backup og meta

อาการแพ้แดด อันตรายจากแสงอาทิตย์ที่ใครหลายคนควรระวัง

อาการแพ้แดด อันตรายจากแสงอาทิตย์ที่ใครหลายคนควรระวัง

เข้าหน้าร้อนแบบนี้ แสงแดดก็ยิ่งแผดแสงแรงจ้าทำให้ร้อนจนแทบจะทนไม่ไหว แต่ไม่ใช่แค่อากาศเท่านั้นที่ร้อน เพราะยังมีอาการทางสุขภาพที่เกิดขึ้นจากแสงดวงอาทิตย์ที่ทำให้ร้อนใจยิ่งกว่า เพราะคุณอาจจะมี อาการแพ้แดด ในช่วงหน้าร้อนนี้ แต่อาการ แพ้แดด เป็นอย่างไร ตามไปดูกันในบทความของ Hello คุณหมอ กันเลยดีกว่า

แพ้แดด คืออะไร

แพ้แดด (Sun allergy) เป็นอาการที่ระบบภูมิคุ้มกันเกิดปฏิกิริยาเมื่อแสงแดดส่องมากระทบกับผิวหนัง โดยจะทำให้ผิวหนังเกิดผื่นแดง แผลพุพอง และลมพิษ โดยอาการจะแสดงออกเพียงไม่นานหลังจากที่ได้รับแสงแดด

ปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้างที่ทำให้แพ้แดด

มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ส่งผลให้เกิดอาการ แพ้แดด ได้แก่

  • สภาพผิวหนัง ทุกคนสามารถที่จะเกิดอาการแพ้แดดได้ แต่โดยมากแล้วผู้ที่มีอาการแพ้แดดมักจะมีผิวขาว
  • แสงแดดกับสารเคมี บางคนมีอาการ แพ้แดด เนื่องจากผิวหนังได้รับสารบางอย่างก่อนที่จะสัมผัสกับแดด และสารดังกล่าวทำปฏิกิริยาเมื่อได้รับแสงแดด สารดังกล่าวอาจเป็นหนึ่งในสารประกอบของน้ำหอม ครีมกันแดด หรือสารทำความสะอาดฆ่าเชื้อต่าง ๆ 
  • ยารักษาโรค ยาสำหรับใช้ในการรักษาอาการทางสุขภาพบางชนิด มีส่วนทำให้ผิวหนังไวต่อแสงแดด อาจเกิดอาการผิวไหม้แดดได้หลังจากรับประทานยาเข้าไป ตัวยาดังกล่าว เช่น เตตราไซคลีน (Tetracycline) กลุ่มยาซัลฟา (Sulfa-based) ยาบรรเทาอาการปวด เช่น คีโตโปรเฟน (Ketoprofen)
  • มีปัญหาผิวหนังอยู่ก่อนแล้ว โรคผิวหนังชนิดต่าง ๆ ที่เป็นอยู่ มีส่วนที่ทำให้เกิดอาการ แพ้แดด

อาการแพ้แดด เป็นอย่างไร

ผิวหนังที่มีอาการ แพ้แดด จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับอาการแพ้โดยทั่วไปในบางประการ แต่ยังคงมีสัญญาณและอาการที่แตกต่างกันอยู่บ้าง ดังต่อไปนี้

โดยอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่นาน เพียงไม่กี่นาที หรือไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่ร่างกายได้สัมผัสกับแสงแดด

วิธีป้องกันอาการแพ้แดด

หากรู้ตัวว่ามีอาการ แพ้แดด สิ่งสำคัญคือการปกป้องผิวจากแสงอาทิตย์ ซึ่งสามารถดูแลสุขภาพผิวหนังได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • ระมัดระวังการสัมผัสแสงแดดในช่วงที่มีแดดแรง โดยเฉพาะช่วงระหว่าง 10 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่ป้องกันแสงแดด รวมถึงแว่นตากันแดด หรือหมวก
  • ทาครีมกันแดด เลือกที่มี SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป
  • โดยทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้านอย่างน้อย 15-30 นาที และควรจะทาครีมกันแดดทุก ๆ 2 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง

หากอาการ แพ้แดด เกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีต้นเหตุหลักมาจากแสงแดดกระทบกับผิว เช่น ยารักษาโรค สารเคมีในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว หรืออาการทางสุขภาพที่เป็นอยู่ ควรหลีกเลี่ยงการออกไปสัมผัสแสงแดด หากแสงแดดจะทำปฏิกิริยากับสภาวะที่เป็นอยู่ หรือหากจำเป็นต้องออกไปข้างนอก ควรปกป้องผิวจากแสงแดดให้มากที่สุดด้วยการสวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิดและพกพาอุปกรณ์กันแดดติดตัวไว้เสมอ

เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

ไปพบคุณหมอทันทีหากมีอาการ แพ้แดด หลังจากที่มีการสัมผัสกับแสงแดด และหากมีการปฐมพยาบาลในเบื้องต้นแล้วแต่ยังไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบคุณหมอโดยทันที

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Sun allergy. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sun-allergy/symptoms-causes/syc-20378077. Accessed on March 10, 2020.

Sun Allergy (Photosensitivity). https://www.health.harvard.edu/a_to_z/sun-allergy-photosensitivity-a-to-z. Accessed on March 10, 2020.

Sun Allergy. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17681-sun-allergy. Accessed on March 10, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/09/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาบแดด ประโยชน์และข้อควรระวัง

ผิวไหม้แดด กับวิธีฟื้นฟูผิวให้สุขภาพดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 24/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา