backup og meta

เครื่อง วัด เบาหวาน มีกี่ประเภท ใช้งานอย่างไร

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 16/03/2023

    เครื่อง วัด เบาหวาน มีกี่ประเภท ใช้งานอย่างไร

    เครื่อง วัด เบาหวาน เป็นอุปกรณ์สำหรับตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน เนื่องจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไห้ได้ตามเป้าหมายจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ โดยทั่วไปเครื่องวัดเบาหวานมี 2 แบบ ได้แก่ เครื่องวัดแบบดั้งเดิมซึ่งตรวจระดับน้ำตาลในเลือดปลายนิ้ว และเครื่องวัดแบบต่อเนื่องซึ่งตรวจระดับน้ำตาลผ่านเซนเซอร์ที่สอดเข้าใต้ผิวหนัง เเละ ตรวจค่าระดับน้ำตาลตลอดเวลา โดยตัวเครื่องจะมีจอแสดงผลหรือเชื่อมต่อข้อมูลกับสมาร์ทโฟน

    ทำไมต้องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด

    เมื่อทำการตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ในผู้ที่มีสุขภาพเเข็งเเรงทั่วไป ค่าระดับน้ำตาลจะสูงไม่เกิน 99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เเต่หากมีค่าระดับน้ำตาลระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะหมายถึงกำลังเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือมีภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) และหากค่าระดับน้ำตาลสูงตั้งเเต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป จะเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวานได้

    นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยุ่ในเกณฑ์เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคไตเสื่อมเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมองเเละหัวใจ ภาวะเลือดเป็นกรด ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

    เครื่อง วัด เบาหวานจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถดูแลตัวเองและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เนื่องจากทำให้สามารถประเมินตนเองได้ว่า การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย หรือการรับประทานยายาต้านเบาหวานของตนนั้น ได้ตามเป้าหมายเเล้วหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้สามารถปรับพฤติกรรมในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

    เครื่อง วัด เบาหวาน มีกี่ประเภท มีวิธีใช้อย่างไรบ้าง

    เครื่อง วัด เบาหวานหรืออุปกรณ์วัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท หลัก ๆ ดังนี้

    1. เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดปลายนิ้ว (Blood Glucose Meter หรือ BGM) เป็นวิธีการตรวจ ที่สามารถตรวจระดับน้ำตาลได้ด้วยตนเองที่บ้าน โดยเครื่องจะแสดงค่าของระดับน้ำตาลที่หน้าจอ เหมาะสำหรับที่เป็นเบาหวานทุกคน และ ผู้ที่ต้องการตรวจ/ทราบค่าระดับน้ำตาลของตนเอง

    วิธีใช้

  • ล้างมือให้สะอาด แล้วเช็ดให้แห้งสนิท
  • เปิดเครื่องวัดเบาหวาน เเละ สอดแผ่นตรวจระดับน้ำตาลเข้ากับตัวเครื่อง
  • ทำความสะอาดบริเวณปลายนิ้วมือที่จะเจาะเลือด ด้วยเเอลกอฮอล์ จากนั้นรอจนเเห้ง เเล้วเจาะเลือดด้วยใช้ชุดปากกาหรือเข็มสำหรับเจาะเลือดปลายนิ้ว
  • เมื่อหน้าจอเครื่องตรวจแสดงผลว่าพร้อมใช้งานแล้ว ให้หยดเลือดจากปลายนิ้วลงบนแผ่นตรวจ
  • รอเครื่องวัดเบาหวานแสดงผลตรวจ
  • ข้อดี

    • เสียค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก
    • ผลค่าระดับน้ำตาล เเม้อาจไม่เเม่นยำเท่าการตรวจที่โรงพยาบาลเเต่ก็มีความน่าเชื่อถือ

    ข้อเสีย

    • ไม่สามารถทราบระดับน้ำตาลในเลือดได้ตลอดเวลา หากต้องการทราบถี่หรือบ่อย ก็ต้องทำการเจาะตรวจบ่อย ตามเวลาที่ต้องการทราบ
    • เจ็บบริเวณปลายนิ้วที่เจาะเลือด

    ทั้งนี้ คุณหมออาจแนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวาน ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วย เครื่อง วัด เบาหวานแบบ BGM โดยความถี่ในการตรวจเเละช่วงเวลาในการตรวจ อาจเเตกต่างกันในเเต่ละบุคคล โดยคุณหมอจะพิจารณาจากชนิดของโรคเบาหวาน เเละ สภาวะสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 เเละในคุณเเม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจจำเป็นต้องตรวจค่าระดับน้ำตาลบ่อยครั้งกว่า กล่าวคือ ตรวจค่าระดับน้ำตาลก่อนเเละ หลังอาหารทุกมื้อ รวมถึงก่อนนอน

    2. เครื่องวัดเบาหวานแบบต่อเนื่อง (Continuous Glucose Monitoring หรือ CGM) โดยจะติดอุปกรณ์ที่มีเซนเซอร์ไว้ที่ผิวหนังบริเวณหน้าท้องหรือแขน โดยเซนเซอร์จะวัดระดับน้ำตาลในของเหลวที่อยู่ระหว่างเซลล์ในเนื้อเยื่อ ซึ่งจะสอดคล้องกับค่าระดับน้ำตาลในกระเเสเลือด แล้วแสดงค่าระดับน้ำตาลเป็นระยะ ๆ ซึ่งบางเครื่องก็มีระบบส่งข้อมูลเข้าสู่โทรศัพท์สมาร์ทโฟนได้โดยตรง เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 และเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่ต้องการควบคุมเบาหวานให้ได้ดี

    วิธีใช้

    • ติดเซนเซอร์เข้าไปใต้ผิวหนังบริเวณท้องหรือแขน (ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษเฉพาะ)
    • เซนเซอร์จะทำงาน โดยจะแสดงผลค่าระดับน้ำตาลไปยังเครื่องตัวรับหรือโทรศัพท์สมาร์ทโฟน

    ข้อดี

    • สามารถตรวจระดับน้ำตาลได้ตลอดทุกช่วงเวลา
    • ลดความเจ็บปวด เมื่อเทียบกับการเจาะตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้ว
    • สามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ เพื่อแสดงผลได้ทุกที่และทุกเวลา ทำให้นอกจากตัวผู้ใช้จะทราบค่าระดับน้ำตาลเเล้ว ผู้ดูเเลรวมไปถึงคุณหมอ ก็สามารถทราบถึงค่าระดับน้ำตาลได้ไปพร้อม ๆ กัน

    ข้อเสีย

    • ค่าใช้จ่ายสูง
    • ต้องเปลี่ยนเซนเซอร์ทุก 7-14 วัน ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของเครื่อง CGM

    ผลค่าระดับน้ำตาลยังไม่น่าเชื่อถือ 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นหากจะต้องมีการปรับเปลี่ยนระดับยา จึงยังต้องใช้การเจาะตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้ว (ฺBCM)  ประกอบด้วย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 16/03/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา