โรคติดเชื้อ

ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เรามองไม่เห็น แม้ว่าโดยปกติสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจไม่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อที่คุกคามสุขภาพของคุณและคนรอบข้างได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อ ประเภทต่าง ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อ

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK […]

หมวดหมู่ โรคติดเชื้อ เพิ่มเติม

สำรวจ โรคติดเชื้อ

การติดเชื้อไวรัสแบบอื่น

โรคพิษสุนัขบ้า กับแนวทางในการป้องกันตนเองที่คุณควรรู้

คนทั่วไปมักจะเข้าใจว่า โรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากการที่ถูกสุนัขกัดเพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้วเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า สามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ซึ่งบางส่วนเป็นสัตว์เลี้ยงที่อยู่ใกล้ตัว หากถูกสัตว์กัด ข่วน และติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าแล้วควรได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เสียชีวิตได้  ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าและแนวทางในการป้องกันตนเองมาฝากกัน โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) คืออะไร แม้โรคพิษสุนัขบ้าจะไม่ใช่ปัญหาทางด้านสาธารณสุข แต่ก็ยังควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นไวรัสที่สามารถโจมตีระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อคุณโดยสัตว์กัดหรือต่อย แล้วปล่อยทิ้งไว้โดนที่ไม่ได้รับการรักษาอาการอย่างทันท่วงถี่ มันอาจส่งผลกระทบที่ร้ายแรงและอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้แก่ ไข้ ปวดศีรษะ น้ำลายไหลมาก กล้ามเนื้อกระตุก อัมพาต ความสับสนทางจิต โรคพิษสุนัขบ้า พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น จากสถิติของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC) พบว่า มีรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 2008-2017 เพียง 23 รายเท่านั้น โรคพิษสุนัขบ้าหากไม่ได้รับการรักษาก่อนที่อาการจะปรากฏขึ้นก็สามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งอัตราการเสียชีวิตสูงสุดอยู่ที่ 99.9 เปอร์เซ็นต์ของโรคต่าง ๆ ในโลก ดังนั้น ถ้าคุณคิดว่าตัวเองสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า ควรต้องเข้ารับการรักษาโดยทันที ซึ่งโรคพิษสุนัขบ้าสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration หรือ […]


โรคติดเชื้อจากอาหาร

อาหารที่ควรเลือกรับประทาน หลังอาหารเป็นพิษ

เมื่อเกิดอาการอาหารเป็นพิษ มักจะทำให้มีอาการท้องร่วง อาเจียน และอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย เมื่อมีอาการอาหารเป็นพิษ จำเป็นที่จะต้องเลือกรับประทานอาหารที่มีความเหมาะสม ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร และเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยให้กระบวนการฟื้นฟูร่างกายได้ดีขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ มี อาหารที่ควรเลือกรับประทาน หลังอาหารเป็นพิษ มาให้อ่านกันค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง และควรเลือกอย่างไรให้เหมาะสม [embed-health-tool-bmr] ทำความรู้จักกับ อาหารเป็นพิษ  อาหารเป็นพิษ (food poisoning) เป็นอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากกับรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต หรือรับประทานอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุกหรืออาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ นำไปสู่อาการท้องร่วง อาเจียน และปวดท้องฉับพลัน โดยส่วนใหญ่แล้วอาการอาหารเป็นพิษมักจะเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนภายในไม่กี่ชั่วโมง โดยปกติแล้วอาการอาหารเป็นพิษมักจะหายไปเอง เมื่อคุณขับถ่ายเชื้อออกทั้งหมด ขณะที่ยังมีอาการ สิ่งสำคัญคือควรเลือกรับประทานอาหารที่มีความเหมาะสม อาหารที่ควรเลือกรับประทาน หลังอาหารเป็นพิษ หากเกิดอาการอาหารเป็นพิษ สิ่งที่ควรทำคือปล่อยควรอาเจียนหรือขับถ่ายให้เชื้อที่ปนเปื้อนเข้าไปออกมาให้หมด ที่สำคัญควรปล่อยให้กระเพาะได้ว่าง โดยงดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มเป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้กระเพาะได้พักผ่อน หลังจากนั้นค่อยรับประทานอาหาร ซึ่งอาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้ถือเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในการบริโภคหลังมีอาการอาหารเป็นพิษ ดื่มน้ำให้เพียงพอ หลังจากที่อาเจียนและขับถ่ายทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำเป็นจำนวนมาก การดื่มน้ำให้เพียงพอจะช่วยให้ร่างกายไม่เกิดภาวะขาดน้ำ (Dehydration) และช่วยให้ต่อสู้กับผลกระทบที่เกิดจากการอาหารเป็นพิษ นอกจากน้ำเปล่าแล้วของเหลวอื่น ๆ ที่สามารถบริโภคได้ เช่น น้ำโซดาที่ไม่มีคาเฟอีน ชาที่ไม่มีคาเฟอีน เช่น ชาขิง ชามะนาว น้ำซุปไก่หรือซุปผัก โปรไบโอติก จากการวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า การบริโภคอาหารและอาหารเสริมที่มีโปรไบโอติกหรือแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพ […]


การติดเชื้อไวรัสแบบอื่น

หลีกเลี่ยงการติดเชื้อในโรงพยาบาล ด้วยแนวทางปฏิบัติเหล่านี้

หลายคนได้รับการช่วยเหลือจากโรงพยาบาล แต่หลายคนก็ยังมีความกังวลว่าโรงพยาบาลก็อาจทำให้ป่วยจากการติดเชื้อโรคในโรงพยาบาลได้เช่นกัน ดังนั้น ควรจะต้องทำอย่างไร เพื่อ หลีกเลี่ยงการติดเชื้อในโรงพยาบาล ได้บ้าง เพื่อเวลาไปโรงพยายามแล้วจะได้ไม่ต้องรับโรคต่าง ๆ ที่อาจแพร่กระจายอยู่ ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน วิธี หลีกเลี่ยงการติดเชื้อในโรงพยาบาล การติดเชื้อในโรงพยาบาลนั้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน แต่ไม่เคยได้รับการแก้ไข จนกระทั่งเมื่อ 30 ปีก่อน ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่มีการจัดกิจกรรมควบคุมโรคอย่างจริงจัง และเป็นประเทศที่มีประสบการณ์ในการควบคุมโรคติดเชื้อมากที่สุด ซึ่งวิธีหลีกเลี่ยงการติดเชื้อในโรงพยาบาล สามารถทำได้ดังนี้ ล้างมือ การล้างมือด้วยสบู่ น้ำ หรือเจลทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์อย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ สามารถช่วยลดการแพร่กระจาย หรือการติดเชื้อ ซึ่งควรล้างมือทั้งก่อนและหลังที่พบผู้ป่วย การล้างมือถือเป็นวิธีหลีกเลี่ยงการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่ง่ายมาก แต่ก็เป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนลืมง่ายเช่นกัน อย่าสัมผัสใบหน้าของคุณ รู้หรือไม่ว่าคนเรานั้นสัมผัสใบหน้าของเราบ่อยมาก อาจจะ 15 ครั้งต่อชั่วโมง ซึ่งการสัมผัสใบหน้านั้นสามารถแพร่กระจายเชื้อโรคจากมือเราไปยังจมูก ปาก และทางเดินทายใจ ซึ่งทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงไปจนถึงหวัด การฉีดวัคซีน ผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลก็ด้วยเหตุผลว่า ระบบภูมิคุ้มกันอาจไม่สามารถรับมือกับการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ บางครั้งสิ่งที่สัมผัสอาจเป็นแหล่งที่มาของการเป็นไข้หวัด ซึ่งระบบภูมิคุ้มกัน ณ ตอนนั้นอาจไม่สามารถต่อสู้ได้ บางครั้งเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย ก็อาจเป็นผู้แพร่กระจายการติดเชื้อไวรัสให้กับผู้ป่วยเสียเอง ดังนั้น การฉีดวัคซีนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อป้องกันผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หากป่วยควรอยู่บ้าน หลีกเลี่ยงการไปเยี่ยมผู้ป่วยหากตัวคุณเองก็กำลังป่วยอยู่ หากรู้สึกว่าจะจามควรใช้ทิชชู่หรือแขนเสื้อด้านบนในการปิดจมูกและปาก นอกจากนั้น […]


ไวรัสโคโรนา

งานวิจัยเผย ยาแอสไพริน อาจสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรค Covid-19 ได้

ในปัจจุบัน วิธีการรับประทานยาแอสไพริน (Aspirin) ขนาดต่ำเป็นประจำ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด และช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ที่ได้รับการยอมรับจากศาสตร์การแพทย์สากลทั่วโลก แต่จากผลการวิจัยล่าสุดได้พบว่า การรับประทานยาแอสไพริน นั้น อาจจะยังสามารถช่วยลดความรุนแรงของ Covid-19 โรคระบาดที่ส่งผลกระทบต่อคนทั่วโลกได้อีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ จะมานำเสนอ ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยาแอสไพริน และ Covid-19 ให้ทุกคนได้รับทราบกันค่ะ งานวิจัยพบอะไรเกี่ยวกับ ยาแอสไพริน และ Covid-19 งานวิจัยล่าสุด ที่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Anesthesia & Analgesia ได้ทำการวิจัยโดยใช้ข้อมูลของผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 412 ราย ที่เข้ารับการรักษาด้วยโรค Covid-19 ตั้งแต่ช่วงระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง กรกฎาคม ในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดนั้น มีผู้ป่วย 314 ราย ที่ไม่ได้รับประทานยาแอสไพรินขนาดต่ำเพื่อป้องกันโรค และอีก 98 ราย ได้รับประทานยาแอสไพรินขนาดต่ำ ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงก่อนถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในการวิจัยได้พบว่า ผู้ป่วยที่ไม่ได้ใช้ยาแอสไพรินขนาดต่ำเป็นประจำมากกว่า 50%  อาจจะต้องเข้ารับการรักษาตัวในห้องฉุกเฉิน ในขณะที่ผู้ป่วยที่ใช้ยาแอสไพรินขนาดต่ำเป็นประจำนั้น อาจมีแค่ 38% […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

ใครชอบปล่อยให้บ้านรก ฝุ่นเขรอะ ระวังจะป่วยเพราะ แบคทีเรียในฝุ่นละออง

Hello คุณหมอ เข้าใจดีว่า หลายคนต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ ตื่นเช้ามารีบออกไปทำงาน กว่าจะกลับถึงบ้านก็ดึกดื่น วันหยุดก็อยากนอน ไม่อยากทำอะไร บางครั้ง ความเร่งรีบในการดำเนินชีวิตก็อาจทำให้คุณละเลยการดูแลทำความสะอาดบ้าน จนบ้านมีฝุ่นละอองสะสมตามที่ต่าง ๆ และหากคุณเองก็เป็นคนหนึ่งที่ปล่อยให้บ้านรก ฝุ่นเขรอะ เราอยากแนะนำให้คุณรีบทำความสะอาดบ้านโดยด่วน เพราะนอกจากจะทำให้บ้านดูสกปรก ไม่น่าอยู่แล้ว แบคทีเรียในฝุ่นละออง ยังอาจทำให้คุณป่วยได้อีกด้วย แบคทีเรียในฝุ่นละออง กับปัญหาสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า แบคทีเรียในฝุ่นละอองส่งผลกระทบต่อการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว T helper 1 (Th1) และ Th17 ที่คอยกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส และเซลล์มะเร็ง เสียสมดุล จนนำไปสู่การติดเชื้อที่นิวโทรฟิล (Neutrophil) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ร่างกายจึงต่อต้านเชื้อดังกล่าวได้น้อยลง ความเสี่ยงในการเกิดโรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease หรือ COPD) และโรคมะเร็งปอดจึงเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังมีงานศึกษาวิจัยที่ชี้ว่า แบคทีเรียจากนอกบ้านที่เล็ดลอดเข้าไปในบ้านเวลาเราเปิดประตูหน้าต่าง หรืออาจติดตามตัวเราเวลาเราออกไปข้างนอก และเข้าไปฟุ้งกระจายอยู่ในบ้าน อาจทำให้เชื้อแบคทีเรียในฝุ่นละอองกลายเป็นแบคทีเรียดื้อต่อยาปฏิชีวนะ (Antibiotic resistance) หรือที่เรียกว่า […]


ไวรัสโคโรนา

ไฟเซอร์ เผยผลลัพธ์ของ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่อาจใช้ได้ผล

หลังจากที่ประชาชนทุกคน รวมไปถึงทีมแพทย์ และหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลกนั้น ได้ทำการต่อสู้กับเชื้อไวรัสร้ายอย่าง โควิด-19 มาอย่างยาวนาน ล่าสุดที่ผ่านมา บริษัท ไฟเซอร์ (Pfizer) ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการทำการทดลองร่วมกับ บริษัท ไบออนเทค (BioNTech) เยอรมนี ได้ออกมาเผยการทดสอบของ วัคซีนป้องกันโควิด-19 จากอาสาสมัครที่ได้รับการลงทะเบียนจำนวน 43,538 คน พร้อมกันว่า วัคซีนดังกล่าวค่อนข้างมีประสิทธิภาพเฉลี่ยถึง 90% เลยทีเดียว ที่จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันในการป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้ ไฟเซอร์ เผย การทำงานของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิดใหม่ บริษัท ไฟเซอร์ ได้ทำการใช้เทคโนโลยีผลิตวัคซีน ที่มีชื่อเรียกว่า Messenger RNA หรือ mRNA ขึ้น เพื่อให้เข้าไปช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้ที่ได้รับวัคซีน โดยเป็นการใช้สารพันธุกรรมหลอกให้เซลล์ผลิตโปรตีน ซึ่งโปรตีนนั้นจะสร้างลักษณะคล้ายไวรัส ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันคุ้นชินเรียนรู้ที่จะรับมือ และโจมตีกับไวรัสได้อย่างเท่าทัน แต่ในขณะเดียวกัน บริษัท ไฟเซอร์ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า วัคซีน mRNA อาจไม่สามารถช่วยป้องกันผู้ป่วยที่ประสบกับโควิด-19 ในระดับรุนแรง หรือในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอได้ และจำเป็นที่ต้องให้ประชากรนั้นมีการได้รับวัคซีนอยู่ต่อเนื่อง […]


การติดเชื้อไวรัสแบบอื่น

โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ โรคจากไวรัสมรณะ ที่ยังไร้วัคซีนรักษา

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นสาเหตุของโรคโควิด-19 ที่ปัจจุบันมีผู้ป่วยทั่วโลกกว่า 40 ล้านคน และเสียชีวิตแล้วกว่าล้านคน โรคนี้ทำให้ผู้คนจำนวนมากตื่นตัวเกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสมากขึ้น และรู้ว่าเชื้อไวรัสบางชนิดสามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ด้วย แต่นอกจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 แล้ว ยังมีเชื้อไวรัสอีกหนึ่งชนิดที่สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้เช่นกัน นั่นคือ เชื้อไวรัสนิปาห์ ที่ทำให้เกิด โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ ที่ในปัจจุบันยังไม่มียาและวัคซีนรักษาเฉพาะ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ วันนี้ Hello คุณหมอจะพาไปทำความรู้จักโรคนี้กันให้มากขึ้น โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ คืออะไร โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ (Nipah virus infection) เป็นโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คน (Zoonotic disease) เกิดจากเชื้อไวรัสนิปาห์ (Nipah virus หรือ NiV) ที่เป็นไวรัสในกลุ่มพารามิคโซไวรัส (Paramyxovirus) นอกจากจะติดต่อจากสัตว์สู่คนได้แล้ว โรคนี้ยังสามารถแพร่กระจายผ่านอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสนิปาห์ หรือติดต่อจากคนสู่คนได้ด้วย การติดเชื้อไวรัสนิปาห์สามารถส่งผลให้เกิดอาการได้หลากหลาย ตั้งแต่การติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ โรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน ไปจนถึงโรคไข้สมองอักเสบที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์แพร่ระบาดครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1999 โดยผู้ติดเชื้อกลุ่มแรกคือกลุ่มคนเลี้ยงหมูในหมู่บ้านสุไหง นิปาห์ (Sungai Nipah) ประเทศมาเลเซีย ก่อนโรคจะแพร่กระจายไปในพื้นที่อื่น รวมถึงประเทศสิงคโปร์ด้วย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ติดเชื้อจากการสัมผัสหรือบริโภคเนื้อสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น หมู […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

ฝีคัณฑสูตร (Anal Fistula)

ฝีคัณฑสูตร (Anal Fistula) คือ อาการติดเชื้อของต่อมที่อยู่ในทวารหนัก จนเกิดเป็นตุ่มหนองหรือ ฝี ที่เป็นหนองบริเวณทวารหนัก แก้มก้น หรือบริเวณขอบรูทวารหนัก คำจำกัดความฝีคัณฑสูตร คืออะไร โรคฝีคัณฑสูตร หรือฝีคัณฑสูตร (Anal Fistula) คือ อาการติดเชื้อของต่อมที่อยู่ในทวารหนัก เนื่องจากภายในทวารหนักจะมีต่อมเล็กๆ เรียงติดกันอยู่มากมาย ทำหน้าที่ในการผลิตเมือกภายในทวารหนัก ต่อมเล็กๆ เหล่านี้จะอยู่ในบริเวณที่เป็นทางผ่านของการลำเลียงอุจจาระออกจากทวารหนัก และเมื่อต่อมใดต่อมหนึ่งที่อยู่ในทวารหนักติดเชื้อขึ้นมา ก็จะทำให้เกิดเป็นตุ่มหนอง หรือเป็น ฝี ขึ้นที่บริเวณขอบรูทวารหนัก หรือบริเวณข้างทวารหนัก หรือแก้มก้น ฝีคัณฑสูตร พบได้บ่อยแค่ไหน โดยทั่วไปแล้วฝีคัณฑสูตรนั้นไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก เช่นเดียวกับ ฝี แบบอื่นๆ แต่สำหรับผู้ที่มีอาการติดเชื้อที่บริเวณทวารหนัก หรือรูทวารหนัก จะสามารถเกิดฝีคัณฑสูตรตามมาทีหลังได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ ฝีคัณฑสูตร อาการทั่วไปของฝีคัณฑสูตร มีดังนี้ มีอาการระคายเคืองบริเวณผิวหนังรอบขอบรูทวารหนัก หรือรอบทวารหนัก มีอาการเจ็บ ฝี หรือปวดที่ทวารหนักเวลานั่ง ขยับไปมา เวลาขับถ่าย เวลาปัสสาวะ หรือเวลาไอ มีหนองหรือมีของเหลวคล้ายน้ำหนองไหลออกจากรูทวารหนัก มีกลิ่นเหม็นจากบริเวณทวารหนัก หรือบริเวณใกล้ทวารหนัก อุจจาระมีเลือดหรือหนองปนมา มีอาการบวม แดง บริเวณขอบทวารหนัก มีไข้ขึ้นสูงเมื่อมี ฝี ในบางรายอาจไม่สามารถควบคุมการทำงานของลำไส้ได้ เช่น เวลาปัสสาวะ อาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากมีอาการระคายเคืองที่ทวารหนัก […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

โรคบรูเซลโลซิส โรคจากแบคทีเรียใหม่ในสัตว์ ที่อาจแพร่สู่คนได้จากการสัมผัส

ถึงแม้ โรคบรูเซลโลซิส ที่เกิดจากการอยู่ใกล้ชิดกับสัตว์มากเกินไปจะมีการแพร่ระบาดในประเทศจีนเสียส่วนใหญ่ในขณะนี้ แต่ถึงอย่างไรเราก็ไม่สามารถที่จะละเลย หรือเพิกเฉยต่อโรคติดต่อนี้ได้ ดังนั้นทางที่ดีเราจึงควรทำการศึกษาข้อมูลถึงวิธีการป้องกัน และวิธีรับมือไว้เสียแต่เนิ่น ๆ ในบทความของ Hello คุณหมอวันนี้ ได้นำมาฝากทุกคนกันค่ะ โรคบรูเซลโลซิส คืออะไร โรคบรูเซลโลซิส (Brucellosis disease) คือ โรคติดต่ออีกชนิดที่สามารถแพร่กระจายจากสัตว์สู่คน โดยมีเชื้อแบคทีเรียบรูเซลลา (Brucella) เป็นพาหะ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักพบอยู่ภายในร่างกายสัตว์จำพวก วัว หมู แกะ อูฐ และสุนัข เป็นต้น อีกทั้งเมื่อใดที่คุณมีการสัมผัสกับสัตว์เหล่านี้ โดยไม่มีการทำความสะอาด หรือมีการรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์แบบไม่ผ่านการปรุงสุก ก็อาจทำให้คุณนั้นมีโอกาสได้รับเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายเข้าไปทำลายสุขภาพภายในของคุณได้อย่างง่ายดายเลยทีเดียว ที่สำคัญผู้ที่มักมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับโรคบรูเซลโลซิส มักประกอบอาชีพที่ค่อนข้างคลุกคลีอยู่กับสัตว์มากกว่าคนธรรมดาทั่วไป เช่น สัตวแพทย์ เกษตรกร ผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับฟาร์มสัตว์ และโรงงานแปรรูปจากเนื้อสัตว์ เพราะเนื่องจากพวกเขามีการสัมผัสกับสัตว์อย่างโดยตรงไม่ว่าจะเป็นทางน้ำลาย เลือด ลำตัว ซึ่งเป็นสัมผัสมากครั้งต่อวัน จึงทำให้เชื้อบรูเซลลาอาจเข้าสู่ร่างกายได้ในที่สุด หากไม่มีมีการสวมใส่อุปกรณ์ใด ๆ ป้องกัน อาการทั่วไปที่พบได้ง่าย ในโรคบรูเซลโลซิส หนาวสั่น ร่างกายขาดน้ำ กระหายน้ำบ่อยครั้ง เหงื่อออกจำนวนมาก อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น หรือมีไข้ รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าได้ง่าย ปวดตามกล้ามเนื้อทั่วทั้งร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณหลัง มีอาการไอ ปวดศีรษะ ปวดข้อต่อ น้ำหนักที่ลดลงอย่างรวดเร็ว เบื่ออาหาร อาการข้างต้นที่กล่าวมานั้นของโรคบรูเซลโลซิส อาจสังเกตได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากอาการแรกเริ่มนั้นไม่ต่างจากไข้หวัดธรรมดาเสียเท่าไหร่นัก จึงทำให้ผู้คนที่มีอาการของโรคมักเพิกเฉยคิดว่าไม่เป็นอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด แต่แท้จริงแล้วมันส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าที่คุณคิด เพราะสัญญาณเบื้องต้นเหล่านี้อาจสามารถก่อให้เกิดโรคร้ายแรงได้เช่น […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

บรูเซลโลซิส (Brucellosis)

หากคุณลองสังเกตตนเองแล้วพบว่า รู้สึกมีอาการเบื่ออาหาร ปวดศีรษะ และหนาวสั่นจนผิดปกติ โปรดเข้ารับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะคุณอาจกำลังมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อแบคทีเรียบรูเซลลา ที่ก่อให้เกิดเป็นโรค บรูเซลโลซิส (Brucellosis) ได้ คำจำกัดความบรูเซลโลซิส (Brucellosis) คืออะไร โรคบรูเซลโลซิส (Brucellosis) เป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรียที่ชื่อว่า บรูเซลลา (Brucella) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดที่สามารถกระจายติดต่อได้ทั้งคนและสัตว์ โดยทั่วไปเชื้อบรูเซลลาจะปะปนอยู่ภายในเนื้อสัตว์ และนมที่ไม่ผ่านกระบวนการการฆ่าเชื้อ  อีกทั้งเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ยังสามารถล่องลอยอยู่ในอากาศที่อาจส่งถึงความเสี่ยงต่อการสัมผัส และแทรกซึมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้อย่างมากเลยทีเดียว โรคบรูเซลโลซิส สามารถพบบ่อยได้เพียงใด ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ประกอบอาชีพที่อยู่ใกล้ชิดกับสัตว์อาจเป็นกลุ่มบุคคลที่สามารถได้รับเชื้อบรูเซลลามากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น สัตวแพทย์ เกษตรกร ฟาร์มปศุสัตว์ นักล่าสัตว์ นักจุลชีวิทยา รวมไปถึงคนงานในโรงฆ่าสัตว์ เป็นต้น อาการอาการของโรคบรูเซลโลซิส อาการของโรคบรูเซลโลซิสโดยทั่วไปมักคล้ายไข้หวัดธรรมดา และอาจเป็น ๆ หาย ๆ จนคุณอาจเกิดความสับสนได้ว่าตนเองกำลังประสบอยู่กับปัญหาทางสุขภาพแบบใด ดังนั้น เพื่อให้เกิดการสังเกตได้ง่ายขึ้น คุณจึงควรมองหาสัญญาณของอาการเบื้องต้นไว้ ดังต่อไปนี้ มีไข้ หนาวสั่น รู้สึกกระหายน้ำบ่อยครั้ง ร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณหลัง ปวดศีรษะ น้ำหนักที่ลดลง เบื่ออาหาร อย่างไรก็ตามหากมีอาการดังกล่าวขึ้น โปรดรีบเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะหากคุณปล่อยเป็นระยะเวลานาน และไม่เร่งรีบรักษาตั้งแต่เบื้องต้น ก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคข้ออักเสบ โรคกระดูกสันหลังอักเสบ รวมไปถึงภาวะเยื่อบุหัวใจอักเสบได้อีกด้วย สาเหตุสาเหตุของการเกิด บรูเซลโลซิส การรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ เช่น นม ชีส เนื้อสัตว์ ที่ไม่ผ่านการปรุงสุก และไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ การสัมผัสกับของเหลวโดยตรงของสัตว์ที่ติดเชื้อ เนื่องจากแบคทีเรียในเลือดของสัตว์ที่ติดเชื้ออาจสามารถแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือดของคุณได้ผ่านบาดแผลสด […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน