backup og meta

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก อย่างถูกวิธี ดีต่อผู้ป่วย

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก อย่างถูกวิธี ดีต่อผู้ป่วย

เมื่อคนใกล้ชิดตรวจพบ โรคมะเร็งปากมดลูก การดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ตั้งแต่เรื่องพฤติกรรมการใช้ชีวิต อาหารที่รับประทานในแต่ละวัน การนัดหมายกับคุณหมอ การเข้ารับการตรวจและการรักษา หรือแม้กระทั่งการดูแลในเรื่องอื่น ๆ รวมถึงสภาพจิตใจของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกด้วย เพราะการดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก อย่างถูกต้อง ถือเป็นเรื่องที่ดี มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายและสภาพจิตใจได้ดีขึ้นนั่นเอง

[embed-health-tool-ovulation]

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ควรทำอย่างไร

การรักษา โรคมะเร็งปากมดลูก อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดผลข้างเคียง ที่ทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงตามมาได้ แต่ผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก ในแต่ละคนอาจจะมีผลข้างเคียงที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและวิธีการรักษา ในช่วงที่ทำการรักษา แน่นอนว่าผู้ป่วยหลาย ๆ คนอาจจะรู้สึกกลัว กังวลใจ หรือเกิดความเครียด จนไม่สามารถจัดการเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ดีเท่าที่ควร การมีคนคอยดูแล จัดการเรื่องต่าง ๆ ให้ถือเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจ และใช้ชีวิตง่ายขึ้น ไม่ต้องคอยกังวลในส่วนนี้ ซึ่งผู้ดูแลจำเป็นที่จะต้องดูแลในหลาย ๆ เรื่อง ดังนี้

การรับประทานอาหาร และน้ำหนักของผู้ป่วย

ผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก ที่เข้าทำการรักษา ไม่ว่าจะด้วยวิธีการทำเคมีบำบัดหรือการรักษาด้วยการฉายรังสี เป็นรูปแบบการรักษาที่อาจทำให้ผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก บางรายเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น การรับรสชาติของอาหารเปลี่ยนไป น้ำหนักเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นผู้ดูแลจึงจำเป็นต้องเลือกอาหารเหมาะสำหรับผู้ป่วย เช่น อาหารที่รับประทานได้ง่าย และมีสารครบถ้วน ตามที่ผู้ป่วยต้องการ เพื่อช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยมีการฟื้นตัวที่ดี ซึ่งสารอาหารที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก มีดังนี้

การออกกำลังกาย

อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า เป็นหนึ่งในผลข้างเคียงที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งผู้ป่วยบางรายก็เหนื่อยล้า เกินกว่าที่จะมีเรี่ยวแรงในการออกกำลังกาย แต่จริง ๆ แล้วการออกกำลังกาย เป็นวิธีที่ดี ที่มีส่วนช่วยฟื้นฟูร่างกายให้กับผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก ได้ นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังช่วยเพิ่มความอยากอาหาร ช่วยให้มีพลังงาน และที่สำคัญยังช่วยให้ผู้ป่วยได้คลายเครียดด้วย

การดูแลเรื่องสภาพจิตใจผู้ป่วย

เมื่อร่างกายเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเพราะ โรคมะเร็งปากมดลูก หรือโรคใด ๆ ก็ตาม ย่อมทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเครียด กังวล และทุกข์ใจ ในช่วงเวลานี้ถือว่าเป็นเรื่องยาก ที่ผู้ป่วยจะรู้สึกดีหรือว่ามีความคิดในแง่บวก การที่ผู้ดูแลช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นการรับฟังปัญหาโดยไม่ตัดสิน คอยอยู่เคียงข้างเสมอเมื่อเขาต้องการ หรือคอยปลอบใจในวันที่เขารู้สึกแย่ เพียงเท่าก็ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีได้ สำหรับผู้ป่วยบางคนอาจเกิดภาวะซึมเศร้าหรือความวิตกกังวลในช่วงที่ป่วยได้ หากผู้ป่วยไม่สามารถพูดคุยกับคนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดได้ ควรปรึกษาจิตแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อช่วยให้เขารู้สึกดีขึ้น

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ในเรื่องอื่น ๆ 

นอกจากการดูแลในเรื่องการรับประทานอาหาร พาผู้ป่วยออกกำลังกาย หรือดูแลด้านสภาพจิตใจแล้ว ผู้ดูแลยังจำเป็นที่จะต้องดูแลผู้ป่วยในด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น

  • นัดหมายกับคุณหมอ เพื่อทำการรักษา
  • พาไปพบคุณหมตามนัดหมาย
  • ปรึกษากับคุณหมอ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้น
  • จัดยาให้ในแต่ละมื้อ
  • ช่วยจัดการกับอาการและผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น
  • ช่วยจัดการเรื่องบ้าน รวมทั้งซื้อของใช้ต่าง ๆ
  • ช่วยบริหารจัดการเรื่องเงิน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Tips to Feel Better During Cervical Cancer Treatment. https://www.webmd.com/cancer/cervical-cancer/feel-better-tips-during-cervical-cancer-treatment. Accessed on 16 April, 2021.

Cervical Cancer: Coping with Treatment. https://www.cancer.net/cancer-types/cervical-cancer/coping-with-treatment. Accessed on 16 April, 2021.

Supportive care for cervical cancer. https://www.cancer.ca/en/cancer-information/cancer-type/cervical/supportive-care/?region=on. Accessed on 16 April, 2021.

Supportive Care Needs of Patients with Cervical Cancer in the Northeast of Thailand. https://wjst.wu.ac.th/index.php/wjst/article/view/9512. Accessed on 16 April, 2021.

Cervical Cancer Treatment. https://www.cancer.gov/types/cervical/treatment. Accessed March 27, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/03/2023

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

การรักษา มะเร็งปากมดลูกส่งผลต่อการตั้งครรภ์ อย่างไรบ้าง มาดูกันเลย

สัญญาณมะเร็งปากมดลูก สาว ๆ อย่าลืมสังเกตตัวเองก่อนสาย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 27/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา