โรคทางเดินหายใจ

ระบบทางเดินหายใจ มีส่วนสำคัญในการทำงานตามปกติของร่างกาย ดังนั้น คุณจึงควรเรียนรู้วิธีการรักษาสุขภาพของระบบทางเดินหายใจของคุณให้แข็งแรง ห่างไกลจากความเจ็บป่วย เรียนรู้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมถึง โรคทางเดินหายใจ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคทางเดินหายใจ

ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยดูแลสุขภาพตนเอง

ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยการดูแลสุขภาพตนเอง วันนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคไข้หวัดให้มากขึ้นกัน เพื่อที่จะได้ดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี โดยแบ่งคำถาม-คำตอบ เป็นข้อ ๆ เพื่อให้เข้าใจง่าย ดังนี้ [embed-health-tool-bmi] ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยดูแลสุขภาพตนเอง ถึงแม้ว่าไข้หวัดจะเป็นโรคที่พบได้บ่อย แต่เชื่อว่าหลายคนมักมีความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับไข้หวัด ซึ่งอาจส่งผลให้เราละเลยการดูแลสุขภาพของตนเอง หรือดูแลสุขภาพได้ไม่ถูกวิธี วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคไข้หวัดให้มากขึ้น ด้วยการนำ 4 คำถามที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับโรคไข้หวัด มาฝากกันค่ะ ไข้หวัดเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในโลก จริงหรือไม่ จริง ไข้หวัดเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อย จากสถิติพบว่าผู้ใหญ่อาจป่วยเป็นไข้หวัดประมาณ 2-3 ครั้ง/ปี และในวันเด็กอาจป่วยมากกว่าวัยผู้ใหญ่มากขึ้นไปอีก โรคไข้หวัดเกิดจากไวรัส จริงหรือไม่ จริง โรคไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัสไรโนไวรัส (Rhinoviruses) รวมถึงไวรัสชนิดอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดหวัดอย่างไวรัสอะดีโน (Adenovirus) ไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) เป็นต้น ไข้หวัด รักษาให้หายขาดได้ จริงหรือไม่ ไม่จริง แต่เราสามารถเยียวยาเพื่อบรรเทาอาการได้ เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ รับประทานยาแก้ปวด วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไข้หวัด […]

หมวดหมู่ โรคทางเดินหายใจ เพิ่มเติม

สำรวจ โรคทางเดินหายใจ

โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

ทางเลือกการรักษา โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่ช่วยให้คุณสู้โรคเรื้อรังนี้ได้ดีขึ้น

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถือเป็นเป็นโรคเรื้อรัง การรักษาจึงมักจะเกี่ยวข้องกับการควบคุมอาการไม่ให้อาการแย่ลง การรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ดี สามารถช่วยให้คุณแข็งแรงขึ้น และปรับปรุงสุขภาพโดยรวมของคุณให้ดีขึ้น รวมถึงช่วยป้องกันและรักษาอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ทางเลือกการรักษา โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่เหมาะสม มีอยู่ 4 วิธีหลักๆ ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค ได้แก่ การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพปอด การรักษาด้วยยา และสุดท้ายคือการผ่าตัด Hello คุณหมอได้รวบรวมข้อมูลมาให้อ่านกันแล้วค่ะ การรักษา โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ด้วยการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ สำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในระดับเบา แพทย์ส่วนใหญ่มักจะแนะนำให้คุณปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคุณ แม้แต่อาการในระดับปานกลางหรือรุนแรง คุณก็ยังจำเป็นต้องปรับไลฟ์สไตล์ของคุณด้วยเช่นกัน สิ่งที่ควรเปลี่ยนเป็นอย่างแรก ก็คือ การเลิกสูบบุหรี่ หากคุณยังไม่เคยสูบบุหรี่ ก็อย่าเริ่มสูบบุหรี่เลย พยายามหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ และสิ่งระคายเคืองในอากาศ เช่น ฝุ่น ควันและสารพิษอื่นๆ อากาศที่คุณหายใจเข้าไปควรจะสะอาด และไม่มีตัวที่จะกระตุ้นโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง คุณสามารถเรียนรู้วิธีการทำให้บ้านของคุณ เป็นมิตรต่อผู้ที่เป็นโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังได้ สิ่งที่ควรเปลี่ยนอย่างที่สอง คือ การออกกำลังกายของคุณ เนื่องจากการที่คุณไม่สามารถควบคุมการหายใจของคุณได้ดีนัก เพราะโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แพทย์จะบอกให้คุณหลีกเลี่ยงการอออกกำลังกาย หรือจำกัดการออกกำลังกาย จริงอยู่ที่คุณควรจำกัดปริมาณการออกกำลังกาย แต่คุณไม่ควรที่จะงดออกกำลังกายไปเลย การออกกำลังกายสามารถช่วยทำให้กระบังลมแข็งแรงขึ้นได้ และควรปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม สิ่งที่ควรเปลี่ยนอย่างที่สาม คือ อาหารของคุณ คุณอาจจะรู้สึกกลืนอาหารได้ลำบากขึ้น หรืออาการเหนื่อยล้า อาจทำให้คุณรู้สึกการรับประทานอาหารทำได้ยาก คุณสามารถรับสารอาหารที่จำเป็นได้ ด้วยการรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆ […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ไอเพราะอากาศเปลี่ยน ลองใช้ วิธีแก้ไอด้วยตัวเอง ง่ายๆ พวกนี้ดูสิ

เมื่ออากาศเย็นเริ่มโชยมา ความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความชื้นในอากาศที่ลดลง อาจทำให้เป็นหวัดหรือเกิดอาการไอได้ โดยปกติอาการไอจากหวัดมักจะหายไปภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากมีอาการไอเรื้อรังนานเกิน 2 สัปดาห์ควรปรึกษาแพทย์ แต่หากอาการไอไม่รุนแรง คุณสามารถใช้ วิธีแก้ไอด้วยตัวเอง ง่ายๆ เหล่านี้ ในการบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ [embed-health-tool-bmr] ทำไมเราถึงไอ และไอแบบไหนที่น่าห่วง การไอ คือวิธีการตอบสนองของร่างกาย เมื่อมีสิ่งที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองในลำคอ โดยอาการระคายเคืองจะกระตุ้นเส้นประสาทให้ส่งสัญญาณไปยังสมอง จากนั้น สมองจะทำให้กล้ามเนื้อในทรวงอกและหน้าท้องดันอากาศออกมาจากปอด เพื่อดันสิ่งที่ทำให้ระคายเคืองออกไป การไอเป็นครั้งคราวอาจไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล แต่การไอต่อเนื่องยาวนานหลายสัปดาห์ หรือเสมหะเปลี่ยนสี และมีเลือดในเสมหะ อาจเป็นสัญญาณของโรคบางอย่าง จึงควรปรึกษาแพทย์ นอกจากนี้การไออย่างรุนแรง และไอเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า และเป็นสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ภาวะอั้นปัสสาวะไม่อยู่ และอาจรุนแรงจึงถึงทำให้ซี่โครงหักได้ โดยปกติแล้วอาการไอที่เกิดจากไข้หวัดจะหายไปภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่สำหรับอาการไอเรื้อรังอาจเกิดจากโรคบางโรค เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหืด และโรคกรดไหลย้อน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการไอต่อไป นอกจากนี้ หากมีอาการไอนานเกิน 2 สัปดาห์ และมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย ควรไปพบคุณหมอทันที อาการหนาวสั่น ภาวะขาดน้ำ ไข้สูงกว่า 101 องศาฟาเรนไฮต์ (38 องศาเซลเซียส) รู้สึกไม่สบาย […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

สิ่งกระตุ้นอาการปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่คุณควรรู้ไว้ จะได้หลีกเลี่ยงทัน

เมื่อคุณเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease: COPD) มีบางสิ่งที่ทำให้อาการของคุณแย่ลงได้ สิ่งเหล่านี้เรียกว่า สิ่งกระตุ้นอาการปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ป่วยมักมีสิ่งกระตุ้นแตกต่างกัน สาเหตุของอาการในผู้ป่วยรายหนึ่ง อาจไม่ใช่ปัญหาของผู้ป่วยอีกรายหนึ่ง ฉะนั้น คุณจึงควรทำความเข้าใจให้ดีว่า สิ่งกระตุ้นสำหรับคุณคืออะไร และมีผลกระทบต่อคุณได้อย่างไร เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเหล่านั้น สิ่งกระตุ้นอาการปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีอะไรบ้าง โดยปกติแล้ว สิ่งกระตุ้นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่ ควันบุหรี่ หรือมลภาวะทางอากาศ อาการป่วย เช่น อาการหวัด หรือปอดบวม ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด หรือสารเคมีอื่นๆ ก๊าซ อนุภาค หรือควันจากไม้ หรือเครื่องทำความร้อนในบ้าน สิ่งกระตุ้นเหล่านี้ทำให้ปอดทำงานหนักขึ้น เนื่องจากเป็นสาเหตุให้เกิดอาการหายใจลำบาก และอาการอื่นๆ เมื่อคุณอยู่ในบริเวณที่มีสิ่งกระตุ้น ก็มีแนวโน้มว่า โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะแสดงอาการมากขึ้น และหากมีอาการรุนแรง คุณอาจต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน หรือต้องรีบไปพบโรงพยาบาลทันที หากคุณทราบว่า สิ่งกระตุ้นอาการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังของคุณคืออะไร และสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเหล่านั้นได้ ก็จะช่วยลดการกำเริบ และผลกระทบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ สิ่งสำคัญก็คือ คุณควรตื่นตัวอยู่เสมอ และรับประทานยาทุกวันตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดด้วย เราสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นได้อย่างไรบ้าง สิ่งแรกก็ คือ คุณต้องรู้ก่อนว่าสิ่งกระตุ้นอาการปอดอุดกั้นเรื้อรังของคุณคืออะไร เมื่อคุณมีอาการ ให้จดบันทึกสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวคุณ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการดังกล่าว แล้วพิจารณาถึงรูปแบบของการกระตุ้นที่เกิดขึ้น เมื่อคุณได้รายการของสิ่งกระตุ้นที่เป็นไปได้แล้ว ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นดังกล่าว ต่อไปนี้เป็น แนวทางในการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ห้ามสูบบุหรี่ หรือไม่ให้ผู้อื่นสูบบุหรี่ใกล้คุณ หากคุณต้องการความช่วยเหลือในการเลิกสูบบุหรี่ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโปรแกรมการเลิกบุหรี่และยาที่ใช้ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ หากมีมลภาวะ […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน (Acute Bronchiolitis)

หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่พบได้บ่อย ซึ่งเป็นอาการอักเสบของท่อหายใจที่เล็กที่สุดในปอดเรียกว่าหลอดลมฝอย คำจำกัดความหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน คืออะไร หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน (Bronchiolitis) คือการติดเชื้อในปอดชนิดหนึ่ง ที่พบได้มากในทารกและเด็กเล็ก โรคหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน จะทำให้เกิดอาการอักเสบ และอาการอุดตันในทางเดินหายใจขนาดเล็กที่อยู่ในปอด เช่น หลอดลมฝอย โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน พบบ่อยแค่ไหน หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลันนั้นมักจะเกิดกับเด็กเล็กและทารก และพบได้มากในช่วงฤดูหนาว โรคนี้สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ โรคหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน ในช่วงแรก ๆ อาการของ โรคหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน อาจจะคล้ายคลึงกับโรคหวัด เช่น น้ำมูกไหล คัดจมูก ไอ มีไข้ หลังจากนั้น อาจจะเริ่มมีอาการหายใจไม่ออก หายใจลำบาก หรือหายใจออกแล้วมีเสียงดังวี้ด ๆ นอกจากนี้ ทารกส่วนใหญ่ก็มักจะมีอาการติดเชื้อในหูชั้นกลางอีกด้วย ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด เมื่อไหร่ที่ลูกของคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการกิน การดื่ม และการหายใจ ก็ควรพาเด็กไปพบหมอเพื่อทำการตรวจ โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 สัปดาห์ หรือเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ในการเกิด โรคหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน เช่น เด็กที่คลอดก่อนกำหนด หรือเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจหรือปอด หากเด็กมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที หายใจแล้วมีเสียงวี้ด ๆ หายใจหอบ หายใจตื้น หรือหายใจเร็วถี่ ๆ ไม่ยอมดื่มนมหรือดื่มน้ำ หรือมีอาการหายใจเร็วเกินไปจนไม่สามารถกินหรือดื่มได้ ผิวหนังเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงคล้ำ โดยเฉพาะในบริเวณนิ้วมือและริมฝีปาก สาเหตุสาเหตุของหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน โรคหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในบริเวณหลอดลมฝอย ที่เป็นทางเดินหายใจขนาดเล็กที่สุดในปอด การติดเชื้อนี้จะทำให้หลอดลมฝอยมีอาการบวมและอักเสบ จนทำให้เกิดการสะสมของเสมหะ ทำให้หายใจลำบาก โรคหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน สามารถเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อทั่วไป รวมไปถึงไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัด […]


โรคหลอดลมโป่งพอง

หลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis)

หลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis) เป็นภาวะที่หลอดลมบริเวณปอดถูกทำลายอย่างถาวร และขยายตัวขึ้นอย่างผิดปกติ ทำให้เชื้อแบคทีเรียและเยื่อมูก มีโอกาสสะสมในปอด และเกิดการติดเชื้อและการอุดตันในระบบทางเดินหายใจ คำจำกัดความหลอดลมโป่งพอง คืออะไร หลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis) เป็นภาวะที่หลอดลมบริเวณปอดถูกทำลายอย่างถาวร และขยายตัวขึ้นอย่างผิดปกติ ทางเดินหายใจที่ถูกทำลายนี้ ทำให้เชื้อแบคทีเรียและเยื่อมูก มีโอกาสสะสมในปอด สุดท้าย เมื่อแบคทีเรียและเยื่อมูกผ่านกลไกการป้องกันของปอด จะเกิดการติดเชื้อและการอุดตันในระบบทางเดินหายใจ โรคหลอดลมโป่งพองเกิดขึ้น เมื่อผนังของหลอดลมหนาขึ้นจากการอักเสบเรื้อรัง และ/หรือการสะสมของเยื่อมูก โรคหลอดลมโป่งพองไม่สามารถรักษาได้ แต่ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติ หากเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม อาการกำเริบต้องเข้ารับการรักษาโดยด่วน เพื่อไม่ให้ส่วนอื่นๆ ของร่างกายสูญเสียออกซิเจน โรคหลอดลมโป่งพองพบบ่อยแค่ไหน ในประเทศอังกฤษ ประมาณ 2-3 คนจาก 1,000 คน เป็นโรคหลอดลมโป่งพอง ในความเป็นจริง อาจมีจำนวนมากกว่า เนื่องจากมีแนวคิดว่าผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับปอดเป็นระยะเวลานาน อาจจะเป็นโรคหลอดลมโป่งพองด้วยเช่นกัน อัตราการเกิดโรคหลอดลมโป่งพองมีในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย แม้แต่วัยเด็ก แต่มักจะพบบ่อยในกลุ่มผู้ใหญ่ ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของโรคหลอดลมโป่งพอง อาการของโรคหลอดลมโป่งพองที่พบบ่อย ได้แก่ ไอมีเสมหะเหลืองหรือเขียวปนทุกวัน หายใจสั้นและมีอาการแย่ลงระหว่างการกำเริบของโรค รู้สึกเหนื่อยหรือหมดแรง โดยเฉพาะในช่วงที่อาการกำเริบ มีไข้ และ/หรือ หนาวสั่น มักเกิดขึ้นระหว่างการกำเริบของโรค มีเสียงหวีดหรือเสียงลมขณะหายใจ ไอเป็นเลือดหรือมีมูกปนกับเลือด ซึ่งอาการนี้เรียกว่า ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก รอยเขียวบริเวณผิวหนัง น้ำหนักลด อ่อนเพลีย หนังใต้เล็บมือเล็บเท้าหนาขึ้น อาจมีอาการอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีความกังวลเรื่องอาการของโรคโปรดปรึกษาแพทย์ ควรพบหมอเมื่อไร หากคุณสังเกตสัญญาณหรือมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละคนแสดงอาการได้แตกต่างกัน วิธีที่ดีสุดคือการเข้าพบหมอ สาเหตุสาเหตุของโรคหลอดลมโป่งพอง การติดเชื้อที่ปอด เป็นสาเหตุของโรคหลอดลมโป่งพองที่พบบ่อยที่สุด รวมถึงการติดเชื้อไวรัส เช่น […]


โรคปอดบวม

โรคปอดบวม กับความเข้าใจผิด ที่หลายคนอาจไม่รู้

โรคปอดบวม หรือนิวมอเนีย (Pneumonia) เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิตในเด็กทั่วโลก ยิ่งไปกว่านั้น ในปัจจุบันยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจชนิดนี้เป็นอย่างมาก บทความนี้จะนำเสนออันตรายของความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรค ปอดบวม เพื่อให้ผู้อ่านตื่นตัวเกี่ยวกับโรคที่เป็นอันตรายต่อชีวิตโรคนี้มากขึ้น ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โรคปอดบวม ปอดบวม เป็นเพียงหนึ่งในอาการทั่วไปของอาการหวัด จริง ๆ แล้ว โรคปอดบวม เป็นการติดเชื้อที่ปอดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอาการเริ่มต้นคล้ายกับอาการหวัดธรรมดา เช่น น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ จาม หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา สามารถทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตได้ ผลจากการศึกษาระบุว่า ในแต่ละปีทั่วโลก โรคปอดบวมคร่าชีวิตประชากรวัยผู้ใหญ่มากกว่าห้าหมื่นคน และเด็กมากกว่า 1 ล้านคน คนที่อยู่ในภูมิอากาศหนาวเย็นเท่านั้นที่จะเป็นโรคปอดบวม ยังไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ว่า คนที่อยู่ในเขตร้อนชื้น จะมีความเสี่ยงการเกิดโรคปอดบวมน้อยกว่าผู้ที่อยู่ในเขตหนาวหรือไม่ จริงอยู่ที่ว่า ในประเทศเมืองหนาว ผู้คนมักจะอยู่ในบ้านมากกว่าออกไปข้างนอกในช่วงฤดูหนาว และการที่ผู้คนจำนวนมากรวมกันอยู่ภายในห้องเดียวกัน ก็ถือเป็นสภาพแวดล้อมชั้นดี ที่ช่วยให้เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคปอดบวมเจริญเติบโต และส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย สิ่งนี้จึงอธิบายว่า เหตุใดอัตราการเกิด ปอดบวม ในช่วงฤดูหนาวจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ความจริงแล้ว สภาพภูมิอากาศในเขตร้อนชื้น ถือเป็นสภาพแวดล้อมสุดโปรดปรานของเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคปอดบวม นอกจากนี้ ความหนาแน่นของประชากร มลภาวะในสิ่งแวดล้อม และโภชนาการที่ไม่ดีในเขตประเทศร้อนชื้น ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคปอดบวมเพิ่มขึ้นด้วย คนที่สุขภาพแข็งแรงจะไม่เป็น […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคร้ายที่คุณอาจไม่รู้ตัวเลยก็ได้ว่าเป็นอยู่!

อาการของ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease: COPD) มีความหลากหลาย โดยขึ้นอยู่กับความเสียหายที่พบในปอด อาการมักจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี คุณอาจไม่รู้ตัวว่าคุณเป็นโรคนี้ จนกว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว ดังนั้น จึงควรระมัดระวังและสังเกตตนเอง เพื่อการป้องกันตัวให้ห่างไกลจากปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างถูกต้อง วันนี้  Hello คุณหมอ จะพาไปทำความรู้จักโณคปวดอุดกั้นเรื้อรังให้มากกว่าที่เคย อาการของ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่พบได้ทั่วไป ไอเรื้อรัง การไอเป็นวิธีที่ร่างกายทำความสะอาดทางเดินหายใจ เมือกในปอด สิ่งระคายเคืองอื่นๆ และสารคัดหลั่งต่างๆ โดยปกติแล้วถ้าไม่ได้เป็นโรคเกี่ยวกับปอด เมือกจะเป็นสีใส อย่างไรก็ดี ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เมือกอาจเป็นสีเหลือง บ่อยครั้งที่อาการไออาจรุนแรงมากในตอนเช้า คุณอาจไอมากขึ้นเมื่อออกกำลังกายหรือสูบบุหรี่ อาจมีอาการไอได้ทุกวัน ถึงแม้ว่าไม่มีอาการของโรคอื่นๆ เช่น อาการหวัดหรือไข้ หายใจมีเสียง เมื่อหายใจออก และลมหายใจออกมาผ่านทางทางเดินหายใจที่แคบหรือถูกปิดกั้น คุณมักจะได้ยินเสียงลมหายใจ สิ่งนี้เรียกว่าการหายใจมีเสียง ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อาการไอมักมีสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด จากเมือกปริมาณมากที่ปิดกั้นทางเดินหายใจ อย่างไรก็ตาม การหายใจมีเสียงไม่ได้หมายความว่า คุณเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเสมอไป การหายใจมีเสียงเป็นอาการของโรคหอบหืดและโรคปอดบวมได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นควรสังเกตตนเองและปรึกษาแพทย์ หากมีอาการเป็นเวลานาน ดูท่าทางไม่ทุเลาลง หายใจลำบาก (Dyspnea) เมื่อทางเดินหายใจที่ปอดของคุณมีอาการติดเชื้อ เสียหาย และเริ่มตีบตัน คุณอาจรู้สึกหายใจหรือสูดลมหายใจลำบาก อาการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังดังกล่าวนี้สังเกตได้ในระหว่างการออกกำลังกายที่หนักขึ้น โรคนี้อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเดิน ทำงานบ้าน […]


โรคหอบหืด

เป็นหอบหืด ส่งผลกระทบอย่างไรบ้างต่อเรื่องบนเตียงของคุณ

ยอมรับกันเถอะว่า เซ็กส์เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของชีวิต และถ้าหากคุณ เป็นหอบหืด คุณก็อาจสงสัยว่า สุขภาพและอาการของคุณจะทำลายชีวิตทางเพศของคุณได้หรือเปล่า ถ้าเป็นเช่นนั้น Hello คุณหมอ มีบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งเราได้รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาให้อ่านกัน เป็นหอบหืด ส่งผลต่อปัญหาทางเพศได้หรือไม่  โรคหอบหืดเป็นโรคที่ส่งผลต่อปอด เพราะช่องทางเดินอากาศจะแคบและบวม ทำให้เป็นการยากที่จะหายใจได้ตามปกติ เมื่อคุณเป็นโรคหอบหืด คุณอาจจะเกิดอาการหายใจต่างๆ ได้แก่ มีเสียงวี้ดขณะหายใจ ไอ แน่นหน้าอก หรือหายใจลำบาก เป็นหอบหืด สามารถส่งผลต่อกิจกรรมทางเพศของคุณได้ เช่น คุณอาจเริ่มหายใจเสียงดังหรือมีเสียงหวีด ขณะมีเพศสัมพันธ์ คุณอาจรู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก เพราะอากาศไม่สามารถระบายออกจากปอดได้ดีพอ ส่งผลให้คุณต้องหยุดกิจกรรมทางเพศเพื่อกินยาหรือพ่นยา คุณอาจจะไม่สามารถทำออรัลเซ็กส์ได้ เนื่องจากปัญหาทางการหายใจ และคุณอาจเกิดอาการแพ้หรือเกิดปฏิกิริยาต่อน้ำอสุจิหรือถุงยางอนามัยได้ อาการของโรคอาจะกำเริบขณะร่วมเพศ เนื่องจาก อารณ์ที่ขึ้น ๆ ลง ๆ นำไปสู่การผลิตแมสต์เซลล์ (Mast Cells) และเบโซฟิล (Basophils) ที่เป็นปัจจัยกระตุ้นอาการของโรค คู่ของคุณอาจประสบปัญหาทางอารมณ์ ความอาย ความกังวล ความเครียด และความกลัวที่จะเป็นภาระอาจเกิดขึ้นได้ คุณอาจรู้สึกว่าคู่ของคุณหมดรักคุณ และคู่ของคุณอาจรู้สึกไร้ประโยชน์ เพราะไม่สามารถช่วยคุณได้ ปัจจัยเหล่านี้ อาจทำลายความสัมพันธ์ของคุณได้ ซึ่งควรที่จะสังเกตตนเอง เพื่อการดูแลอย่างถูกต้อง และปรึกษาคุณหมอเพื่อการตรวจรักษาอย่างทันที พูดคุยกับคู่ของคุณเกี่ยวกับโรคหอบหืด เมื่อคุณเริ่มความสัมพันธ์ครั้งใหม่ คุณควรบอกกับคู่ของคุณ […]


โรคหอบหืด

หอบหืดเรื้อรัง รักษาได้ด้วยยาและวิธีการใดบ้าง

โรคหอบ (Bronchial asthma) หรือหอบหืด เป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเพิ่มการตอบสนองของหลอดลมต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ทำให้เกิดหดเกร็ง ขยายตัว สารคัดหลั่งบริเวณหลอดลมเพิ่มขึ้น และปิดกั้นทางเดินอากาศ เมื่อเป็น หอบหืดเรื้อรัง แล้วมีวิธีการในการรักษาโรคอย่างไรบ้าง Hello คุณมีบทความดี ๆ เกี่ยวกับหอบหืดเรื้อรัง มาให้อ่านกันค่ะ การใช้ยาสำหรับ หอบหืดเรื้อรัง มียาหลายชนิดที่ใช้ในการรักษาอาการหอบหืดที่ไม่รุนแรง แต่ไม่สามารถรักษาอาการที่รุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนวทางจากสมาพันธ์โรคระบบทางเดินหายใจยุโรป (ERS) และสมาพันธ์โรคทรวงอกอเมริกัน (ATS) นำเสนอวิธีการรักษาและประสิทธิภาพในการรักษาโรคหอบหืดขั้นรุนแรงที่หลากหลาย โดยสรุปตามหัวข้อด้านล่าง แพทย์ควรพูดคุยกับผู้ป่วยแต่ละคนถึงวิธีการรักษา รวมถึงข้อดีและข้อเสียเพื่อหาข้อสรุปในการรักษาที่ดีที่สุด คอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เป็นหนึ่งในกลุ่มยาที่ใช้รักษาอาการของ โรคหอบ อาการหอบหืดขั้นรุนแรง หมายถึง อาการที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในขนาดปกติ แต่ไม่ได้หมายความว่ายาชนิดนี้ใช้ไม่ได้ผล เป็นเพียงความต้องการขนาดยาที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อรักษาอาการของผู้ป่วยขั้นรุนแรงเท่านั้น เมื่อผู้ป่วยพ่นยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เข้าไป ยาจะเข้าไปทางปอดโดยตรง เพื่อบรรเทาการอักเสบและอาการบวม การใช้ยานี้เป็นประจำในกลุ่มผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง สามารถช่วยป้องกันการกำเริบของอาการหอบหืดได้ อาจมีความจำเป็นต้องเพิ่มขนาดการใช้ยาเพื่อรักษาอาการที่รุนแรง งานวิจัยอีกหนึ่งชิ้นเผยว่า อาจสามารถเพิ่มขนาดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ได้ถึง 4 เท่าจากขนาดปกติ เพื่อใช้รักษาอาการหอบหืดของผู้ป่วย ตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนถึงปานกลาง อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ไม่สามารถใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และใช้ยาในปริมาณมากเป็นปกติอยู่แล้ว ยาขยายหลอดลมแบบรักษาอาการเฉียบพลันและระยะยาว ยาขยายหลอดลม (bronchodilators) รักษาอาการเฉียบพลันหรือระยะยาวทำให้กล้ามเนื้อในหลอดลมคลายตัว เพื่อขยายช่องทางเดินหายใจ การผสมกลุ่มยาที่มีระยะเวลาในการออกฤทธิ์นาน (LABA) […]


โรคหอบหืด

ปัจจัยเสี่ยง กระตุ้นอาการหอบหืด ที่คุณควรรู้จักไว้

โรคหอบหืดเป็นโรคเกี่ยวกับอาการอักเสบเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจ เมื่อระบบทางเดินหายใจเกิดการอักเสบ จะเกิดอาการบวม และนำไปสู่การหดเกร็ง เมื่อมีสิ่งกระตุ้น (สารที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้) ให้ผู้ป่วยเกิดอาการต่างๆ เช่น ไอ เจ็บหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด และหายใจลำบาก มาทำความรู้จักกับ ปัจจัยเสี่ยง ที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ หอบหืด จากบทความนี้ ปัจจัยเสี่ยง ที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ หอบหืด เชื้อไวรัสเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ การสูดดมกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ควันบุหรี่ เขม่าควัน สารก่อภูมิแพ้ต่างๆ เช่น ละอองเกสร ขนสัตว์ ฝุ่นในอากาศ การออกแรงที่มากเกินไป การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ อากาศเย็น สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดในการกระตุ้นอาการหอบหืดทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ก็คือ อากาศที่เปลี่ยนจากร้อนไปเย็น จนทำให้กล่าวกันว่า ผู้ป่วยโรคหอบหืด ถือเป็น “เครื่องพยากรณ์สภาพอากาศ” ได้เป็นอย่างดี ปัจจัยเสี่ยงต่ออาการหอบหืดในเด็ก อายุ ร้อยละ 80-90 ของเด็กที่ป่วยโรคหอบหืด มักแสดงอาการก่อนอายุ 5 ขวบ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นอาการโรคหืดจะทุเลาหรือหายได้ เพศ อาการของโรคในเพศหญิงและเพศชายแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ ก่อนเข้าสู่วัยรุ่น อาการหอบหืดมักเกิดในเด็กผู้ชาย ส่วนช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ การเกิดอาการหอบหืดสามารถเกิดขึ้นในกับทั้งสองเพศในอัตราที่เท่ากัน ประวัติทางครอบครัว อาการหอบหืดในพ่อแม่ถือเป็นข้อมูลสำคัญ ในการวินิจฉัยโรคหอบหืดในเด็ก ในกรณีที่พ่อหรือแม่มีประวัติเป็นโรคหอบหืด ความเสี่ยงที่เด็กจะเกิดอาการอยู่ที่ร้อยละ 25-30 หากทั้งพ่อและแม่มีประวัติ ความเสี่ยงในการเกิดโรคในเด็กอยู่ที่ร้อยละ 50 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน