โรคติดเชื้อ

ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เรามองไม่เห็น แม้ว่าโดยปกติสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจไม่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อที่คุกคามสุขภาพของคุณและคนรอบข้างได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อ ประเภทต่าง ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อ

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK […]

หมวดหมู่ โรคติดเชื้อ เพิ่มเติม

สำรวจ โรคติดเชื้อ

โรคติดเชื้อจากอากาศ

ไข้อีดำอีแดง (Scarlet fever)

โรคไข้อีดำอีแดง (Scarlet fever) เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่เกิดขึ้นกับผู้ที่กำลังมีภาวะคออักเสบ โรคไข้อีดำอีแดงนี้จะมีลักษณะเด่นคือ มีผื่นสีแดงสดเกิดขึ้นตามลำตัว คำจำกัดความโรคไข้อีดำอีแดง คืออะไร โรคไข้อีดำอีแดง (Scarlet fever) เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่เกิดขึ้นกับผู้ที่กำลังมีภาวะคออักเสบ โรคไข้อีดำอีแดงนี้จะมีลักษณะเด่นคือ มีผื่นสีแดงสดเกิดขึ้นตามลำตัว พร้อมกับอาการไข้สูง และเจ็บคอ โดยเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคไข้อีดำอีแดงนี้ จะเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวกัน กับที่ทำให้เกิดภาวะคออักเสบ โรคไข้อีดำอีแดงนั้นจะพบได้มากในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 5-15 ปี แม้ว่าโรคไข้อีดำอีแดงนี้อาจจะมีความอันตรายค่อนข้างสูง แต่ก็สามารถจัดการได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ และการรักษาอย่างเหมาะสม แต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำการรักษา อาจส่งผลกระทบต่อหัวใจ ไต และอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายได้ โรคไข้อีดำอีแดง พบบ่อยแค่ไหน โรคไข้อีดำอีแดงนี้มักจะพบได้บ่อยในเด็กที่มีอายุระหว่าง 5-15 ปี และจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีภาวะคออักเสบอยู่ก่อนแล้ว อาการอาการของโรคไข้อีดำอีแดง สัญญาณและอาการของโรคไข้อีดำอีแดง มีดังต่อไปนี้ ผื่นแดง ผู้ป่วยจะมีผื่นสีแดงขึ้นตามตัว เกือบทั่วทั้งร่างกาย ผื่นแดงนั้นจะมีลักษณะคล้ายกับอาการแดดเผา จะพบได้มากในบริเวณใบหน้า คอ และลามลงมายังลำตัว แขน หรือขา รอยแดง นอกจากผื่นแดงแล้ว ยังอาจจะมีรอยเป็นเส้นสีแดง ขึ้นตามบริเวณข้อพับต่างๆ เช่น ขาหนีบ รักแร้ ข้อศอก หรือเข่า หน้าแดง ลิ้นจะเป็นสีแดงคล้ายสตอว์เบอร์รี เป็นตะปุ่มตะป่ำ และมักจะมีคราบสีขาวที่ลิ้น เนื่องจากภาวะคออักเสบที่เป็นอยู่ก่อนแล้ว เป็นไข้สูง 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป มีอาการหนาวสั่น เจ็บคอ คลื่นไส้ […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

แบคทีเรียในรองเท้า วายร้ายใกล้ตัวที่คุณอาจกำลังละเลย!

คุณผู้อ่านรู้หรือไม่ว่า รองเท้าที่เราสวมใส่กันอยู่เป็นประจำทุกวันนี้ก็มีแบคทีเรียซ่อนอยู่ ยิ่งถ้าเป็นรองเท้าคู่เก่ง ใส่ประจำ ใส่ทุกวัน ใช้งานตลอด แต่มีการละเลยเรื่องความสะอาดหรือทำความสะอาดไม่เพียงพอ แบคทีเรีย จากรองเท้าอาจส่งผลต่อสุขภาพของเราได้นะ และเพื่อการมีสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากแบคทีเรีย Hello คุณหมอ มีวิธีป้องกัน แบคทีเรียในรองเท้า มาฝากค่ะ แบคทีเรียอยู่ในรองเท้าได้อย่างไร ในแต่ละวันที่เราสวมรองเท้าออกไปทำกิจกรรมต่างๆ นอกบ้าน ทั้งไปเรียน ไปทำงาน ไปออกกำลังกาย หรือไปเที่ยว รองเท้าที่เราสวมใส่นั้นต้องผ่านการเหยียบย่ำกับสภาพแวดล้อมต่างๆ กัน ทั้งยังสะสมเหงื่อและความอับชื้นจากเท้าและถุงเท้าที่อยู่ภายในรองเท้าเอาไว้อีกด้วย ซึ่งสิ่งสกปรกจากการเหยียบย่ำไปยังพื้นที่ต่างๆ บวกกับการหมักหมมเอาทั้งเหงื่อและความอับชื้นเอาไว้ จึงเป็นการสะสมเอาแบคทีเรียไว้ในรองเท้า ซึ่ง แบคทีเรีย ในรองเท้านี้สามารถก่อให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องร่วง อาหารเป็นพิษ หรือการติดเชื้อต่างๆ ได้ มีแบคทีเรียอะไรอยู่ในรองเท้าของเราบ้าง รองเท้าที่เราสวมมาตลอดทั้งวัน ได้รับทั้งสิ่งปรก เหงื่อ ความอับชื้น เชื้อโรค และแบคทีเรียมากมาย โดยกลุ่มแบคทีเรียที่พบได้มากในรองเท้าก็คือ แบคทีเรียในกลุ่มของอีโคไล (E.coli)   เชื้ออีโคไลเป็นหนึ่งในเชื้อ แบคทีเรีย ที่สามารถพบได้ในลำไส้ของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าสภาพแวดล้อมอื่นๆ ก็มีเชื้ออีโคไลอาศัยอยู่ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในรองเท้าซึ่งสามารถพบเชื้ออีโคไลได้มาก แม้ว่าโดยปกติแล้วเชื้ออีโคไลในลำไส้ของคนและสัตว์จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายมากนัก แต่ถ้าเชื้ออีโคไลจากภายนอกเกิดการปนเปื้อนกับอาหารและรับประทานเข้าไป ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน มีไข้ เป็นต้น หรือถ้าร้ายแรงก็อาจจะก่อให้เกิดการติดเชื้อภายในร่างกายอย่างรุนแรง ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ แบคทีเรียคลอสตริเดียม […]


การติดเชื้อจากแมลง

โรคเหงาหลับ (Sleeping sickness) โรคเขตร้อนอันตราย ที่แฝงมาพร้อมกับแมลงวัน

เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะรู้กันว่า แมลงวันนั้นนอกจากจะคอยสร้างความรำคาญ มาตอมอาหารที่เรารับประทานแล้ว ยังเป็นหนึ่งในพาหะนำโรคอันตรายหลายๆ ชนิด ไม่ว่าจะเป็น อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ หรือโรคที่เกิดจากพยาธิและเชื้อไวรัสต่างๆ แต่มีอีกหนึ่งโรคที่แฝงมาพร้อมกับแมลงวันที่หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคย อย่าง โรคเหงาหลับ หนึ่งในโรคเขตร้อนที่มีพาหะเป็นแมลงวันที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต [embed-health-tool-heart-rate] โรคเหงาหลับ คืออะไร โรคเหงาหลับ (Sleeping sickness) หรือที่เรียกอีกอย่างว่า โรคแอฟริกันทริพาโนโซม (African trypanosomiasis) เป็นหนึ่งในโรคเวชศาสตร์เขตร้อน ที่เกิดขึ้นจากเชื้อปรสิตที่มีชื่อว่า Trypanosoma brucei rhodesiense ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง โรคเหงาหลับนั้นสามารถแพร่กระจายสู่กันได้ ผ่านทางพาหะนำโรคอย่าง แมลงวันเซทซี (Tsetse fly) แมลงวันชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้เฉพาะในทวีปแอฟริกาเท่านั้น ในทุกๆ ปี จะมีรายงานพบผู้ป่วยโรคเหงาหลับมากกว่าหลายร้อยราย และโรคนี้อาจเกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้ที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา หรือกับผู้ที่เดินทางไปยังทวีปแอฟริกาก็ได้ อาการของโรคเหงาหลับ อาการของโรคเหงาหลับนั้นมักจะปรากฏให้เห็นภายใน 1-3 สัปดาห์หลังจากที่โดนแมลงวันเซทซีกัด โดยอาการที่พบได้บ่อยคือ เป็นไข้ ปวดหัวอย่างรุนแรง อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ต่อมน้ำเหลืองบวม รู้สึกเหนื่อยล้า หรืออ่อนแรงอย่างมาก ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ นอนไม่หลับ ง่วงนอนในเวลากลางวัน ผื่นผิวหนัง มีตุ่มเหมือนถูกแมลงกัด หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา อาการติดเชื้อเหล่านี้อาจจะรุนแรงขึ้น และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ภายในเวลาไม่กี่เดือน กลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นโรคเหงาหลับ แมลงวันเซทซีที่เป็นพาหะนำโรคเหงาหลับนั้น […]


ไวรัสโคโรนา

โรคเมลิออยโดสิส ภาวะจากแบคทีเรีย ที่มาพร้อมกับความชุ่มชื้นในหน้าฝน

เนื่องจากสภาพอากาศปัจจุบันจากหน้าฝนที่เรากำลังกระสบอยู่นี้ ทำให้หลาย ๆ คนคงดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างลำบากมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปทำงาน หรือไปโรงเรียน อีกทั้งยังอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดการเจ็บป่วยจาก โรคเมลิออยโดสิส ได้อีกด้วย แต่โรคนี้จะมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้างนั้น โปรดติดตามได้ในบทความของ Hello คุณหมอ วันนี้ ที่นำมาฝากกันค่ะ โรคเมลิออยโดสิส คืออะไร โรคเมลิออยโดสิส (Melioidosis) คือ ภาวะการติดเชื้อจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Burkholderia pseudomallei ซึ่งมักก่อให้เกิดอาการติดเชื้อได้ตั้งแต่ผิวหนังภายนอก ไปยังการติดเชื้อในปอดภายใน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเท่าทัน หรือปล่อยเป็นระยะเวลานานอาจนำพามาสู่การสูญเสียถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว แบคทีเรียดังกล่าวสามารถแพร่กระจายออกไปสู่คน และสัตว์ได้อย่างง่ายดายโดยผ่านทางน้ำ หรือพื้นดิน ที่คุณสัมผัส อีกทั้งยังมักชอบอาศัยอยู่ตามภูมิอากาศในเขตร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย และรวมถึงประเทศไทยของเราด้วยเช่นกัน ที่สำคัญหากผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือมีโรคประจำตัวอย่างโรคเบาหวาน โรคตับ โรคมะเร็ง และภาวะปอดติดเชื้อ อยู่แต่เดิมแล้ว ก็อาจสามารถทำให้พวกเขามีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยเป็นโรคเมลิออยโดสิสได้ง่ายขึ้นกว่าบุคคลธรรมดาทั่วไปอีกด้วย อาการติดเชื้อของ โรคเมลิออยโดสิส มีอะไรบ้าง อาการของโรคเมลิออยโดสิส อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริเวณที่เชื้อแบคทีเรียนี้ลงไปทำลายอวัยวะส่วนนั้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะพบภายในปอด กระแสเลือด และผิวหนังทั่วทั้งร่างกาย โดยมีอาการที่อาจเผยให้คุณสังเกตได้ง่าย ๆ ดังนี้ การติดเชื้อในปอด ถือว่าเป็นการติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดของโรคเมลิออยโดสิส ที่อาจก่อให้เกิดอาการไอแบบมีเสมหะ เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ พร้อมกับปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ และมีไข้ขึ้นสูงร่วม หากไม่เร่งเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์โดยไว การติดเชื้อดังกล่าวอาจมีการพัฒนาให้คุณนำไปสู่โรคปอดบวม […]


โรคติดเชื้อจากอากาศ

ไข้นกแก้ว อาการป่วยคล้ายไข้หวัด แต่มีพาหะเป็นสัตว์ปีก

ในบางสถานที่หรือบางพื้นที่อาจมีสัตว์ปีกอย่างนกที่คอยบินอยู่รอบ ๆ ตัวเราเป็นจำนวนมาก ทางที่ดีที่สุด คุณควรระมัดระวัง และรักษาสุขอนามัยของตนเองอยู่เสมอ เพราะบางครั้งสัตว์ปีกเหล่านี้อาจเป็นพาหะที่นำมาสู่แบคทีเรียหรือเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของอาการเจ็บไข้ได้ป่วยดังเช่นโรค ไข้นกแก้ว ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำบทความดี ๆ เกี่ยวกับวิธีรักษา และการป้องกันเบื้องต้น มาฝากทุกคนให้ได้ลองอ่านกันค่ะ ไข้นกแก้ว คืออะไร ถึงจะมีชื่อเรียกว่า “ไข้นกแก้ว (Psittacosis)” แต่จริง ๆ แล้วก็มิได้มาจากนกแก้วจริง ๆ ตามชื่อเสมอไป เพราะยังอาจมีสาเหตุการติดเชื้อ หรือการเจ็บป่วยจากนกชนิดอื่น ๆ ได้อีก อาทิเช่น นกป่า นกเลี้ยง ไก่ และเป็ด ซึ่งไข้นกแก้วนี้ นับว่าเป็นการติดเชื้อของแบคทีเรียชนิด Chlamydia Psittaci ที่นำเข้าสู่ช่องทางเดินหายใจ และสามารถล่องลอยปลิวไปในอากาศ กับฝุ่นละอองได้เมื่อยามสัตว์เหล่านี้เกิดอาการป่วย และปล่อยออกมา โดยศูนย์ควบคุม และป้องกันโรคในประเทศสหรัฐอเมริการะบุไว้ว่า ไข้นกแก้วสามารถนำพาหะจากแบคทีเรียดังกล่าวเข้าสู่มนุษย์ได้อย่างง่ายดาย เมื่อมีการสัมผัสสารคัดหลั่งจากตัวของพวกมันอย่าง มูลนก น้ำลาย และการสัมผัสด้วยการหอม กอดโดยตรง แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดเพียงพอเกี่ยวกับการติดเชื้อแบคทีเรียด้วยการบริโภคเนื้อของจำพวกสัตว์ปีก คุณยังคงสามารถรับประทานต่อไปได้ดังเดิม แต่ควรนำไปทำความสะอาด และผ่านความร้อน หรือผ่านการปรุงสุกก่อนอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยแก่สุขภาพของคุณ สังเกตอาการ […]


ไวรัสโคโรนา

วิธีการ ทำความสะอาดหน้ากากผ้า อย่างปลอดภัย ไร้กังวลเชื้อโรค

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อ Covid-19 หลายคนได้หันมาเลือกใช้หน้ากากผ้า ที่สามารถซักแล้วนำกลับมาใช้ซ้ำได้ เพื่อเป็นทางเลือกในการป้องกันตัวจากเชื้อไวรัส แทนหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่หาได้ยากและมีราคาที่ค่อนข้างแพง วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำ วิธีการทำความสะอาดหน้ากากผ้า อย่างถูกต้อง ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยปกป้องทุกคนให้ปลอดภัยจากโรค Covid-19 นี้ หน้ากากผ้า ช่วยป้องกันโรคติดต่อได้หรือไม่ ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงเป็นข้อสงสัยสำหรับใครหลาย ๆ คนอยู่ว่า หน้ากากผ้านั้นสามารถใช้เพื่อช่วยป้องกัน ไม่ให้เราติดโรคติดต่อ โดยเฉพาะโรค Covid-19 ที่กำลังแพร่ระบาดกันอยู่ทุกวันนี้ได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ได้ แต่อาจจะไม่เหมือนกับที่ใครหลายคนคิด หน้ากากที่สามารถป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น เชื้อไวรัส ได้ดีสุด ก็คือหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ที่มีสารเคลือบที่บริเวณด้านหน้าของหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันน้ำและละอองฝอยต่าง ๆ ที่อาจจะมีเชื้อไวรัสปะปนอยู่ ซึมเข้ามาในหน้ากากและทำให้เชื้อไวรัสติดผู้สวมใส่ แต่หน้ากากอื่น ๆ เช่น หน้ากากผ้า นั้นจะไม่มีชั้นเคลือบกันน้ำส่วนนั้น หรือถ้ามีก็ไม่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ เป้าหมายหลักของการใส่หน้ากากผ้า คือ การป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสจากผู้สวมใส่ ไม่ให้ออกไปติดผู้อื่น โดยการช่วยซึมซับน้ำและละอองฝอยต่าง ๆ ที่เราหายใจออกมา และลดการแพร่กระจายของละอองฝอยที่มีเชื้อโรคไปสู่ผู้อื่น เป็นทางเลือกในการช่วยลดความต้องการในการใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ที่ควรเก็บไว้ให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้กัน และการใส่หน้ากากผ้าเพื่อป้องกันโรคติดต่อ จะได้ผลดีก็ต่อเมื่อทุกคนช่วยกันใส่หน้ากากผ้าเท่านั้น วิธีการทำความสะอาดหน้ากากผ้า อย่างถูกต้อง ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic Plague)

กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic Plague)  คือ 1 ใน 3 ประเภทของกาฬโรค เป็นโรคติดเชื้อชนิดร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า เยอร์ซีเนีย เพสติส (Yersinia Pestis) โดยแพร่กระจายเชื้อโรคผ่านหมัดหรือสัตว์ที่ติดเชื้อ คำจำกัดความกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic plague) คืออะไร   กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic plague)  คือ 1 ใน 3 ประเภทของกาฬโรค เป็นโรคติดเชื้อชนิดร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า เยอร์ซีเนีย เพสติส (Yersinia Pestis) โดยแพร่กระจายเชื้อโรคผ่านหมัดหรือสัตว์ที่ติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม กาฬโรคต่อมน้ำเหลืองโดยส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์แทะขนาดเล็ก เช่น กระรอก กระต่าย (ติดเชื้อจากการถูกกัดหรือได้รับรอยข่วน) ผู้ป่วยที่ติดเชื้อกาฬโรคต่อมน้ำเหลืองจะมีอาการหนาวสั่น ปวดศีรษะ  มีไข้  หากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ พบได้บ่อยเพียงใด โดยส่วนใหญ่ มักพบผู้ป่วยกาฬโรคต่อมน้ำเหลืองในเขตบริเวณชนบท ที่มีประชากรอาศัยอยู่รวมกันแออัด มีสุขอนามัยไม่ดี และผู้ที่ชอบไปทำกิจกรรมกลางแจ้งในพื้นที่ที่มีสัตว์ติดเชื้อ เช่น เดินป่า ตั้งแคมป์ รวมถึงสัตวแพทย์และทีมแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสัมผัสกับสัตว์ติดเชื้อ อาการอาการของ กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง ผู้ป่วยกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง จะมีอาการแสดงออกหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 1-6 วัน […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

กาฬโรค (Plague)

กาฬโรค (Plague) คือ โรคติดต่อร้ายแรง ที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถติดต่อได้จากคนสู่คน อีกทั้งยังเคยเกิดเหตุระบาดของกาฬโรคครั้งใหญ่ ที่เรียกว่า “กาฬมรณะ” หรือ “มรณะดำ” คำจำกัดความกาฬโรค คืออะไร กาฬโรค (Plague) คือโรคติดต่อร้ายแรง ที่เกิดขึ้นจากการ ติดเชื้อ แบคทีเรียที่เรียกว่า Yersinia pestis เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะสามารถพบได้ในสัตว์ชนิดต่าง ๆ ทั่วทั้งโลก และสามารถถ่ายทอดมาสู่คนได้ผ่านทางเห็บหมัด อีกทั้งโรคนี้ยังสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้อีกด้วย ในช่วงยุคกลาง เมื่อประมาณศตวรรษที่ 14 เคยเกิดเหตุระบาดของกาฬโรคครั้งใหญ่ ที่เรียกว่า “กาฬมรณะ” หรือ “มรณะดำ (The Black Death)” การระบาดครั้งนั้นได้คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่าหลายล้านคนทั่วยุโรป ในปัจจุบัน การระบาดของกาฬโรคพบได้น้อยลงอย่างมาก และอาจจะพบได้ไม่เกินปีละ 5,000 คน จากประชากรทั้งหมดทั่วโลก โดยส่วนใหญ่มักจะพบได้ในแถบแอฟริกาและเอเชีย ประเภทของกาฬโรค มี 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้ กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic Plague) เป็นกาฬโรคที่พบได้มากที่สุด มักจะเกิดขึ้นจากการ ติดเชื้อ เมื่อถูกตัวเห็บ ไร หรือหมัดกัด […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ (Septicemic Plague)

กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ (Septicemic plague) เป็นภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง หรืออาจเรียกภาวะนี้ได้ว่า “โลหิตเป็นพิษ” กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษจะเกิดขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียที่อื่นในร่างกาย คำจำกัดความ กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ คืออะไร กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ (Septicemic plague) เป็นภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง และอาจเป็นที่รู้จักกันในชื่อเรียกว่า “โลหิตเป็นพิษ” กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษเกิดขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียที่อื่นในร่างกาย เช่น ปอด หรือผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือด สิ่งนี้เป็นอันตราย เพราะแบคทีเรียและสารพิษดังกล่าวสามารถถูกส่งผ่านจากกระแสเลือดไปทั่วร่างกายของคุณ กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษจากการติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เมื่อเป็นแล้วจะต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รับการรักษาภาวะโลหิตเป็นพิษสามารถนำไปสู่การติดเชื้อได้ ภาวะโลหิตเป็นพิษกับภาวะติดเชื้อในตับนั้นไม่เหมือนกัน แบคทีเรียเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงของภาวะโลหะเป็นพิษ ภาวะติดเชื้อทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย อาการอักเสบนี้อาจทำให้เลือดอุดตันและขัดขวางออกซิเจนไม่ให้ไปถึงอวัยวะสำคัญ ส่งผลให้อวัยวะล้มเหลวได้ กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษพบบ่อยพียงใด สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health หรือ NIH) ประมาณการว่า ประชาชนราว 1 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาได้รับการติดเชื้ออย่างรุนแรงในแต่ละปี โดยระหว่าง 28 และ 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยเหล่านี้อาจเสียชีวิตได้จากภาวะต่างๆ เมื่อเกิดการอักเสบเกิดขึ้นพร้อมกับการที่ระดับความดันโลหิตต่ำมาก ซึ่งอาจนำไปสู่ ภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ หรือ ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic Shock) ซึ่งภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อดังกล่าวมีอันตรายถึงชีวิตได้ในหลายกรณี อาการอาการของกาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ สำหรับอาการกาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษนั้น จะมีสัญญาณแรกเริ่มของการติดเชื้อ ซึ่งได้แก่ มีไข้ ตัวสั่น หรือรู้สึกหนาว หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็วและหายใจถี่ ผิวเย็น หรือมีเหงื่อออก การเปลี่ยนแปลงของสภาพจิตใจ เช่น ความง่วง […]


ไวรัสโคโรนา

งานวิจัยชิ้นใหม่เผย โควิด-19 ทำคน เสี่ยงฆ่าตัวตาย มากขึ้น

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโรคโควิด-19 ทำให้หลายสิ่งหลายอย่างในสังคมไทย สังคมโลก รวมถึงสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก บางคนต้องพักงาน บางคนต้องตกงาน รายได้หดหาย บางคนถึงไม่ป่วยเป็นโควิด-19 ก็ต้องเผชิญกับโรคเครียดหรือโรควิตกกังวล ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ อาจส่งผลร้ายมากกว่าที่ใครหลายคนคิด เพราะมีงานศึกษาวิจัยชิ้นใหม่ที่ระบุว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำคน เสี่ยงฆ่าตัวตาย มากขึ้นด้วย ผลกระทบของโควิด-19 ที่ทำคน เสี่ยงฆ่าตัวตาย มากขึ้น ผลการศึกษาวิจัยชิ้นใหม่ที่เผยแพร่ในวารสาร Brain, Behavior, and Immunity ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ในประเทศสหรัฐอเมริกา อิตาลี สหราชอาณาจักร เยอรมนี อินเดีย บังกลาเทศ และซาอุดิอาระเบีย ชี้ว่า อัตราการฆ่าตัวตายเนื่องจากวิกฤติโควิด-19 นั้นมีตัวเลขสูงขึ้น และปัญหานี้กำลังจะกลายเป็นปัญหาระดับโลก โดยนักวิจัยเผยว่า ปัจจัยเสี่ยงในการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้น มาจากผลกระทบที่มาจากการระบาดของเชื้อโควิด ดังนี้ ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจในช่วงปิดเมือง การปิดเมือง หรือ Lockdown เป็นหนึ่งในมาตรการที่หลายประเทศเลือกใช้ในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่มาตรการนี้ก็กลายมาเป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกเข้าสู่ภาวะวิกฤติเช่นกัน ผู้คนจำนวนไม่น้อยต้องตกงานเพราะเพราะโควิด-19 ไหนจะต้องมานั่งเครียดเรื่องการเงินและรายได้ที่ลดลง ทั้งยังรู้สึกสิ้นหวัง และไร้ค่า จึงทำให้อัตราการฆ่าตัวตายของประชากรในหลายพื้นที่ทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศเยอรมนี ก็ฆ่าตัวตายเมื่อปลายเดือนมีนาคม ปีพ.ศ. 2563 โดยรายงานระบุว่า […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน