โรคถุงลมโป่งพอง

โรคถุงลมโป่งพอง จัดเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการหายใจไม่อิ่ม เนื่องจาก "ถุงลม" ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของปอดถูกทำลาย และมักเป็น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ร่วมด้วย สาเหตุหลักของโรคนี้ ได้แก่ การสูบบุหรี่ ควันบุหรี่ และมลภาวะทางอากาศ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคถุงลมโป่งพอง

โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)

โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) เป็นภาวะหนึ่งที่อาจนำพาไปสู่เกิดโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ และส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากมาย เช่น ปอดยุบตัว เกิดรูขนาดใหญ่ในปอด เพิ่มความดันในหลอดเลือดแดงของหัวใจและปอดเพิ่มมากขึ้น หากไม่เข้ารีบรักษาอาจหายใจลำบาก ไอเรื้อรัง รวมไปถึงสุขภาพทางเดินหายใจเสียหายอย่างหนักได้ คำจำกัดความโรคถุงลมโป่งพอง คืออะไร โรคถุงลมโป่งพอง คือหนึ่งในโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โดยโดยจะส่งผลให้ถุงลมเสียความยืดหยุ่น อาจทำให้เยื่อบุของถุงลมได้รับความเสียหาย และแตกตัวออกจนเกิดช่องว่างภายใน ทำให้ปอดมีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้น้อยลง และขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายได้ยากขึ้น อาการอาการของ โรคถุงลมโป่งพอง อาการของ ถุงลมโป่งพอง มักแตกต่างกันออกไป โดยอาการที่พบบ่อยที่สุด มีดังนี้ ไอบ่อยและต่อเนื่อง หายใจตื้น มีเสมหะปริมาณมาก แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ในรายที่มีอาการเรื้อรัง อาจมีอาการดังต่อไปนี้ หายใจมีเสียงหวีด ปอดติดเชื้อ น้ำหนักลดลงจากอาการไม่อยากอาหาร หรือเบื่ออาหาร รู้สึกเหนื่อยล้าง่าย ริมฝีปากเปลี่ยนเป็นสีซีดเนื่องจากขาดออกซิเจน สาเหตุสาเหตุของโรคถุงลมโป่งพอง สาเหตุที่ทำให้ ถุงลมโป่งพอง และเกิดการระคายเคืองในช่องทางเดินหายใจเป็นเวลานาน มีดังต่อไปนี้ การสูบบุหรี่ หรือสูดดมควันบุหรี่ มลพิษทางอากาศ ฝุ่น สารเคมี ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของโรคถุงลมโป่งพอง แม้ว่าความเสียหายของถุงลมจะเกิดจากภาวะต่าง ๆ รอบตัว และบางคนอาจไม่เผยอาการใด ๆ แต่จะมีอาการชัดขึ้นในอายุ 40-60 ปี หรือเข้าสู่ช่วงวัยผู้สูงอายุ และอาการจะมีการพัฒนาที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน และรุนแรงมากขึ้นตามมา โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องมาแทบทั้งชีวิต อีกทั้งการที่ร่างกายขาดเอนไซม์ Alpha 1-antitrypsin (AAT) ซึ่งเป็นโปรตีนในเม็ดเลือดโดยมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เซลล์เม็ดเลือดขาวทำลายเนื้อเยื่อ ก็อาจนำไปสู่การทำลายปอดได้ การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยโรคถุงลมโป่งพอง การวินิจฉัยโรคถุงลมโป่งพอง ที่คุณหมอใช้ เพื่อประเมินหาสาเหตุก่อนการรักษา มีดังนี้ การเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ […]

สำรวจ โรคถุงลมโป่งพอง

โรคถุงลมโป่งพอง

5 พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง

คนส่วนใหญ่มักคิดว่า โรคถุงลมโป่งพอง มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ เพียงอย่างเดียว แต่แท้จริงแล้ว ยังมีอีกหลาย พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาดูกันว่า โรคถุงลมโป่งพองเกิดจากสาเหตุและปัจจัยใดบ้าง เราจะได้ป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี ถุงลมโป่งพอง (Emphysema) คืออะไร ถุงลมโป่งพอง (Emphysema) เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังชนิดหนึ่ง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease : COPD) เกิดจากการอักเสบบริเวณถุงลมปอด  ผนังด้านในถุงลมจึงอ่อนตัวและแตกออกกลายเป็นถุงลมขนาดใหญ่แทนที่จะเป็นถุงลมขนาดเล็ก ๆ จำนวนมาก ทำให้ปอดแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายได้น้อยลง หรือมีปริมาณออกซิเจนค้างอยู่ในปอดมากกว่าปกติ  อย่างไรก็ตาม โรคถุงลมโป่งพองมักพบในเพศชายที่มีอายุระหว่าง 40-60 ปี ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก หายใจถี่ และอาการไอ เป็นต้น  5 พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง  พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง มีดังต่อไปนี้ สูบบุหรี่  บุหรี่เป็นสาเหตุหลักของโรคถุงลมโป่งพอง อายุ โดยส่วนใหญ๋มักพบในเพศชายที่มีอายุระหว่าง 40-60 ปี  การสัมผัสกับควันบุหรี่ การสัมผัสหรือสูดดมควันบุหรี่ (โดยที่ไม่สูบบุหรี่เอง) อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคถุงลมโป่งพอง สูดดมควันและฝุ่นละออง  หากเราหายใจเอาควันและฝุ่นละออง  เช่น ฝุ่นละอองจากเมล็ดฝ้าย หรือสารเคมีในเหมืองแร่ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพองได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป การสัมผัสกับมลภาวะในที่ร่มและกลางแจ้ง การหายใจเอามลพิษ เช่น ควันจากเชื้อเพลิง ควันจากท่อไอเสียรถ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง สัญญาณเตือนโรคถุงลมโป่งพอง    โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมีอาการไอ […]


โรคถุงลมโป่งพอง

ถุงลมโป่งพอง โรคอันตรายในระบบทางเดินหายใจ ที่แม้ไม่สูบบุหรี่ก็มีโอกาสเป็นได้

ถุงลมโป่งพอง เป็นอาการทางสุขภาพที่เกิดจากสาเหตุหลักอย่างการสูบบุหรี่ ดังที่เรามักจะเห็นจากการรณรงค์ผ่านสื่อสาธารณะ วิดิโอ ภาพ หนังสือ หรือคู่มือสุขภาพต่าง ๆ ว่าให้เลิกสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่เสี่ยงเป็นถุงลมโป่งพอง แต่รู้หรือไม่ว่า โรคถุงลมโป่งพอง ไม่ต้องสูบบุหรี่ก็มีโอกาสเสี่ยงได้เหมือนกัน แต่อะไรบ้างที่ทำให้เราเสี่ยงเป็นถุงลมโป่งพอง Hello คุณหมอ มีคำตอบมาฝากทุกท่านในบทความนี้ค่ะ ถุงลมโป่งพอง คืออะไร ถุงลมโป่งพอง หรือ โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) เป็นหนึ่งในภาวะสุขภาพของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ที่มีอาการของโรคถุงลมโป่งพองจะหายใจถี่และสั้น เนื่องมาจากถุงลมและผนังถุงลมถูกทำลายจนเสื่อมสภาพ จึงเกิดการอุดกั้นอากาศ อากาศเก่าก็จะถูกกักเก็บเอาไว้ในถุงลมจนไม่เหลือพื้นที่ให้กับออกซิเจนใหม่ที่เข้ามา เวลาที่หายใจออกจึงมีอากาศตกค้างอยู่ภายในถุงลม เมื่อจะหายใจเข้าก็จะหายใจได้ไม่เต็มที่เนื่องจากอากาศที่ตกค้างอยู่ภายในถุงลมมีมากเกินไป จนไม่สามารถกักเก็บเอาอากาศใหม่เข้าไปได้ ทำให้เวลาหายใจจะรู้สึกเหนื่อยหอบ หายใจถี่สั้น และมีอาการไอร่วมด้วย สาเหตุของ ถุงลมโป่งพอง โรคถุงลมโป่งพอง เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การสูบบุหรี่ แม้ว่าโดยทั่วไป โรคถุงลมโป่งพอง มักจะมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ หรือสูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นเวลานาน แต่แพทย์ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเหตุใดการสูบบุหรี่จึงทำให้เป็นโรคถุงลมโป่งพอง แต่เป็นไปได้ว่าสารเคมีและสารพิษในบุหรี่มีส่วนในการทำลายปอด ผนังปอด ถุงลม รวมถึงผนังของถุงลมด้วย อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่เป็นที่ชัดเจนในแง่ที่ว่าบุหรี่ทำให้เป็นถุงลมโป่งพองได้อย่างไร แต่ผลการวิจัยและผลการศึกษาจากหลายสถาบันพบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นถุงลมโป่งพองมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ สูงถึง 6 เท่าเลยทีเดียว ภาวะขาดแคลนAAT เอเอที (AAT) หรือ Alpha-1 antitrypsin เป็นโปรตีนธรรมชาติที่อยู่ในเลือดของเรา […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน