ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

นอกเหนือจากปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจที่พบได้บ่อย ไม่ว่าจะเป็น ไข้หวัดใหญ่ หอบหืด ปอดอักเสบ วัณโรค หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแล้ว ยังมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพปอดอื่น ๆ ที่หลายคนอาจมองข้าม และไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร แต่ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพปอดเหล่านั้น อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของเราได้ Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น ให้คุณผู้อ่านได้ศึกษาเรียนรู้กัน ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

แน่นหน้าอก หายใจลำบาก สาเหตุและการดูแลตัวเอง

แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เป็นอาการป่วยที่มักมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจและปอด เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ วัณโรค โรคโควิด-19 ทั้งนี้ เมื่อพบอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก ควรไปพบคุณหมอ เพราอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพซึ่งหากปล่อยไว้จะยิ่งแย่ลงหรืออาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-bmr] แน่นหน้าอก หายใจลำบากเกิดจากสาเหตุใดบ้าง แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เป็นอาการป่วยที่มักเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน และมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับหัวใจและปอด เนื่องจากอวัยวะทั้ง 2 อย่างนี้ สัมพันธ์กับการหายใจ หรือการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ภายในร่างกาย สำหรับปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจและปอด หมายถึงโรคต่างๆดังนี้ ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับปอด โรคครูป โรคซาร์คอยโดซิส โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด เยื่อหุ้มปอดอักเสบ น้ำท่วมปอด พังผืดที่ปอด ปอดรั่ว ความดันเลือดปอดสูง วัณโรค โรคโควิด-19 นอกจากปัญหาสุขภาพข้างต้น อาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ยังอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ โรคหอบหืด ความเครียด โรควิตกกังวล โรคอ้วน โรคกรดไหลย้อน ซี่โครงหัก […]

สำรวจ ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ยาแก้ไอ ยาขับเสมหะ ยาละลายเสมหะ สงสัยมั้ย ต่างกันอย่างไร

เรามักหันมาพึ่ง ยาแก้ไอ เมื่อมีอาการไอเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือรุนแรง จนอาจก่อให้เกิดความรำคาญแก่ทั้งผู้มีอาการและคนรอบข้าง หรืออาจรบกวนการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันทั่วไปก็ได้ อย่างไรก็ตาม ยาแก้ไอ ที่มีขายกันอยู่ตามท้องตลาดก็มีอยู่หลายประเภท ทั้งยาแก้ไอสำหรับอาการไอแบบไม่มีเสมหะ และยาสำหรับอาการไอแบบมีเสมหะที่เรียกว่า ยาขับเสมหะ หรือ ยาละลายเสมหะ จึงทำให้เกิดความสับสนอยู่บ่อย ๆ ยาแก้ไอแต่ละประเภทนั้นก็มีตัวยาสำคัญ คุณสมบัติ และข้อบ่งใช้ที่แตกต่างกัน บางชนิดอาจใช้ร่วมกันได้ และบางชนิดก็ใช้ทดแทนกันไม่ได้ ดังนั้น การเข้าใจสาเหตุ และการเลือกประเภทยาแก้ไอที่เหมาะสมกับอาการไอของคุณ ย่อมหมายถึงการรักษาอาการไอที่มีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง  บทความนี้จึงขอนำคุณมาทำความเข้าใจกับยาแก้ไอแต่ละประเภท เพื่อให้คุณสามารถเลือกใช้รักษาอาการไอของคุณได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยมากที่สุด ประเภทของ ยาแก้ไอ มีอะไรบ้าง ยาแก้ไอสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ 1. ยาระงับอาการไอ หรือ บรรเทาอาการไอ ยาประเภทนี้ออกฤทธิ์ตามชื่อ คือการกดไม่ให้เกิดอาการไอ การทำงานของยาชนิดนี้คือการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับกลไกการไอ ทำให้ร่างกายตอบสนองต่อกลไกการไอน้อยลง ทำให้ผู้ป่วยไอน้อยลง ส่วนใหญ่ ยาแก้ไอประเภทนี้มักเหมาะกับการ บรรเทาอาการไอ ในระยะสั้น ๆ สำหรับผู้ป่วยที่ไอแห้งแบบไม่มีเสมหะ และยาชนิดนี้ไม่สามารถรักษา หรือจัดการกับสาเหตุของอาการไอ ที่เกิดจากโรคหรือภาวะสุขภาพอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยาระงับอาการไอมักมาในรูปแบบของยาน้ำ ยาเม็ดรับประทาน หรือ ยาอม ซึ่งสามารถเลือกรับประทานได้ตามความสะดวก 2. ยาขับเสมหะ ยาขับเสมหะมีฤทธิ์กระตุ้นให้ร่างกายเพิ่มปริมาณของเหลว และสารหล่อลื่นที่ทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื้นและหล่อลื่นระบบทางเดินหายใจ เพื่อให้เสมหะคลายความข้นเหนียว และหลุดอออกจากเยื่อบุในระบบทางเดินหายใจ […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

หายใจไม่อิ่ม สัญญาณความผิดปกติระบบทางเดินหายใจและหัวใจของคุณ

ลมหายใจ ก็เหมือนกับระบบที่หล่อเลี้ยงร่างกายส่วนอื่นๆ ที่ต้องทำงานต่อเนื่องตลอดวัน จากข้อเท็จจริงที่ว่า เราหายใจอากาศเข้าไปในร่างกายประมาณ 6 ลิตรต่อนาที จึงเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมาก ที่กระบวนการนี้ดำเนินไปโดยที่เราแทบจะไม่สังเกตเลย จนกระทั่งเมื่อเราเริ่มมีภาวะหายใจลำบาก หรือ หายใจไม่อิ่ม เราจึงเพิ่งตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการที่สำคัญต่อร่างกายนี้ และยังอาจเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ถึงความผิดปกติบางอย่างของร่างกายเราอีกด้วย ทำความเข้าใจภาวะ หายใจไม่อิ่ม โดยทั่วไปผู้ป่วยมักอธิบายอาการนี้ว่า “ได้รับอากาศไม่เพียงพอ” หรือ “ต้องใช้ความพยายามในการหายใจมากขึ้น” “แน่นหน้าอก” หรือ “หายใจไม่อิ่ม” โดยในทางการแพทย์นั้นเรียกอาการนี้ว่า อาการหายใจลำบาก (dysnea) ซึ่งเป็นคำเรียกโดยทั่วไป และไม่ได้เฉพาะเจาะจงอาการแต่เป็นภาวะที่น่าวิตกมากสำหรับผู้ที่มีอาการ และมีแต่ผู้ป่วยเท่านั้นที่จะสามารถอธิบายอาการได้ชัดเจนที่สุด เมื่อมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น ภาวะหายใจไม่อิ่มอาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันหรือเรื้อรัง โดยอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันนั้นมักมีอาการรุนแรง และเกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน เช่น มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปเป็นอุปสรรคต่อการหายใจ หรือมีอาการหอบหืด ในขณะที่อาการแบบเรื้อรังนั้น จะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีอาการแย่ลงตามลำดับ อย่างที่เกิดกับภาวะหัวใจล้มเหลว หรือโรคหอบหืด สาเหตุของการหายใจไม่อิ่ม ภาวะหายใจไม่อิ่มสามารถแบ่งออกได้ทั้งแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง หรือแบ่งตามต้นตอของสาเหตุ ได้แก่ ปอด หัวใจ ระบบหายใจส่วนบน ระบบประสาทส่วนกลาง สภาพจิตใจ กล้ามเนื้อและกระดูก หรือ ต่อมไร้ท่อ แต่โดยทั่วไปภาวะหายใจไม่อิ่ม มักเกิดจากสาเหตุที่ปอดหรือระบบหัวใจและหลอดเลือด แต่ในบางกรณีอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น โรคแพนิค (อาการทางจิตเวช) โรคทางระบบประสาท […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ไอตอนกลางคืน สาเหตุและวิธีช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น

ไอตอนกลางคืน เป็นอาการไอที่เกิดในช่วงเวลากลางคืน โดยเฉพาะระหว่างการนอนหลับ ซึ่งมักมีอาการจากอาการคันคอเล็กน้อยเรื่อยไปจนถึงอาการไออย่างรุนแรง ทำให้รบกวนการนอนหลับ และก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ อะไรคือสาเหตุการไอตอนกลางคืน และมีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของการไอตอนกลางคืน   อาการไอ เป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่ต้องการกำจัดสิ่งแปลกปลอม เช่น เมือก เสมหะ เชื้อโรค สารพิษ ซึ่งทำให้ทางเดินหายใจเกิดความระคายเคืองออกไปจากร่างกาย ส่วนอาการ ไอตอนกลางคืน  เป็นอาการไอที่มักเกิดในช่วงกลางคืน โดยเฉพาะเวลานอนหลับ สาเหตุที่ทำให้เกิดการไอตอนกลางคืน มักจะมาจากปัญหาสุขภาพที่มีอยู่ก่อนแล้ว ดังต่อไปนี้ หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน ไซนัสอักเสบ ไข้หวัด โรคกรดไหลย้อน โรคภูมิแพ้ หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้กลายเป็นไอเรื้อรัง อาจรบกวนการนอนหลับ และอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย นำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ในภายหลัง วิธีแก้ไอตอนกลางคืน วิธีบรรเทาอาการไอตอนกลางคืนอาจทำได้โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง หรือการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อช่วยให้อาการไอดีขึ้นได้ ดังต่อไปนี้ ปรับหัวเตียงให้เอียงขึ้น เนื่องจากสารก่อความระคายเคืองทั้งหลายสามารถเข้าสู่ทางเดินหายใจได้โดยง่าย เมื่อร่างกายอยู่ในท่านอนราบ ดังนั้น อาจปรับให้นอนหมอนสูงขึ้น เพื่อให้ศีรษะอยู่ในระดับสูงขึ้นจากที่นอนเล็กน้อย จิบน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้ง  การผสมน้ำผึ้งลงในเครื่องดื่มอุ่น ๆอาจช่วยละลายเสมหะที่ติดในลำคอได้ ลองใช้น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับเครื่องดื่มสุขภาพ เช่น ชาสมุนไพรต่าง ๆ ที่ปราศจากคาเฟอีน แล้วดื่มก่อนเข้านอน อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังคือ ไม่ควรให้แด็กอายุต่ำกว่า 1 […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ดูแล "สุขภาพปอด" ให้แข็งแรง และห่างไกลจากโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง

เมื่อพูดถึงโรคของระบบทางเดินหายใจ เราอาจจะนึกถึงโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ที่พบได้บ่อย แต่ก็เป็นโรคที่เกิดขึ้นแล้วก็สามารถรักษาให้หายไปได้ ขณะที่ยังมีโรคของระบบทางเดินหายใจ ที่เป็นโรคเรื้อรังอย่างเช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือโรคหอบหืด ที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งหากไม่อยากเผชิญกับปัญหาสุขภาพเหล่านี้ หนึ่งในสิ่งที่เราสามารถทำได้ ก็คือการ ดูแลสุขภาพปอด ให้แข็งแรงนั่นเอง สุขภาพปอด กับโรคระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินหายใจ มีบทบาทสำคัญในการส่งออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีหน้าที่กำจัดของเสียคาร์บอนไดออกไซด์ และของเสียที่เป็นพิษ รวมถึงควบคุมอุณหภูมิและรักษาสมดุลของกรด-ด่างในเลือด (ค่า pH) โดยปกติแล้ว ระบบทางเดินหายใจมีวิธีในการป้องกันไม่ให้สิ่งอันตรายในอากาศเข้าสู่ปอด และทำให้ สุขภาพปอด แย่ลง โดยขนจมูกจะช่วยกรองอนุภาคขนาดใหญ่ และขนขนาดเล็กมากที่เรียกว่า ซีเลีย (cilia) ที่พบตามทางเดินอากาศ จะเคลื่อนที่ไปมาในลักษณะเหมือนการปัดกวาด เพื่อทำให้ทางเดินอากาศสะอาด นอกจากนี้ยังมีของเหลวที่เป็นเมือก (Mucus) ที่ผลิตมาจากเซลล์ที่อยู่ในท่อลมและหลอดลมปอด ทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื้นของทางเดินอากาศ และช่วยยับยั้งฝุ่นละออง แบคทีเรีย และไวรัส รวมถึงสารก่อภูมิแพ้ และสารอื่นๆ ไม่ให้เข้าสู่ปอด อย่างไรก็ตาม ระบบทางเดินหายใจของเราก็สามารถเสียสมดุล และเกิดอาการเจ็บป่วยได้ด้วยหลายสาเหตุ ทั้งจากการติดเชื้อ จากการสูดดมสารพิษจำนวนมากหรืออย่างต่อเนื่อง ยังไม่นับปัจจัยทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อปอดและอวัยวะอื่นๆ ในระบบทางเดินหายใจ รวมถึงรูปแบบการใช้ชีวิตของเราเองที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อปอด เช่น การใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางมลภาวะ หรือการสูบบุหรี่ เราจะ ดูแลสุขภาพปอด […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

อาการไอเรื้อรัง ไอไม่หายของคุณ..อาจเป็นเพราะ 8 สาเหตุนี้

อาการไออาจน่ารำคาญ แต่ก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อาการไอเกิดขึ้นเพราะร่างกายพยายามขับสิ่งแปลกปลอม เช่น เสมะหะ เชื้อโรค ออกจากทางเดินหายใจ แต่หากมี อาการไอเรื้อรัง ก็อาจสร้างความรำคาญแก่เราได้ มาดูกันดีกว่าว่า สาเหตุที่อาจทำให้เกิดอาการ ไอเรื้อรัง มีอะไรกันบ้าง 8 สาเหตุที่อาจทำให้เกิด อาการไอเรื้อรัง ความเครียด ความเครียด โดยเฉพาะความเครียดสะสม หรือความเครียดเรื้อรัง สามารถทำให้อาการไอของคุณหายช้าลงได้ ดังนั้น เวลาป่วยหรือไอ คุณไม่ควรทำงานหักโหมจนเครียด และควรนอนหลับพักผ่อนให้มาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้อาการแย่ลง และให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ดื่มน้ำไม่เพียงพอ หากคุณป่วยและไอ ควรดื่มน้ำให้มาก ๆ โดยเฉพาะน้ำอุ่น เพื่อให้ร่างกายและทางเดินหายใจชุ่มชื้นขึ้น ช่วยให้น้ำมูกและเสมหะในทางเดินหายใจหนืดข้นน้อยลงจนขับออกจากร่างกายได้ รวมไปถึงงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำมากกว่าเดิม ทางเดินหายใจระคายเคืองจน ไอเรื้อรัง อาการไอส่วนใหญ่เป็นผลมาจากโรคติดเชื้อไวรัส เช่น ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไข้หวัด ซึ่งไวรัสจะทำให้ทางเดินหายใจบวมและระคายเคืองง่ายกว่าปกติ คุณจึงสามารถไอต่อเนื่องได้อีกหลายสัปดาห์ จนถึงขั้นไอเรื้อรัง แม้ว่าอาการอื่น ๆ ของโรคจะหายแล้วก็ตาม ปัญหาสุขภาพ ไอเรื้อรัง อาจเกิดได้จากโรคต่าง ๆ เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคกรดไหลย้อน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (obstructive sleep apnea) โรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic  Fibrosis) โรคหลอดลมโป่งพอง […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ไอเป็นเลือด (Coughing blood)

ไอเป็นเลือด (Haemoptysis หรือ Coughing blood) หมายถึงอาการที่ไอแล้วมีเลือดไหลออกมาจากปอด อาการไอเป็นเลือดนี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะที่อันตราย ไม่ว่าจะเป็น การติดเชื้อ โรคมะเร็ง หรือปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดภายในปอด คำจำกัดความไอเป็นเลือด คืออะไร ไอเป็นเลือด (Haemoptysis หรือ Coughing up blood) หมายถึงอาการที่ไอแล้วมีเลือดไหลออกมาจากปอด อาการไอเป็นเลือดนี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะที่อันตราย ไม่ว่าจะเป็น การติดเชื้อ โรคมะเร็ง ปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดภายในปอด ที่ทำให้มีเลือดออกภายในปอดแล้วทำให้ไอออกมาเป็นเลือด ในบางครั้งอาจมีเสมหะปะปนมาด้วย ประเภทของอาการไอเป็นเลือด อาจแบ่งได้ตามปริมาณของเลือดที่ไอออกมาภายใน 24 ชั่วโมง ดังต่อไปนี้ อาการไอเป็นเลือด ที่อันตรายถึงแก่ชีวิต แพทย์อาจจะมีเกณฑ์ที่ต่างกันในการแยกอาการไอเป็นเลือดในระดับนี้ แต่โดยปกติจะมีช่วงตั้งแต่การไอเป็นเลือดในปริมาณ 100-600 มล. อาการไอเป็นเลือด ที่ไม่อันตรายถึงแก่ชีวิต หรือเรียกอีกอย่างว่าอาการไอเป็นเลือดในระดับปานกลาง โดยมีปริมาณเลือดในช่วงระหว่าง 20-200 มล. อาการไอเป็นเลือด ในระดับเบา สำหรับผู้ที่มีอาการไอเป็นเลือดในปริมาณที่น้อยกว่า 20 มล. ไอเป็นเลือดพบบ่อยแค่ไหน อาการไอเป็นเลือด พบได้ทั่วไปในทุกวัย และมักส่งผลต่อผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ป้องกันได้โดยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของภาวะไอเป็นเลือด อาการที่เห็นได้ชัดของ อาการไอเป็นเลือด คือการไอที่มีเลือดปะปนออกมา เนื่องจากมีเลือดอยู่ในปอดหรือระบบทางเดินหายใจ เลือดนี้อาจจะมีลักษณะเป็นฟอง เนื่องจากได้ผสมกับอากาศและเสมหะที่อยู่ภายในปอด สีของเลือดนั้นอาจมีตั้งแต่สีแดงสด ไปจนถึงสีน้ำขาว […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ไอ (cough)

ไอ เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์บริเวณทางเดินหายใจเกิดการระคายเคือง ซึ่งจะกระตุ้นปอดให้ดันอากาศออกมาภายใต้ความดันสูง สามารถเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง คำจำกัดความ ไอคืออะไร ไอ (cough) เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์บริเวณทางเดินหายใจเกิดการระคายเคือง ซึ่งจะกระตุ้นปอดให้ดันอากาศออกมาภายใต้ความดันสูง อาการไอสามารถเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง อาการไอพบบ่อยเพียงใด อาการไอเป็นปฏิกิริยาตอบสนองฉับพลันตามธรรมชาติเพื่อช่วยปกป้องปอด และช่วยกำจัดสิ่งระคายเคืองออกจากทางเดินหายใจ เช่น ควันและน้ำมูก ทั้งยังป้องกันการติดเชื้อในทางเดินหายใจด้วย อาการไอเป็นเวลานานทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงปรารถนาและอาจเป็นอันตรายหากไม่ได้รับการตรวจ โดยสามารถส่งผลต่อผู้ป่วยได้ทุกวัย แต่สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการไอเป็นอย่างไร อาการไอมักเป็นอาการหนึ่งของภาวะอื่นๆ สามารถเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ไม่ว่าคุณจะมีอาการไอแบบใด อาการทั่วไปของการไอที่เห็นชัด ได้แก่ มีไข้ รู้สึกหนาวสั่น ปวดตามร่างกาย เจ็บคอ คลื่นไส้หรืออาเจียน ปวดศีรษะ มีเหงื่อออกตอนกลางคืน น้ำมูกไหล มีเสมหะในลำคอ อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด อาการไอส่วนใหญ่ที่เกิดจากหวัดหรือไข้หวัดใหญ่จะหายไปเองอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี ควรปรึกษาแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้ รู้สึกเวียนศีรษะหลังมีอาการไอ ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก ไอต่อเนื่องตลอดทั้งคืน มีไข้ อาการไอไม่ดีขึ้นหลังจาก 7 วัน มีอาการหอบหรือหายใจลำบาก หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุ สาเหตุของการไอ เมื่อมีสารระคายเคืองในปอด ปฏิกิริยาตามธรรมชาติของร่างกายคือ การไอเพื่อกำจัดสารระคายเคืองออกไป สาเหตุที่ทำให้ปอดระคายเคือง ได้แก่ ไวรัส ไวรัสที่ทำให้เกิดอาการหวัดหรือไข้เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุด ของการไอ ภูมิแพ้และหอบหืด ปอดจะพยายามกำจัดสิ่งที่ทำให้ร่างกายเกิดการระคายเคืองออกไปโดยการไอ สารระคายเคือง เช่น อากาศเย็น บุหรี่ ควัน หรือน้ำหอมรุนแรงจะกระตุ้นให้เกิดการไอ สาเหตุอื่นๆ เช่น ปอดติดเชื้อ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ภาวะอารมณ์หดหู่หรือซึมเศร้า และผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางประเภท ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอาการไอ สิ่งระคายเคืองในสิ่งแวดล้อมจะทำให้อาการไอแย่ลง ตัวอย่างเช่น ผู้ที่เป็นภูมิแพ้อาจรักษาอาการไอโดยใช้ยารักษาภูมิแพ้ หากมีอาการไอจากการสูบบุหรี่ อาจมีอาการดีขึ้นหากหยุดสูบบุหรี่หรืออาจมีอาการแย่ลงหากยังคงสุบบุหรี่ต่อไป  หากเป็นโรคปอดเรื้อรัง เช่น หอบหืดหรือหลอดลมอักเสบเรื้อรัง อาจมีอาการไอเรื้อรังรุนแรงขึ้นหากไปในสถานที่บางแห่งหรือทำกิจกรรมบางประการที่มีปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการไอ ยาบางประเภทสามารถทำให้เกิดการไอ […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ภาวะระบายลมหายใจเกิน (Hyperventilation)

ภาวะระบายลมหายใจเกิน เกิดขึ้นเมื่อคุณเริ่มหายใจเร็วมาก โดยหายใจออกมากกว่าหายใจเข้า ก่อให้เกิดภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว คำจำกัดความภาวะระบายลมหายใจเกิน คือ ภาวะระบายลมหายใจเกิน (Hyperventilation) หรือ โรคหายใจเกิน เกิดขึ้น เมื่อคุณเริ่มหายใจเร็วมาก การหายใจที่ดีต่อสุขภาพคือภาวะสมดุลระหว่างการสูดออกซิเจนเข้า และระบายคาร์บอนไดออกไซด์ออก ภาวะสมดุลนี้สูญเสียไป เมื่อคุณระบายลมหายใจเกิน โดยการหายใจออกมากกว่าหายใจเข้า ก่อให้เกิดภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายที่ลดต่ำ ก่อให้เกิดการตีบตันของหลอดเลือดที่ลำเลียงเลือดไปยังสมอง การลดลงของเลือดที่ไปเลี้ยงสมองนี้ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น เวียนศีรษะ และมีอาการปวดเสียวที่นิ้วมือ ภาวะระบายลมหายใจเกินที่รุนแรงสามารถก่อให้เกิดอาการหมดสติได้ ภาวะระบายลมหายใจเกิน พบได้บ่อยเพียงใด โดยปกติแล้ว ภาวะระบายลมหายใจเกินจะค่อนข้างพบได้น้อย โดยอาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวเมื่อมีอาการตื่นตระหนกต่อความกลัว อาการตึงเครียด หรือความกลัว นอกจากนี้ โรคหายใจเกิน ยังอาจเป็นผลมาจากสภาวะทางอารมณ์ เช่น อาการซึมเศร้า ความกังวล ความโกรธ หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็อาจจะเรียกว่า กลุ่มอาการหอบจากอารมณ์ (Hyperventilation Syndrome) อาการอาการของ ภาวะระบายลมหายใจเกิน โรคหายใจเกิน อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงได้ และอาจมีอาการได้นาน 20-30 นาที คุณควรเข้ารับการรักษาในทันทีหากเกิดอาการดังต่อไปนี้ หายใจถี่และหายใจลึก อาการปวด อาการไข้ มีเลือดออก รู้สึกกังวล ประหม่า หรือตึงเครียด หาวบ่อย หัวใจเต้นแรงและเร็ว มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว เวียนศีรษะ หรือรู้สึกหมุน มีอาการชาหรือปวดที่มือ เท้า หรือรอบปาก มีอาการตึง แน่น มีแรงกด รู้สึกกดเจ็บ หรือปวดที่หน้าอก อาการของภาวะระบายลมหายใจเกินแย่ลง […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis)

คำจำกัดความซิสติกไฟโบรซิส คืออะไร ซิสติกไฟโบรซิส (Cystic  Fibrosis) เป็นอาการป่วยเรื้อรัง ที่ส่งผลต่อเซลล์ที่สร้างเหงื่อและเมือก เมือกเป็นของเหลวที่ลื่นและค่อนข้างเหนียว ที่ช่วยหล่อลื่นและป้องกันเยื่อเมือก เมือกที่เกิดจากโรคซิสติกไฟโบรซิสจะหนาและเหนียวผิดปกติ เมือกดังกล่าวจะไปอุดกั้นปอด และก่อให้เกิดภาวะปอดติดเชื้อเรื้อรัง นอกจากนี้ ซิสติกไฟโบรซิสยังส่งผลต่อตับอ่อน ซึ่งส่งผลให้เกิดความผิดปกติ ในการสร้างสารเคมีชนิดพิเศษที่เรียกว่าเอนไซม์ เพื่อใช้สำหรับการย่อยอาหาร หากไม่มีเอนไซม์แล้ว ร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมสารอาหารจากอาหารได้ ซิสติกไฟโบรซิส พบได้บ่อยเพียงใด ซิสติกไฟโบรซิสเป็นโรคทางพันธุกรรม ที่พบได้ทั่วไปในแถบยุโรปตอนเหนือ ผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิสมีช่วงชีวิตที่สั้น แต่ด้วยการรักษาสมัยใหม่ พบว่าผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิสจำนวนมากขึ้น สามารถมีชีวิตอยู่ได้ถึงวัยกลางคน หรือมากกว่า อาการอาการของโรค ซิสติกไฟโบรซิส เป็นอย่างไร สิ่งบ่งชี้และอาการของโรคซิสติกไฟโบรซิสมีหลากหลาย โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อาจมีสิ่งบ่งชี้และอาการของโรคที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการใดอาการหนึ่ง ให้ปรึกษาแพทย์ ผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิสมีระดับเกลือในเหงื่อที่สูงกว่าปกติ พ่อแม่สามารถรู้สึกถึงรสของเกลือได้เมื่อจูบลูกของตน อาการอื่นๆ ได้แก่ สิ่งบ่งชี้และอาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิสมีเมือกหนาและเหนียว ที่ก่อตัวขึ้นในทางเดินหายใจ การก่อตัวขึ้นของเมือก ทำให้แบคทีเรียเติบโต และทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายยิ่งขึ้น การติดเชื้อจะอุดกั้นทางเดินหายใจ และทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง ที่ก่อให้เกิดเสมหะ หรือเมือกหนาที่มีเลือดปนในบางครั้ง นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิสยังมีโอกาสที่จะมีภาวะโพรงจมูกอักเสบชั่วคราว ปอดบวม และปอดติดเชื้อ ที่ไม่มีการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทั่วไป เมื่อโรคซิสติกไฟโบรซิสมีอาการแย่ลง คุณอาจมีภาวะที่รุนแรงขึ้น เช่น ภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (pneumothorax) หรือโรคหลอดลมพอง (bronchiectasis) สิ่งบ่งชี้และอาการเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร สำหรับโรคซิสติกไฟโบรซิส เมือกจะอุดกั้นหลอดหรือช่องในตับอ่อน (อวัยวะภายในช่องท้อง) การอุดกั้นดังกล่าวนี้ป้องกันไม่ให้เอนไซม์ไปยังลำไส้ได้ ผลก็คือ […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ปอดแฟบ (Atelectasis)

ปอดแฟบ คือ อาการที่ปอดหรือกลีบปอดบางส่วนยุบ อาจเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ การสูดหายใจเอาวัตถุแปลกปลอมเข้าไป เนื้องอกที่ปอด มีน้ำในปอด ระบบทางเดินหายใจอ่อนแอ และการบาดเจ็บที่หน้าอก คำจำกัดความปอดแฟบ คืออะไร อาการปอดแฟบ (Atelectasis) หรืออาการที่ปอดหรือกลีบปอดบางส่วนยุบ เกิดขึ้นเมื่อถุงลม (Alveoli) ภายในปอดนั้นแฟบลง อาการปอดแฟบ ยังอาจเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ทั้งโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) การสูดหายใจเอาวัตถุแปลกปลอมเข้าไป เนื้องอกที่ปอด มีน้ำในปอด ระบบทางเดินหายใจอ่อนแอ และการบาดเจ็บที่หน้าอก ปอดแฟบ พบได้บ่อยได้แค่ไหน อาการปอดแฟบ สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยทุกช่วงอายุ เป็นภาวะแทรกซ้อนจากการหายใจหลังจากการผ่าตัดที่พบได้ทั่วไป สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษากับแพทย์ อาการอาการของปอดแฟบ อาการปอดแฟบ ไม่มีสัญญาณหรืออาการที่ชัดเจน หากคุณมีสัญญาณและอาการเกิดขึ้น อาจมีดังนี้ หายใจลำบาก หายใจเร็วและตื้น ไอ อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษากับแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อไร อาการปอดแฟบ มักจะเกิดขึ้นในตอนที่คุณอยู่ในโรงพยาบาลอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ควรรับการรักษาพยาบาลในทันที หากคุณมีปัญหาการหายใจ หรือโรคอื่น ๆ นอกจาก อาการปอดแฟบ คุณจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และการรักษาโดยทันที แล้วเมื่อคุณเริ่มมีอาการหายใจลำบาก ควรดรับการรักษาฉุกเฉินในทันที สาเหตุสาเหตุของ อาการปอดแฟบ อาการปอดแฟบ เป็นผลมาจากการอุดตันของทางเดินหายใจ หรือจากความดันจากด้านนอกของปอด (แบบไม่มีการอุดตัน) […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม