุนแรง และจำเป็นต้องถูกนำตัวเข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยหนัก (ICU) โดยพบค่าเฉลี่ยประมาณ ร้อยละ 4.3 ที่เกิดจากการเสียชีวิต ด้วยภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้
- กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (ARDS)
- อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ
- ช็อค
- ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง
- ความเมื่อยล้า
- หัวใจวาย
การตรวจวินิจฉัยเชื้อไวรัสโควิด-19
หากคุณสังเกตตนเองหรือคนใกล้ตัวได้ว่า เริ่มมีสัญญาณของอาการสุ่มเสี่ยง ที่ในบางครั้งอาจเป็นเพียงแค่อาการคล้ายไข้หวัด นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของร่างกายคุณที่ได้รับเชื้อ โควิด-19 มาแล้วก็เป็นได้ สิ่งที่คุณควรทำคือ การปรึกษาแพทย์จากโรงพยาบาลใกล้ตัวคุณเพื่อขอเข้ารับ การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19
โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจมีการนำสำลีก้านยาวเพื่อเก็บตัวอย่างของเนื้อเยื่อ ไม่ว่าจะเป็นทางน้ำลาย หรือช่องทางเดินหายใจในโพรงจมูก รวมถึงอาจมีการเจาะเลือดร่วมด้วย ตามแต่กรณีของผู้เข้ารับการตรวจ
ทั้งนี้ผลการตรวจอาจต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง ดังนั้นคุณควรจำเป็นต้องป้องกันตนเองในเบื้องต้นตามคำแนะนำของทางแพทย์ เพื่อลดอัตราการแพร่กระจายนำไปสู่ผู้อื่น ที่สำคัญคุณควรแจ้งข้อมูลถึงสถานที่ต่าง ๆ ที่คุณเคยไปมา หรือสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศสุ่มเสี่ยง เพื่อที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะได้รับทราบและดำเนินการรักษาอย่างถูกต้องตามขั้นตอนต่อไป
การรักษาที่เหมาะสมสำหรับ ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19
ยังไม่มีการรักษาที่เห็นผลแน่ชัด จึงจำเป็นต้องทำการศึกษาค้นคว้าต่อไป ถึงวัคซีน หรือชนิดของยา เพื่อรับมือกับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่นี้ที่อาจเกิดขึ้นได้อีกครั้งในอนาคต แต่ก็ยังคงมีวิธีช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยให้อยู่ในระดับที่ดีขึ้น ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแต่ละบุคคลของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันทางการแพทย์มักนิยมใช้ขั้นตอนการรักษา ดังนี้
- ยาต้านไวรัส ที่เป็นกลุ่มของยาต้านเชื้อรีโทรไวรัส (Antiretroviral drugs) ที่อยู่ในเชื้อเอชไอวี (HIV)
- ให้ผู้ติดเชื้อสวมใส่เครื่องช่วยหายใจในกรณีที่มีอาการหนัก หรือสำหรับผู้สูงอายุ
- ยาสเตียรอยด์เพื่อลดอาการปอดบวม
- การเปลี่ยนถ่ายโลหิต
วิธีป้องกันตนเองเบื้องต้น
จริง ๆ แล้วการอยู่บ้านเป็นทางออกและเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกัน เพราะเป็นการหลีกเลี่ยงไปรับเชื้อจากผู้คนภายนอก หรือตามสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน แต่ก็ยังคงมีบุคคลอีกกลุ่มที่จำเป็นต้องออกไปทำหน้าที่ของตนเองเพื่อดำรงความอยู่รอด เช่น การเดินทางไปทำงานหาเลี้ยงชีพครอบครัว ดังนั้นเราทุกคนจึงควรเรียนรู้วิธีที่จะห่างไกลจากเชื้อไวรัสร้ายชนิดนี้ โดยสามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ คือ
กลัวโรคโควิด-19 จึงต้อง ล้างมือบ่อยจนมือแห้ง จะแก้ไขอย่างไรดี
อ่านตอนนี้คลิก https://t.co/A3UP14AHEv#covid19 #covid19pandemic #สุขภาพดี pic.twitter.com/vArjm9B4TM— HelloKhunmor (@HelloKhunmor) April 24, 2020
- ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำด้วยน้ำอุ่น และสบู่ อย่างน้อย 20 วินาที ทั้งก่อนรับประทานอาหาร หลังจากการเข้าห้องน้ำ รวมทั้งนำมือไปสัมผัสกับวัตถุนอกบ้าน
- ห้ามสัมผัสใบหน้า ดวงตา จมูกหรือปาก เมื่อคุณไปสัมผัสกับสิ่งปนเปื้อนอื่น ๆ มา
- หากไม่จำเป็น งดการออกไปข้างนอก และกักตนเองให้ห่างจากบุคคลรอบข้างเมื่อมีอาการคล้ายหวัด ไอ และจาม
- ควรใช้สิ่งของแยกจากคนอื่น ๆ เช่น การดื่มน้ำจากหลอดหรือแก้วเดียวกัน
- หากคุณรู้สึกเหมือนอยากจามให้นำใบหน้าของคุณซุกกับแขน หรือข้อศอกด้านใน ถ้าหากใช้ทิชชู่ก็ควรทิ้ง และล้างมือในทันที
- ทำความสะอาดวัตถุ หรือสิ่งของโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ ลูกบิดประตู โต๊ะอาหาร จาน ชาม
- พกเจลล้างมือที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์อย่างน้อย 75 % แทนการล้างมือแบบชั่วคราว
สิ่งสำคัญที่ทุกคนจะขาดไปไม่ได้เลยแม้จะอยู่ภายในบ้านหรือนอกบ้าน ก็ควรจะต้องพกหน้ากากอนามัย และสวมใส่หน้ากากอนามัยที่มีมาตรฐานเพื่อป้องกันสารคัดหลั่ง เช่น ละอองน้ำลาย น้ำมูกจากการจาม เพราะการไอ หรือจามเพียง 1 ครั้ง มีแรงส่งให้ละอองเชื้อ COVID-19 นี้ไปได้ไกลถึง 6 ฟุต หรือ 1-2 เมตรเลยทีเดียว
และควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยใหม่ทุกครั้ง หรือหากเป็นหน้ากากชนิดผ้าก็ควรนำไปซักด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อให้สะอาด ตามองค์กรอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ที่ได้ให้คำแนะนำถึงการใช้หน้ากากอนามัยอย่างสมเหตุสมผลว่า แม้คุณจะมีเพียงไข้หวัดธรรมดา ก็ควรที่จะป้องกันโดยวิธีนี้ เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ในทันทีว่าใครรอบตัวคุณจะมีเชื้อโควิด-19 อยู่บ้าง
เนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดนี้หากได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายไปแล้ว มักจะเข้าจู่โจมที่ระบบทางเดินหายใจโดยตรง และอาจทำให้เกิดการติดต่อไปได้เรื่อย ๆ ไม่จบสิ้น ดั้งนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียโดยไม่จำเป็น จึงควรดำเนินการ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากเดิมอย่างเคร่งครัดมากขึ้น