backup og meta

มะเร็งกระเพาะอาหารรักษาหายไหม รักษาอย่างได้บ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 15/06/2021

    มะเร็งกระเพาะอาหารรักษาหายไหม รักษาอย่างได้บ้าง

    โรคมะเร็งนั้นมีหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น สำหรับ โรคมะเร็งกระเพาะอาหารนั้น หลายคนอาจมีความสงสัยว่า มะเร็งกระเพาะอาหารรักษาหายไหม แล้ววิธีการรักษามะเร็งชนิดนี้มีอะไรบ้าง ลองไปศึกษาข้อมูลเบื้อต้นกับบทความนี้ของ Hello คุณหมอ กัน

    สถิติที่ควรรู้เกี่ยวกับ มะเร็งกระเพาะอาการรักษาหายไหม

    ในปี 2021 ประชากรประมาณ 26,560 คน (ผู้ชาย 16,160 คนและผู้หญิง 10,400 คน) ในสหรัฐอเมริกาจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และคาดว่าจะมีผู้เสียชีวิต 11,180 ราย (ผู้ชาย 6,740 คนและผู้หญิง 4,440 คน) โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่ มักเกิดกับผู้สูงอายุ ประมาณ 60% ของผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่า มีอายุมากกว่า 64 ปี อายุเฉลี่ยวินิจฉัยคือ 68 ปี

    อุบัติการณ์ของ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร แตกต่างกันไปในส่วนต่าง ๆ ของโลก ในสหรัฐอเมริกาอัตราการณ์ลดลง 1.5% ต่อปีในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งของการลดลงนี้อาจเกิดจากยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาการติดเชื้อ ยาเหล่านี้สามารถฆ่าเชื้อโรคเอชไพโลไร (H pylori) ได้ อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ยังคงเป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่พบบ่อยที่สุด และเป็นหนึ่งในสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งทั่วโลก

    อัตราการรอดชีวิต 5 ปี คือ สิ่งที่บอกคุณว่าเปอร์เซ็นต์ของผู้ที่มีชีวิตอยู่อย่างน้อย 5 ปีหลังจากตรวจพบมะเร็ง เปอร์เซ็นต์หมายถึง จำนวนใน 100 อัตราการรอดชีวิต 5 ปีสำหรับผู้ที่เป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร คือ 32% สถิตินี้แสดงให้เห็นถึงความจริงที่ว่า 62% ของผู้ที่เป็น โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้รับการวินิจฉัยหลังจากที่มะเร็งแพร่กระจายไปไกลกว่าตำแหน่งที่เริ่มแล้ว หากพบ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ก่อนที่จะแพร่กระจาย อัตราการรอดชีวิต 5 ปีโดยทั่วไปจะสูงขึ้น แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งที่พบในระหว่างการผ่าตัดด้วย

    หากมะเร็งได้รับการวินิจฉัยและรักษาก่อนที่จะแพร่กระจายไปนอกกระเพาะอาหาร อัตราการรอดชีวิต 5 ปี คือ 70% หากมะเร็งแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อ อวัยวะโดยรอบ หรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง (Regional Lymph Nodes) อัตราการรอดชีวิต 5 ปี คือ 32% หากทมะเร็งแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย อัตราการรอดชีวิต 5 ปี คือ 6%

    สิ่งที่สำคัญ คือ ต้องจำไว้ว่าสถิติเกี่ยวกับอัตราการรอดชีวิตของผู้ที่เป็น โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นค่าประมาณเท่านั้น การประมาณมาจากข้อมูลประจำปี โดยอิงจากจำนวนผู้ที่เป็นมะเร็งนี้ในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังวัดสถิติการรอดชีวิตทุก ๆ 5 ปี ดังนั้น การประมาณอาจไม่ได้แสดงผลการวิจัย หรือการรักษาที่ดีกว่าที่มีอยู่เป็นเวลาน้อยกว่า 5 ปี การพูดคุยกับคุณหมอของคุณหากคุณมีคำถามเกี่ยวกับข้อมูลนี้ และเรียนรู้เกี่ยวกับการทำความเข้าใจสถิติจะเป็นการดีที่สุด

    สำหรับสถิติที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ แปลงมาจากสิ่งพิมพ์ของ American Cancer Society (ACS), Cancer Facts & Figures 2021, เว็บไซต์ ACS และโครงการเฝ้าระวังระบาดวิทยาและผลลัพธ์สุดท้าย (SEER) ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ (แหล่งข้อมูลเข้าถึงเมื่อกุมภาพันธ์ 2021)

    คลายข้อสงสัย มะเร็งกระเพาะอาหารรักษาหายไหม

    หากคุณเป็น โรคมะเร็งกระเพาะอาหารระยะลุกลาม การรักษาอาจทำได้ยากมาก อาจไม่สามารถรักษามะเร็งได้ ในกรณีนี้ จุดมุ่งหมายในการรักษาของคุณ คือ เพื่อจำกัดมะเร็ง อาการของโรค และช่วยให้คุณมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น การค้นหาว่ามะเร็งไม่สามารถรักษาให้หายได้ อาจเป็นข่าวที่ยากมาก

    คุณจะได้รับการส่งต่อไปยังทีมแพทย์และพยาบาลพิเศษ ที่เรียกว่า “ทีมดูแลป่วยแบบประคับประคอง หรือทีมควบคุมอาการ” พวกเขาจะทำงานร่วมกับคุณ เพื่อช่วยขจัดกับอาการของคุณและทำให้คุณรู้สึกสบายขึ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาลทางคลินิกหรือทีมดูแลผู้ป่วยแบประคับประคอง สามารถช่วยให้คุณและคนที่คุณรักได้นับการสนับสนุนตามที่คุณต้องการ

    วิธีรักษา โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

    โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 4 รักษายากกว่ามะเร็งกระเพาะอาหารระยะก่อนหน้า นั่นเป็นเพราะมันไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในกระเพาะอาหารอีกต่อไป และอาจเกี่ยวข้องกับอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายหลายส่วน โดยปกติแล้วจะไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็ยังสามารถรักษาได้ ซึ่งเป้าหมายของการรักษา ก็คือ การบรรเทาอาการและควบคุมการเติบโตของมะเร็ง คุณหมอของคุณจะแนะนำวิธีรักกษาตามอายุและสุขภาพโดยรวมของคุณ รวมถึงสภาวะสุขภาพอื่น ๆ ที่คุณอาจมี ตัวเลือกของคุณขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของมะเร็งด้วย สำหรับวิธีรักษา โรคมะเร็งกระเพาะอาหารหลัก ๆ ได้แก่

    การรักษามะเร็งมักจะต้องใช้วิธีรักษาร่วมกัน แผนการรักษาของคุณสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามผลการรักษา แจ้งให้คุณหมอประจำตัวของคุณทราบหากคุณมีอาการใหม่ ๆ ระหว่างการรักษา เพื่อจะได้นำมาพิจารณาเกี่ยวกับวิธีรักษาได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 15/06/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา