backup og meta

ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน มีอะไรบ้าง และวิธีป้องกัน

ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน มีอะไรบ้าง และวิธีป้องกัน

ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน มีทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง อาจเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเบาหวานขาดการดูแลตัวเอง ไม่สามารถควบคุมโรคเบาหวานให้ดี โดยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน จะทำให้ระบบอื่น ๆ ในร่างกายเกิดความผิดปกติไปด้วย ซึ่งเป็นภาวะเเทรกซ้อนเรื้อรัง เช่น  โรคหลอดหัวใจและสมอง โรคไต เบาหวานขึ้นตา ปลายมือและเท้าชา รวมถึงเเผลเรื้อรัง

[embed-health-tool-bmi]

ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน มีอะไรบ้าง

ภาวะแทรกซ้อนเบาหวานที่เกิดขึ้นทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย ดังนี้

ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน แบบเฉียบพลัน

เป็นภาวะเเทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ที่เป็นเบาหวานเเม้จะได้รับการวินิจฉัยมาไม่นาน ซึ่งขึ้นอยู่กับการดูเเลสุขภาพของเเต่ละบุคคล

เป็นภาวะที่เกิดขึ้นหากผู้ที่เป็นเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการที่ร่างกายได้รับยาลดระดับน้ำตาล หรือยาฉีดอินซูลินมากเกินไป ออกกำลังกายหักโหม หรือรับประทานอาหารผิดเวลา หรือน้อยลงมากกว่าปกติ จัดเป็นภาวะที่อันตราย ซึ่งอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการสับสน เวียนศีรษะ หิวหรือโหยมาก อารมณ์แปรปรวน ใจสั่น ตัวเย็น เหงื่อออกมาก หรืออาจหมดสติหรือชักได้

เป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานสูงมากกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งอาจเกิดจากความเครียดของทั้งร่างกายเเละจิตใจ การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป รับประทานยาหรือฉีดอินซูลินไม่สม่ำเสมอ ส่งผลทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ น้ำหนักลดและอ่อนเพลีย ในบางรายอาจรุนเเรงจนเกิดภาวะเลือดเป็นกรด เเละภาวะเลือดข้นจากน้ำตาลสูงได้ 

ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนเบาหวานแบบเรื้อรัง มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเกณฑ์มาเป็นระยะเวลานาน ส่วนมากประมาณ 5 ปีขึ้นไป เเต่ในผู้ที่ละเลยการดูแลตัวเองและไม่ค่อยตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ทำให้กว่าจะวินิจัยว่าเป็นโรคเบาหวานก็มีอาการลุกลามและส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายไปเเล้ว โดยภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวานแบบเรื้อรัง มีดังนี้

  • โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตับ อัมพฤกษ์ อัมพาต เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงที่เป็นเวลานานจะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงเสื่อมสภาพและเกิดความผิดปกติ เช่น หลอดเลือดอักเสบ หลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่น หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ส่งผลทำให้เกิดโรคที่กล่าวไปข้างต้นได้
  • โรคไต น้ำตาลในเลือดที่สูงเรื้อรังจะทำลายเส้นเลือดขนาดเล็กที่มีหน้าที่กรองของเสียที่ไตจนอาจนำไปสู่ภาวะไตวายเรื้อรังซี่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เเละ หากไม่ควบคุมให้ดี อาจจะเป็นต้องล้างไต
  • เส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดที่สูงจะทำลายผนังหลอดเลือดของเส้นเลือดฝอย ที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาทโดยเฉพาะบริเวณส่วนปลาย เช่น มือและขา ทำให้มีการรับความรู้สึกบริเวณนั้น ๆ ผิดปกติไป เช่น รู้สึกเสียวซ่า ชา แสบร้อนหรือปวดบริเวณปลายมือหรือปลายเท้า 
  • ปัญหาจอประสาทตา น้ำตาลในเลือดสูงไปทำลายหลอดเลือดบริเวณจอประสาทตา ส่งผลทำให้การมองเห็นบกพร่อง เเละอาจทำให้เกิดโรคทางตาอื่นๆ เช่นต้อกระจก ต้อหิน หรือรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้
  • สุขภาพเท้า โรคเบาหวานที่ควบคุมได้ไม่ดีจะส่งผลทำให้ทั้งเส้นเลือดเเละเส้นประสาทส่วนปลายเสือม ทำให้นอกจากจะมีอาการเท้าชา รับความรู้สึกลดลง เสี่ยงต่อการเกิดแผลเเล้ว ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายอีกด้วย เเละ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจเป็นเเผลเรื้อรัง เเละ อาจต้องตัดเท้าในบางราย
  • สุขภาพผิว อาจมีอาการผิวเเห้ง คัน ทำให้ระคายเคืองได้ง่าย และเสี่ยงต่อการติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังได้ง่ายขึ้น
  • ภาวะซึมเศร้า เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีความกังวล จนเกิดเป็นภาวะซึมเศร้าในที่สุด ในบางภาวะซึมเศร้านี้ ทำให้ผู้ป่วยอาจไม่สนใจดูเเลสุขภาพตนเอง จึงทำให้โรคเบาหวานทรุดลงได้มากขึ้นด้วย

ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในคุณแม่ที่ภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ เเล้วไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งมีทั้งผลกระทบกับสุขภาพของตัวคุณเเม่เอง เเละ ผลต่อทารกในครรภ์ ยกตัวอย่างเช่น

  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะที่ระหว่างตั้งครรภ์เเล้ว คุณเเม่มีความดันโลหิตที่สูงมากเกินไปจนส่งผลให้ มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ขาและเท้าบวม ซึ่งหากควบคุมไม่ได้ อาจรุนแรงถึงขึ้นอาจชัก เกร็ง หมดสติหรืออาจทำให้เสียชีวิตได้
  • เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 หลังคลอดในคุณเเม่ โดยส่วนมากเเล้ว ภาวะเบาหวานจะหายไปได้เองหลังคลอด เนืองจากฮอร์โมนกลับสู่สมดุลปกติ เเต่อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงของการเป็นเบาหวานในอนาคตสูงกว่าผู้ที่มีอายุเท่ากัน
  • ทารกตัวใหญ่ อาหารที่คุณแม่รับประทานสามารถส่งไปยังทารกในครรภ์ได้ผ่านทางรก ซึ่งเมื่อมีน้ำตาลในเลือดที่มากเกินจะกระตุ้นให้ตับอ่อนของทารกผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลทำให้ทารกมีขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้นจนอาจไม่สามารถคลอดด้วยวิธีธรรมชาติได้ และจำเป็นต้องผ่าคลอด
  • ทารกมีน้ำตาลในเลือดต่ำหลังคลอด เนื่องจากเมื่อคุณเเม่มีน้ำตาลในเลือดสูง ระหว่างอยู่ในครรภ์มารดา ทารกจะได้รับน้ำตาลที่สูงจากคุณเเม่ผ่านทางสายสะดือตามไปด้วย ทำให้งทารกต้องผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมาในปริมาณสูงขึ้นเพื่อจัดการกับน้ำตาลเเต่เมื่อทารกคลอด คุณหมอจะตัดสายสะดือออก ทารกจึงม่ได้รับน้ำตาลเพิ่มอีก แต่ร่างกายยังคงมีอินซูลินจำนวนมากอยู่ จึงส่งผลให้เกิดน้ำตาลในเลือดต่ำและเป็นอันตรายเนื่องจากอาจทำให้ทารกซึม หรือชักได้
  • ภาวะน้ำหนักเกินและโรคเบาหวานชนิดที่ 2ในลูกน้อย จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าทารกที่มีคุณแม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เมื่อเติบโตขึ้นอาจมีความเสี่ยงของภาวะน้ำหนักเกิน เเละ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าเด็กทั่วไป
  • แท้งบุตร/ทารกเสียชีวิต คุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์และไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเเท้งบุตร รวมถึงชทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้

วิธีป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

การป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากโรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานควรดูแลสุขภาพ ซึ่งอาจทำได้ ดังนี้

  • รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ผู้ป่วยเบาหวานควรดูแลเรื่องการรับประทานอาหารอย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดไม่ให้สูงหรือต่ำเกินไป โดยควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง และเน้นเลือกอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี รวมถึงเลือกรับประทานโปรตีนที่ดี เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง หรือโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว เต้าหู้ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยควรออกกำลังกายที่มีความเหนื่อยระดับปานกลาง เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ๆ เต้นแอโรบิก ประมาณ 30 นาที/วัน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน หรือ 150 นาที/สัปดาห์ เพื่อช่วยกระตุ้นการเผาผลาญน้ำตาลส่วนเกินของร่างกาย รวมถึงช่วยเพิ่มความแข็งแรงและเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำหนักตัวมากหรือมีปัญหาสุขภาพอื่นร่วมด้วย ควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้
  • ไปพบคุณหมอตามนัดและรับประทานยาสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมโรคเบาหวานให้ดี มิให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/symptoms-causes/syc-20371444/. Accessed July 14, 2022

Complications. https://www.rcn.org.uk/clinical-topics/Diabetes/Complications-and-treatment. Accessed July 14, 2022

Diabetes Complications. https://www.webmd.com/diabetes/diabetes-complications. Accessed July 14, 2022

complications of diabetes. https://www.diabetes.org.uk/guide-to-diabetes/complications. Accessed July 14, 2022

Prevent Diabetes Complications. https://www.cdc.gov/diabetes/managing/problems.html#:~:text=Common%20diabetes%20health%20complications%20include,how%20to%20improve%20overall%20health. Accessed July 14, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/04/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

เบาหวาน เท้าดำ รักษาอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่

อาการ หนาว สั่น ในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากสาเหตุใด


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 30/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา