backup og meta

5 พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 01/06/2021

    5 พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง

    คนส่วนใหญ่มักคิดว่า โรคถุงลมโป่งพอง มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ เพียงอย่างเดียว แต่แท้จริงแล้ว ยังมีอีกหลาย พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาดูกันว่า โรคถุงลมโป่งพองเกิดจากสาเหตุและปัจจัยใดบ้าง เราจะได้ป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี

    ถุงลมโป่งพอง (Emphysema) คืออะไร

    ถุงลมโป่งพอง (Emphysema) เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังชนิดหนึ่ง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease : COPD) เกิดจากการอักเสบบริเวณถุงลมปอด  ผนังด้านในถุงลมจึงอ่อนตัวและแตกออกกลายเป็นถุงลมขนาดใหญ่แทนที่จะเป็นถุงลมขนาดเล็ก ๆ จำนวนมาก ทำให้ปอดแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายได้น้อยลง หรือมีปริมาณออกซิเจนค้างอยู่ในปอดมากกว่าปกติ 

    อย่างไรก็ตาม โรคถุงลมโป่งพองมักพบในเพศชายที่มีอายุระหว่าง 40-60 ปี ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก หายใจถี่ และอาการไอ เป็นต้น 

    5 พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง 

    พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง มีดังต่อไปนี้

    • สูบบุหรี่  บุหรี่เป็นสาเหตุหลักของโรคถุงลมโป่งพอง
    • อายุ โดยส่วนใหญ๋มักพบในเพศชายที่มีอายุระหว่าง 40-60 ปี 
    • การสัมผัสกับควันบุหรี่ การสัมผัสหรือสูดดมควันบุหรี่ (โดยที่ไม่สูบบุหรี่เอง) อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคถุงลมโป่งพอง
    • สูดดมควันและฝุ่นละออง  หากเราหายใจเอาควันและฝุ่นละออง  เช่น ฝุ่นละอองจากเมล็ดฝ้าย หรือสารเคมีในเหมืองแร่ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพองได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป
    • การสัมผัสกับมลภาวะในที่ร่มและกลางแจ้ง การหายใจเอามลพิษ เช่น ควันจากเชื้อเพลิง ควันจากท่อไอเสียรถ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง

    สัญญาณเตือนโรคถุงลมโป่งพอง

       โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมีอาการไอ และหายใจหอบ หัวใจเต้นเร็ว  รวมถึงอาการอื่น ๆ ที่พบได้บ่อย มีดังต่อไปนี้

    • แน่นหน้าอก
    • มีน้ำมูกมากกว่าปกติ
    • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
    • หายใจติดขัด หายใจไม่ค่อยออก

    ปรึกษาคุณหมอ

    โรคถุงลมโป่งพองไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้  ดังนั้นคุณหมอจะเน้นวิธีการรักษาทางการแพทย์ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อชะลออาการและลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    รักษาทางการแพทย์

    • ยาขยายหลอดลม (Bronchodilators) เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อรอบ ๆ บริเวณทางเดินหายใจ
    • วัคซีน ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และป้องกันโรคนิวโมคอคคัส เนื่องจากผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวนี้
    • ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย
    • การบำบัดด้วยออกซิเจน ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะรุนแรงมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ อาจต้องได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนเสริม เพื่อให้หายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น
    • การผ่าตัด ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก ไม่สามารถรักษาด้วยการใช้ยาได้ คุณหมอจะแนะนำให้ทำการผ่าตัดเพื่อเอาเนื้อเยื่อปอดที่เสียหายออก

    การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
    • หลีกเลี่ยงควันบุหรี่
    • สวมหน้ากากเพื่อป้องกันควัน ฝุ่นละออง และสารเคมี 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 01/06/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา