ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

นอกเหนือจากปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจที่พบได้บ่อย ไม่ว่าจะเป็น ไข้หวัดใหญ่ หอบหืด ปอดอักเสบ วัณโรค หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแล้ว ยังมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพปอดอื่น ๆ ที่หลายคนอาจมองข้าม และไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร แต่ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพปอดเหล่านั้น อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของเราได้ Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น ให้คุณผู้อ่านได้ศึกษาเรียนรู้กัน ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

แน่นหน้าอก หายใจลำบาก สาเหตุและการดูแลตัวเอง

แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เป็นอาการป่วยที่มักมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจและปอด เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ วัณโรค โรคโควิด-19 ทั้งนี้ เมื่อพบอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก ควรไปพบคุณหมอ เพราอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพซึ่งหากปล่อยไว้จะยิ่งแย่ลงหรืออาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-bmr] แน่นหน้าอก หายใจลำบากเกิดจากสาเหตุใดบ้าง แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เป็นอาการป่วยที่มักเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน และมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับหัวใจและปอด เนื่องจากอวัยวะทั้ง 2 อย่างนี้ สัมพันธ์กับการหายใจ หรือการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ภายในร่างกาย สำหรับปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจและปอด หมายถึงโรคต่างๆดังนี้ ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับปอด โรคครูป โรคซาร์คอยโดซิส โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด เยื่อหุ้มปอดอักเสบ น้ำท่วมปอด พังผืดที่ปอด ปอดรั่ว ความดันเลือดปอดสูง วัณโรค โรคโควิด-19 นอกจากปัญหาสุขภาพข้างต้น อาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ยังอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ โรคหอบหืด ความเครียด โรควิตกกังวล โรคอ้วน โรคกรดไหลย้อน ซี่โครงหัก […]

สำรวจ ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

น้ำผึ้งผสมมะนาว สมุนไพรพื้นบ้าน ที่ช่วยบรรเทา อาการไอ ได้

สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว ทำให้ร่างกายของคนเรานั้นปรับตัวไม่ทัน จึงมีอาการคัดจมูก ไข้ขึ้นสูง อาการไอ จนทำให้เจ็บคอ คุณเริ่มรู้สึกลำคาญตัวเองอยู่หรือเปล่า เมื่อต้องไอในที่สาธารณะ และต้องคอยใส่หน้ากากอนามัยอยู่ตลอดเวลา แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถจบลงได้ วันนี้ Hello คุณหมอ ขอแนะนำสูตรสมุนไพรธรรมชาติที่จะมารักษาอาการไอของคุณโดยไม่ต้องพึ่งยาเม็ดโตกัน นั่นก็คือ น้ำผึ้งผสมมะนาว นั่นเอง [embed-health-tool-bmr] อาการไอ จนลามไปถึงเจ็บคอ รู้ไหมสาเหตุเกิดจากอะไร ? อาการไอ (cough) เกิดจากไวรัสจากสิ่งรอบข้าง ไม่ว่าจะควันรถ ฝุ่นละออง ที่ผ่านเข้าช่องปากสู่ลำคอทำให้เกิดการระคายเคือง นำไปสู่การไอ ซึ่งมันเป็นกลไกลตามธรรมชาติของร่างกายเราเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้ามาสู่ปอด คุณอาจสงสัยว่า ทำไมช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนนอนหลับจึงสามารถไอได้ทั้งๆ ที่ไม่ได้อยู่นอกบ้าน เนื่องจากการเกิดกรดไหลย้อนในกระเพาะที่กลับขึ้นเข้าสู่ลำคอ ทำให้หลอดลมเกิดการระคายเคืองจนทำให้คุณตื่นมาไอยามดึก ในบางครั้งอาจมีน้ำมูกไหล และเจ็บคอปะปน อาการนี้สามารถหายเองได้อย่างไร้กังวลภายในระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ แต่ถ้าหากเกิน 3 สัปดาห์ หรือคุณรู้สึกว่าอยู่กับอาการเหล่านี้นานเกินไป รวมถึงมีก้อนในลำคอเหมือนเสมหะ หายในลำบาก หรือไอออกมาเป็นเลือด ควรรีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาโดยทันที นอกจากสาเหตุภายนอกที่เกิดมาจากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวคุณแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดอาการไอ มีดังต่อไปนี้ การสูบบุหรี่ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ การใช้ยาบางชนิดที่ไม่ถูกกันภายในลำคอของคุณ หากไม่อยากกินยา น้ำผึ้งผสมมะนาว สามารถช่วยคุณได้ ส่วนมากยาปฏิชีวนะที่จำหน่ายโดยแพทย์ หรือเภสัชกรมักเป็นแนวทางแรกสำหรับผู้ที่มีอาการไอนึกถึง […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

อายุที่มากขึ้น ส่งผลต่อปอด อย่างไร

เมื่ออายุมากขึ้นสุขภาพก็เริ่มถดถอยลงเรื่อยๆ ระบบต่างๆ ในร่างกายก็ทำงานไม่เหมือนเดิม มีความเสื่อมลงทุกวัน รวมไปถึง สุขภาพปอด ด้วยเช่นกัน อายุที่มากขึ้น ส่งผลต่อปอด ทำให้ปอดไม่แข็งแรงเหมือนก่อน และมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมากขึ้น เพราะความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อในปอดและมวลกล้ามเนื้อของปอดนั้นจะลดลง จึงทำให้มีปัญหาเรื่องระบบการหายใจ Hello จะพาไปดูว่าอายุที่มากขึ้น เกี่ยวข้องกับปอดอย่างไร อายุที่มากขึ้น ส่งผลต่อปอด อย่างไรบ้าง ร่างกายของคนเรา เปรียบเสมือนเครื่องจากในโรงงาน ที่มีฟันเฟืองน้อยใหญ่ คอยทำงานประสานกัน และมีสมองที่คอยสั่งการส่วนต่างๆ ของร่างกาย แต่อาจจะต่างกันที่เครื่องจักรยังมีอะไหล่คอยเปลี่ยนถ่ายได้ง่ายเมื่อเสียหรือชำรุด ไม่เหมือนกับร่างกายของมนุษย์ ที่เมื่อเสื่อมลงแล้วบางอย่างก็ไม่ได้หาเปลี่ยน ถ่ายกันได้ง่ายๆ เมื่อายุมากขึ้น ส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ใช้งานมาอย่างยาวนานก็จะเริ่มเสื่อมลงเรื่อยๆ หากครั้งที่ยังทำงานได้ดีไม่มีการบำรุงรักษาแล้วละก็ จะยิ่งพังเร็วขึ้นไปอีก เช่นเดียวกับ ปอด ของคนเรา เนื่องจาก ปอด เป็นหนึ่งในอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ เมื่ออายุมากขึ้นเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อต่างๆ ของปอดก็จะมีความยืดหยุ่นน้อยลง ทำให้ปอดทำงานได้ไม่เต็มที่ ส่งต่อระบบหายใจ ทำให้หายใจติดๆ ขัดๆ และหายใจได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้เมื่ออายุมากขึ้นกระดูกจะเล็กลงและมีการเปลี่ยนรูป รวมไปถึงกระดูกซี่โครงจะไม่ขยาย ดังนั้นเมื่อหายใจก็จะมีความลำบาก  ผลกระทบของ อายุที่มากขึ้น ส่งผลต่อปอด กล้ามเนื้อของระบบหายใจทำงานได้แย่ลง ทำให้กล้ามเนื้อของระบบหายใจทำงานได้แย่ลง เมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ก็จะทำงานได้แย่ลง รวมไปถึงกล้ามเนื้อของระบบทางเดินหายใจด้วย ถึงแม้ว่าปอดจะไม่มีกล้ามเนื้อ แต่ร่างกายของคนเราจำเป็นที่จะต้องใช้กล้ามเนื้อกระบังลม […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ควันบุหรี่กับควันรถยนต์ อย่างไรอันตรายกว่ากัน

อากาศ นับว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ร่างกายไม่สามารถขาดได้ จำเป็นต้องหายใจรับอากาศเข้าไป เพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานและใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ฝุ่นควันและมลภาวะที่มาพร้อมกับอากาศนั้น อาจสร้างปัญหาให้กับร่างกายได้ โดยเฉพาะ ควันบุหรี่กับควันรถยนต์ แต่ควันอย่างไหนที่เป็นอันตรายต่อเรามากกว่ากัน [embed-health-tool-bmi] ควันบุหรี่กับควันรถยนต์ อย่างไรอันตรายกว่ากัน ควันในอากาศที่หายใจเข้าไป สามารถเป็นอันตรายอย่างมากต่อปอด ไม่ว่าจะเป็นการหายใจรับควันบุหรี่เมื่อสูดเข้าไป หรือหายใจรับฝุ่นควันรถยนต์ตามท้องถนน ต่างก็ส่งผลร้ายต่อร่างกาย อาจทำให้เกิดโรคเรื้อรัง และเสียชีวิตได้ในที่สุด ในปัจจุบันนี้อาจจะยังไม่มีข้อมูล ที่บ่งชี้อย่างแน่ชัดว่า ควันแบบไหนที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเรามากกว่า ระหว่างควันบุหรี่และควันรถยนต์ แต่เราสามารถศึกษาและเปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากควันพิษเหล่านี้ได้ นักวิจัยหลายท่านอาจลงความเห็นว่า ควันบุหรี่ เป็นอันตรายมากกว่าควันรถยนต์ เนื่องจากควันบุหรี่มือสูดเข้าไป อาจทำให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยและความผิดปกติเรื้อรังอย่างรุนแรงมากกว่าควันรถยนต์ในอากาศ อันตรายจากควันรถยนต์ แม้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตผู้เสียชีวิตจากควันบุหรี่ อาจจะมากกว่าควันรถยนต์ แต่ก็ไม่ใช่ว่าควันรถยนต์นั้นจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ควันรถยนต์ นั้นสามารถทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหลายประการ ตั้งแต่โรคมะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง การสูดดมควันรถยนต์ในระยะยาว สามารถทำลายถุงลมที่อยู่ภายในปอด และทำให้เกิดสภาวะที่อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โรคถุงลมโป่งพองนั้นสามารถทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการหายใจและอาจนำไปสู่ปัญหาที่รุนแรงกว่า เช่น ปอดแฟบ หรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ผู้ที่สูดดม ควันบุหรี่ เป็นเวลานานสามารถเสียชีวิตด้วยโรคเดียวกันกับผู้ที่สูบบุหรี่เป็นเวลานาน แม้ว่าจะไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อนเลยก็ตาม ปัญหาที่สำคัญอีกอย่างของควันรถยนต์ก็คือ การที่ควันรถยนต์นั้นหลีกเลี่ยงได้ยากกว่าควันบุหรี่ แทบทุกคนที่ต้องใช้ถนนมักจะต้องสูดดมอากาศที่มีควันรถยนต์ปะปนอยู่ด้วยแทบจะตลอดเวลา ยิ่งโดยเฉพาะคนในเมืองที่ต้องเจอกับฝุ่นควันพิษมากเป็นพิเศษ Arden Pope  ผู้เชี่ยวชาญด้านควันพิษได้กล่าวว่า “การอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีควันพิษสูงก็เหมือนกันอาศัยอยู่กับคนที่สูบบุหรี่วันละสองสามซอง” การหลีกเลี่ยงควันรถยนต์ในอากาศนั้นทำได้ยากกว่าการหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ยิ่งโดยเฉพาะเมื่อควันรถยนต์เหล่านั้นมักจะไม่มีสัญญาณเตือนว่าเราได้สูดดมเข้าไปแล้วจนกระทั่งควันเหล่านี้ได้ทำร้ายร่างกายของเรา วิธีการป้องกันตัวเองจากควันพิษในอากาศ พยายามหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีคนสูบบุหรี่ เช่น จุดพักสูบบุหรี่ต่าง ๆ และหากคนในครอบครัวของคุณมีคนที่สูบบุหรี่ พยายามอย่าให้เขาสูบบุหรี่ในบ้าน […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome)

ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome) มักพัฒนามาจากภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรัง เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถกระจายออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เต็มที่ทำให้หายใจลำบาก คำจำกัดความภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome) คืออะไร ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน หรือ อาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome) เป็นภาวะทางการแพทย์ที่รุนแรงและอาจมีอันตรายจนถึงชีวิต ภาวะนี้เกิดจากภาวะที่ของเหลวในหลอดเลือด ซึมผ่านหลอดเลือดและผนังถุงลมเข้าไปอยู่ในถุงลมแทนที่อากาศ และปิดกั้นไม่ให้อวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกายได้รับออกซิเจน ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน มักพัฒนามาจากผู้ที่มีอากาศป่วยภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรัง มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยหนักและเป็นกรณีฉุกเฉินทางการแพทย์ อาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน พบบ่อยแค่ไหน โดยทั่วไปแล้ว อาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน จะเกิดกับผู้ป่วยหนักที่เข้ารับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาล และอาจเกิดขึ้นได้ในทารกเช่นกัน ภาวะดังกล่าวสามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะนี้ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อาการส่วนใหญ่แล้ว อาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน มักเกิดขึ้นภายใน 1-2 วันนับจากวันที่ป่วยหรือบาดเจ็บ ซึ่งอาการโดยทั่วไปมีดังนี้ หายใจลำบาก ความดันโลหิตต่ำ หายใจถี่ หัวใจเต้นเร็ว ไข้ ความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ อาการงุนงงทางจิต ผิวหนังหรือเล็บเปลี่ยนสีเนื่องจากระดับออกซิเจนที่ลดลงอย่างรุนแรงในเลือด สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ เมื่อไหร่ที่ควรไปพบหมอ อาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน เป็นกรณีฉุกเฉินทางการแพทย์ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีภาวะนี้ มักจะเป็นผู้ป่วยที่รับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาลอยู่แล้ว สาเหตุสาเหตุของ ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน มีอะไรบ้าง อาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน เกิดจากของเหลวที่รั่วออกมาจากหลอดเลือดที่เล็กที่สุดในปอดและซึมเข้าสู่ถุงลมเล็กๆ ซึ่งสาเหตุของภาวะนี้ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ทางตรงและทางอ้อมต่อปอด สาเหตุที่พบได้ทั่วไป […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine) หรือ เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-Acetylcysteine) กับคุณสมบัติน่าทึ่งในการต้านพิษในร่างกาย

อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine) หรือ เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-Acetylcysteine) มักเป็นที่รู้จักในฐานะหนึ่งในตัวยาทรงประสิทธิภาพ สำหรับบรรเทาอาการไอแบบมีเสมหะ ด้วยคุณสมบัติโดดเด่นในการช่วยละลายเสมหะ แต่นอกเหนือจากคุณสมบัติในฐานะยาละลายเสมหะแล้ว ยาตัวนี้ยังมีบทบาทสำคัญต่อการรักษาและฟื้นฟูสุขภาพในอีกหลายด้านที่เราไม่เคยรู้มาก่อน บทความนี้จะทำให้คุณรู้จักประโยชน์ของตัวยานี้ดียิ่งขึ้น อะเซทิลซิสเทอีน หรือ เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน คืออะไร อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine) หรือเอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-Acetylcysteine) หรือเรียกโดยย่อว่า NAC จัดเป็นอนุพันธ์หนึ่งของกรดอะมิโนชนิด แอล-ซิสเทอีน (L-cysteine) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายน้ำและแอลกอฮอล์ได้ดี ในระยะแรก ถูกนำมาใช้เป็นยาละลายเสมหะในผู้ป่วยโรคซีสติกไฟโบรซีส (cystic fibrosis) เนื่องจากมีคุณสมบัติในการทำให้โมเลกุลเสมหะแตกตัว ลดความข้นเหนียวของเสมหะ ทำให้ร่างกายสามารถขับออกมาได้ง่ายมากยิ่งขึ้น อะเซทิลซิสเทอีน (เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน) ต้านพิษในร่างกายอย่างไร ภายหลังมีการศึกษาวิจัยและค้นพบว่า NAC มีคุณสมบัติในการต้านพิษในร่างกาย โดยมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้กระบวนการควบคุมสารอนุมูลอิสระในร่างกายมีความสมดุลและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีคุณสมบัติด้านต่างๆ ดังนี้ คุณสมบัติการช่วยสร้างกลูตาไธโอน กลูตาไธโอนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญในร่างกายถูกสังเคราะห์ขึ้นภายในเซลล์โดยใช้กรดอะมิโนซิสเทอีนเป็นสารตั้งต้น ในร่างกายจะพบกลูตาไธโอนได้ในอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ไต ตับอ่อน ปอด เลนส์ตา เซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์เม็ดเลือดขาว แต่มักพบในเซลล์ตับมากที่สุด ความสำคัญของกลูตาไธโอน คือ เป็นช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย และช่วยการทำงานของตับในการทำลายและขจัดสารพิษออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทั่วไป ถ้าในเซลล์มีปริมาณกลูตาไธโอนต่ำกว่าร้อยละ 80 จะทำให้เซลล์ตายได้ อย่างไรก็ตาม ร่างกายอาจมีปริมาณกลูตาไธโอนต่ำลงได้อันเนื่องจากมาหลายสาเหตุ เช่น […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

เสมหะในคอ เคลียร์ได้! ด้วยการใช้ อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine) หรือ เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-Acetylcysteine)

อะเซทิลซิสเทอีน  (Acetylcysteine) หรือ เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-acetylcysteine) หรือที่เรียกโดยย่อว่า NAC คือ ตัวยาสำคัญที่มักนำมาเป็นส่วนประกอบของกลุ่มยาละลายเสมหะ โดยมีคุณสมบัติเด่นในการช่วยคลายความข้นเหนียวของ เสมหะในคอ ช่วยให้ร่างกายสามารถกำจัดเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น เพราะฉะนั้น เป็นโอกาสดีที่เราจะมาทำความรู้จักกับสารตัวนี้ให้มากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังกังวลหรืออึดอัดกับอาการไอมีเสมหะอยู่ในขณะนี้ [embed-health-tool-bmi] รู้จัก…รู้จริงเกี่ยวกับ อะเซทิลซิสเทอีน อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine) หรือ เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-Acetylcysteine) จัดเป็นอนุพันธ์หนึ่งของกรดอะมิโนชนิด แอล-ซิสเทอีน (L-cysteine) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายน้ำและแอลกอฮอล์ได้ดี ถูกนำมาใช้เป็นยาละลายเสมหะเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1960 ในผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) ซึ่งเป็นโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ทำให้มีการสร้างเสมหะอุดกั้นปอด และเกิดเมือกในตับอ่อนและอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย อะเซทิลซิสเทอีน (เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน) จัดการกับ เสมหะในคอ อย่างไร คุณสมบัติที่โดดเด่นของ อะเซทิลซิสเทอีน (เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน) คือ ความสามารถในการทำลายการยึดเกาะของโมเลกุลเสมหะ ทำให้เสมหะแตกตัวและมีความข้นเหนียวลดลง ส่งผลให้ร่างกายสามารถขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น ตัวยานี้จึงมักนำไปใช้ในการรักษากับผู้ที่มีอาการไอแบบมีเสมหะทั่วไป รวมทั้งผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดลมอักเสบ โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดลมโป่งพองหรือโรคมองคร่อ (Bronchiectasis) เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเสมหะ ลดการสะสมของเสมหะ […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ไอมีเสมหะ ไม่หายซะที! วิธีไหนทำให้หายไวที่สุด

แม้ว่าดูเหมือนเป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ก็ต้องยอมรับว่าบางครั้งอาการไอก็เป็นสิ่งที่สร้างความทรมาน น่าอึดอัด และความรำคาญใจให้แก่ผู้ป่วย และบางครั้งก็รบกวนคนรอบข้างอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีอาการ ไอมีเสมหะ ที่บางครั้งทำให้รู้สึกหายใจลำบากและรบกวนการทำกิจกรรมตามปกติในชีวิตประจำวัน หากปล่อยให้ไอต่อไปเรื่อย ๆ คงไม่ดีแน่ ดังนั้น เราจึงขอนำเสนอวิธีการกำจัดเสมหะ ซึ่งจะช่วยให้อาการไอหายไปโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-bmr] วิธีจัดการกับอาการ ไอมีเสมหะ แบบเร่งด่วน 1. พยายามขจัดเสมหะในลำคอออกมา เมื่อรู้สึกว่ามีเสมหะติดอยู่ในลำคอให้พยายามไอหรือขากเสลดออกมา ไม่ควรกลืนกลับเข้าไป เพราะนั่นคือเชื้อโรคที่ร่างกายพยายามกำจัดทิ้ง การกลืนเข้าไปก็เท่ากับกลืนเชื้อโรคกลับเข้าไปใหม่นั่นเอง และควรบ้วนเสมหะทิ้งในที่ที่เหมาะสมด้วย 2. ดื่มน้ำมาก ๆ ภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งได้แก่ โรคหวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ มักส่งผลให้มีปริมาณเมือกหรือเสมหะมากขึ้นจนทำให้เสมหะไหลลงคอ ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองและกระตุ้นให้เกิดการไอ การดื่มน้ำปริมาณมากจะช่วยให้เสมหะไม่จับตัวจนข้นเหนียวมากเกินไป ทำให้ร่างกายสามารถขับเสมหะออกมาได้โดยง่าย และยังช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้เนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจไม่ให้แห้งเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดอาการไอได้เช่นกัน 3. เลือกเครื่องดื่มร้อน เลี่ยงเครื่องดื่มเย็น เมื่อเกิดอาการไอแบบมีเสมหะควรเลือกเครื่องดื่มร้อน หรือน้ำเปล่าที่อุณหภูมิห้อง หรืออาจเป็นน้ำซุปหรือแกงจืดร้อน ๆ เพื่อช่วยละลายเสมหะ และช่วยบรรเทาการระคายคอได้ 4. หายใจผ่านผ้าชุบน้ำอุ่น ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นแล้วปิดหน้าไว้ พร้อมกับหายใจผ่านผ้าเปียก ซึ่งนี่เป็นวิธีสร้างความชุ่มชื้นให้แก่โพรงจมูกและลำคอแบบรวดเร็ว โดยความร้อนจากผ้าจะนำพาความชุ่มชื้นเข้าไปในระบบทางเดินหายใจและช่วยบรรเทาความเจ็บปวด รวมทั้ง ลดความดันภายในทางเดินหายใจได้ นอกจากนี้ วิธีนี้ยังช่วยลดอาการปวดหัวจากไซนัสอักเสบอย่างได้ผลอีกด้วย 5. ใช้น้ำเกลือสำหรับล้างจมูก การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือถือเป็นวิธีขจัดเสมหะที่ได้ผลดี เนื่องจากเป็นการทำความสะอาดชำระล้างเอาสิ่งสกปรกที่ทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูกและไซนัสออกไป อย่างไรก็ตาม ควรมองหาน้ำเกลือที่มีส่วนผสมของโซเดียมคลอไรด์และเป็นแบบ Sterile คือ ชนิดที่ทำให้ปราศจากเชื้อด้วยความร้อน และต้องมีฉลากระบุข้างขวดด้วยว่า “For irrigation” […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ลักษณะการไอ ของคุณเป็นแบบไหน ลองเช็คอาการไอ 5 รูปแบบต่อไปนี้

แน่นอนว่าทุกคนต้องเคยเกิดอาการไอ แต่เคยสังเกตหรือไม่ว่าการไอแต่ละครั้งของคุณมีความแตกต่างกันอย่างไร มาทำความรู้จักกับ ลักษณะการไอ แต่ละชนิดที่อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน [embed-health-tool-heart-rate] ชนิดการ ไอ แบ่งตามระยะเวลา หากแบ่งการไอตามระยะเวลา ลักษณะการไอ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ไอ ฉับพลัน มีระยะเวลาของอาการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด โพรงไซนัสอักเสบฉับพลัน คอหรือกล่องเสียงอักเสบ หลอดลมอักเสบ อาการกำเริบของโรคถุงลมโป่งพอง ปอดอักเสบ การมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในหลอดลม หรือการสัมผัสกับสารระคายเคืองในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ กลิ่นสเปรย์ แก๊ส และมลพิษทางอากาศ ไอ เรื้อรัง มีระยะเวลาของอาการไอมากกว่า 3 สัปดาห์ ถึง 8 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง การรับประทานยารักษาความดันโลหิตสูงกลุ่ม Angiotensin-Converting Enzyme Inhibitor (ACE-I) เป็นระยะเวลานาน โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังแล้วมีน้ำมูกไหลลงคอ โรคหอบหืด โรคกรดไหลย้อน การใช้เสียงมากทำให้เกิดสายเสียงอักเสบเรื้อรัง เนื้องอกบริเวณคอ กล่องเสียงหรือหลอดลม โรคของสมองส่วนที่ควบคุมการไอ วัณโรคปอด ผู้ป่วยที่มีอาการไอเรื้อรังบางรายอาจมีสาเหตุมากกว่าหนึ่งชนิด ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการตรวจหาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุ อาการไอแบ่งตาม ลักษณะการไอ มีอะไรบ้าง […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

เสมหะ บอกอะไร เรียนรู้การถอดรหัสสุขภาพจากสีของเสมหะด้วยตนเอง

หากคุณกำลังมีอาการไอแบบมี เสมหะ นั่นเป็นสัญญาณบอกความผิดปกติบางอย่างของระบบทางเดินหายใจ เพราะร่างกายกำลังทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคที่หลุดรอดเข้าไปในระบบทางเดินหายใจของคุณออกมาพร้อมกับเสมหะ นอกจากนี้ สีของเสมหะ ยังมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพของคุณซ่อนอยู่ ต่อไปนี้คือวิธีไขรหัสจากสีของเสมหะง่าย ๆ ด้วยตนเอง เสมหะ คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อร่างกาย เสมหะ คือสารคัดหลั่งที่ร่างกายสร้างออกมา จากต่อมสร้างสารคัดหลั่งที่อยู่ในเยื่อบุทางเดินหายใจ ทำหน้าที่สร้างความชุ่มชื้นให้แก่อวัยวะสำคัญ ทั้งยังเป็นตัวช่วยดักจับสารก่อความระคายเคือง เช่น ฝุ่น ควัน เชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินหายใจ ภายในเสมหะประกอบด้วยสารแอนติบอดี้และเอนไซม์ชนิดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ แม้ว่าไม่ได้มีปัญหาสุขภาพใด ๆ ร่างกายก็ยังสร้างเสมหะออกมาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งโดยปกติ ร่างกายเราสามารถสร้างเสมหะปริมาณ 1 – 1.5 ลิตรต่อวันเลยทีเดียว หากคุณมีอาการไอมาพร้อมกับเสมหะจำนวนหนึ่ง นั่นเป็นสัญญาณบอกว่าระบบทางเดินหายใจอาจติดเชื้อโรคหรือเกิดอาการแพ้อย่างใดอย่างหนึ่งเข้าให้แล้ว ตามกลไกทางธรรมชาติของร่างกาย เมื่อมีสิ่งที่ทำให้ระบบทางเดินหายใจระคายเคือง ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้สร้างเสมหะหรือเมือกในระบบทางเดินหายใจในปริมาณเพิ่มมากขึ้นเพื่อดักจับเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม และกระตุ้นให้ร่างกายขับเสมหะออกมาโดยการไอ นี่คือที่มาของอาการ ไอมีเสมหะ นั่นเอง สีของเสมหะ บ่งบอกสุขภาพ ในคนที่มีสุขภาพดีปกติ ลักษณะเสมหะ ที่ถูกผลิตออกมามักมีสีใส แต่หากมีการติดเชื้อหรือการอักเสบ สีของเสมหะอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงตามประเภทของการติดเชื้อหรือสาเหตุอื่น ๆ ที่พอจะสรุปได้ดังนี้ ลักษณะเสมหะ สีขาวขุ่นหรือเทา เสมหะสีขาวขุ่นหรือเทาเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน หรืออาจเกิดการอักเสบของไซนัสซึ่งเป็นโพรงอากาศบริเวณข้างโพรงจมูก  โดยเสมหะประเภทนี้ไหลมาจากไซนัสที่เกิดติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ทำให้เสมหะมีปริมาณมากขึ้นและไหลลงสู่ลำคอ เคยมีข้อมูลหนึ่งที่ระบุว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์จากนมสามารถทำให้เกิดเสมหะขาวขุ่นได้ ซึ่งนั่นไม่เป็นความจริง อย่างไรก็ตาม การบริโภคผลิตภัณฑ์จากนมสามารถทำให้เสมหะจับตัวหนาขึ้นและทำให้ร่างกายขับออกมาได้ยากขึ้น ส่งผลให้เสมหะติดค้างและแห้งกรัง เมื่อถูกขับออกมาจึงมีสีขาวขุ่น ในขณะที่เสมหะสีเทา […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ยาแก้ไอ รูปแบบ ไหนกันแน่ ที่จัดการกับอาการไอได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากการแบ่งประเภทของ ยาแก้ไอ ตามคุณสมบัติการออกฤทธิ์ เพื่อรักษาอาการไอในลักษณะต่าง ๆ แล้ว รูปแบบของยาแก้ไอก็มีส่วนสำคัญ ในการพิจารณาเลือกใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับอาการ รวมทั้งความสะดวกในการใช้อีกด้วย ดังนั้น เราจึงขอแนะนำ ยาแก้ไอ รูปแบบ ต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นยาเม็ด ยาอม ยาผง หรือยาเม็ดฟู่ โดยเน้นให้เห็นถึงคุณสมบัติในการรักษา รวมทั้งข้อดีและข้อเสีย เพื่อการเลือกใช้ตามความเหมาะสม และเพื่อรักษาอาการไอได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด [embed-health-tool-bmr] ทำไมยาต้องมีรูปแบบต่างกัน รูปแบบของยาที่แตกต่างกันนั้น ส่งผลถึงการช่วยให้ตัวยาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพดีที่สุดตามอาการต่าง ๆ โดยยาแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันและมีผลต่อร่างกายต่างกัน ดังนั้น เพื่อให้ยาสามารถทำงานได้ตามคุณสมบัติอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมยาในรูปแบบต่างกัน โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้ เพื่อปกป้องตัวยาไม่ให้สลายง่ายโดยสิ่งแวดล้อม เช่น ความชื้น เพื่อป้องกันการสลายตัวโดยน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร เพื่อกลบรสหรือทำให้ได้รสที่น่ารับประทาน เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมกับตัวยา เช่น ถ้าละลายน้ำได้ดีก็ทำเป็นยาน้ำใส ถ้าไม่ละลายก็ทำเป็นยาแขวนตะกอน ให้ตัวยาอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมกับการนำไปใช้ เช่น ยาน้ำใสปราศจากเชื้อเพื่อใช้ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ เป็นต้น ให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมกับการนำติดตัวไปใช้ และการขนส่ง เช่น การทำเป็นยาเม็ดแทนยาน้ำ ให้ได้รูปแบบของยาที่ได้ขนาดที่ถูกต้องและปลอดภัย เกิดอันตรายกับผู้ใช้น้อยที่สุดและถ้าเกิดอันตรายขึ้นสามารถแก้ได้ไม่ยาก ให้ได้รูปแบบของยาที่จะให้ประโยชน์ในการรักษามากที่สุด ยาแก้ไอ รูปแบบ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม