backup og meta

น้ำตาลในเลือดสูงเกิน 200 อันตรายหรือไม่

น้ำตาลในเลือดสูงเกิน 200 อันตรายหรือไม่

หากมีค่า น้ำตาลในเลือดสูงเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวานได้และอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตน ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยสาเหตุที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงนั้นอาจเกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ และ ภาวะดื้ออินซูลิน ซี่งปัจจัยส่งเสริมอาจมาจากการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป และขาดการออกกำลังกาย การรับประทานยารักษาโรคเบาหวานตามที่คุณหมอแนะนำ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่น เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและแป้งสูง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและปลอดภัยได้ 

น้ำตาลในเลือดปกติอยู่ที่เท่าไหร่

น้ำตาลในเลือดตามเกณฑ์ปกติหากทำการตรวจหลังจากอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง จะมีค่าต่ำกว่า 99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และ หากตรวจหลังจากกลืนน้ำตาลกลูโคส 75 กรัมเป็นเวลา 2 ชั่วโมง จะต้องมีค่าไม่เกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร การควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ สามารถทำได้โดยการเลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีใยอาหารสูง ธัญพืชไม่ขัดสี ไขมันดี และโปรตีนที่มีไขมันต่ำ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง อัลมอนด์ ปลาแซลมอน คะน้า น้ำมันมะกอก มะเขือเทศ แอปเปิ้ล และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายจัดการกับน้ำตาลส่วนเกินได้ดีขึ้น

น้ำตาลในเลือดสูงเกิน 200 อันตรายหรือไม่

หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตรเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ โดยอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแรกซ้อนจากน้ำตาลในเลือดสูง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ไตวาย เส้นประสาทเสียหาย เบาหวานขึ้นตา ตาบอด และติดเชื้อง่าย โดยอาจสังเกตได้จากสัญญาณเตือนดังต่อไปนี้

  • ปัสสาวะบ่อย
  • กระหายน้ำมากกว่าปกติ ปากแห้ง/คอเเห้ง
  • ปวดศีรษะ รู้สึกไม่สดชื่น
  • มองเห็นภาพไม่ชัดเจน
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ
  • ผิวเเห้ง/คัน
  • แผลหายช้า
  • ตกขาว ติดเชื้อในช่องคลอด
  • ปวดศีรษะ

นอกจากนี้ หากระดับน่ำตาลในเลือดสูงมากกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ยังอาจภาวะเลือดเป็นกรด (Diabetic Ketoacidosis) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินที่อันตราย เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงานได้อย่างเหมาะสม จึงเปลี่ยนมาเผาผลาญไขมันเป็นพลังงานแทน ซึ่งกระบวนการนี้ก่อให้เกิดสารที่เรียกว่า คีโตน ซี่งมีฤทธิ์เป็นกรด และเมื่อคีโตนสะสมในเลือดเพิ่มมากขึ้น จึงส่งผลให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการหายใจหอบ หัวใจเต้นเร็ว ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง คอแห้ง ลมหายใจมีกลิ่นผลไม้ อาจรุนแรงถึงขั้น ช็อก และเสียชีวิตได้

วิธีควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

วิธีควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม อาจทำได้ ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เน้นการรับประทานอาหารประเภทผักผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ธัญพืชไม่ขัดสี ไขมันดี อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ กะหล่ำดอก คะน้า ฝรั่ง แอปเปิ้ล มะเขือเทศ ขนมปังโฮลวีท อัลมอนด์ ถั่วลิสง ปลาทู ปลาแซลมอน น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและแป้งมากเกินไป เช่น ของทอด อาหารแปรรูป ของหวาน น้ำอัดลม เบียร์ ไวน์ ข้าวขาว ขนมปังขาว พาสต้า
  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น เพราะไตจะขับน้ำตาลส่วนเกินทางปัสสาวะ อีกทั้งยังช่วยป้องกันอาการขาดน้ำ
  • ออกกำลังกายม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที หรือ 150 นาที/สัปดาห์ โดยเเนะนำให้การออกกำลังกายแบบแอโรบิค ที่มีความเหนื่อยระดับกลาง เช่น เดิน วิ่งเหยาะๆ ปั่นจักรยาน เพราะ นอกจากการออกกำลังกายช่วยทำให้ร่างกายเเข็งเเรงโดยรวมเเล้ว ยังช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลิน ทำให้สามารถจัดการกับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ช่วยให้ลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้
  • รับประทานยา หรือฉีดอินซูลิน เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยควรใช้ยาตามคำแนะนำจากคุณหมออย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันให้ให้เกิดภาวะเเทรกซ้อนจากการใช้ยา
  • หมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ โดยอาจตรวจด้วยตัวเองหรือเข้ารับการตรวจสุขภาพจากคุณหมอ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

High Blood Sugar and Diabetes. https://www.webmd.com/diabetes/guide/diabetes-hyperglycemia.Accessed July 6, 2022.

Hyperglycaemia (high blood sugar). https://www.nhs.uk/conditions/high-blood-sugar-hyperglycaemia/.Accessed July 6, 2022.

Manage Blood Sugar. https://www.cdc.gov/diabetes/managing/manage-blood-sugar.html.Accessed July 6, 2022.

Hyperglycemia in diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hyperglycemia/symptoms-causes/syc-20373631.Accessed July 6, 2022.

Diabetes Tests. https://www.cdc.gov/diabetes/basics/getting-tested.html.Accessed July 6, 2022.

How to Bring Down High Blood Sugar Levels. https://www.diabetes.co.uk/how-to/bring-down-high-blood-sugar-levels.html.Accessed July 6, 2022.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/01/2024

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

7อาการเบาหวาน การรักษา และวิธีควบคุมอาการ

คอแห้งตลอดเวลา เกี่ยวข้องอย่างไรกับโรคเบาหวาน


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 28/01/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา