แต่เดิมไวรัสโคโรนา มีทั้งหมด 6 สายพันธุ์ด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบันถูกพัฒนาเป็นสายพันธุ์ที่ 7 โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อให้ใหม่อย่างเป็นทางการ เนื่องจากเป็นไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2019 จึงได้ชื่อว่าโควิด-19 (COVID-19) ที่สำคัญยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิด S (Serine) และ ชนิด L (Leucine) โดยชนิด S เป็นเชื้อไวรัสชนิดตั้งต้นที่มีมายาวนาน และได้วิวัฒนาการเปลี่ยนเป็น ชนิด L ที่มีความรวดเร็วในการแพร่กระจายไปยังวงกว้าง รวมถึงมีความรุนแรงมากกว่าชนิดเดิม และเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เผยข้อมูลถึง รหัสพันธุกรรมโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักทั้งในประเทศไทย และทั่วโลกนี้ ผ่านทางเพจเฟซบุ๊กว่า
“ จากการติดตามสายพันธุ์ของโควิด-19 และจากการศึกษาเกี่ยวกับการถอดรหัสพันธุกรรมที่มากกว่า 30 ตัว ของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ที่กำลังระบาดอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงต้นปี ซึ่งได้รับผลกระทบมาจากเมืองอู่ฮั่น ของประเทศจีน จนถึงปัจจุบันค้นพบว่าเป็นโคโรนาไวรัส ชนิด L (Leucine) “
และต่อมาไม่นานในช่วงเดือนมีนาคมก็ได้เกิดการแพร่กระจายภายในสนามมวย และสถานบันเทิงย่านทองหล่อ จนทำให้ตัวเลขพุ่งขึ้นสูงอย่างน่าตกใจ ซึ่ง นพ.ยง ได้กล่าวถึงชนิดของไวรัสโควิด-19 ณ สองสถานที่นี้ว่า
“ เป็นชนิด S (Serine) พร้อมทั้งมีความรุนแรงไม่ได้แตกต่างกันมากนัก ที่สำคัญไวรัสโควิด-19 ที่ถูกแพร่ภายในสนามมวย และทองหล่อไม่ได้มาจากอิตาลี “
เพราะจากการตรวจสอบจากผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ยังเป็นรหัสพันธุกรรมชนิด S อยู่ แต่ก็มิได้หมายความว่า ไม่มีการพบผู้ติดเชื้อชนิด L เลยในประเทศไทย โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางกลับมาจากประเทศสุ่มเสี่ยงอย่างประเทศสิงคโปร์ หรืออิตาลี ก็อาจนำพาเชื้อชนิดนี้เข้ามาเพิ่มอัตราการติดเชื้อให้ผู้คนได้มากขึ้นเช่นกัน
ความแตกต่างของ โควิด-19 กับไข้หวัดใหญ่ ที่คุณควรรู้ มีอะไรบ้าง? ?https://t.co/NhczIE4X50#COVID19 #โควิด19 #โรคระบาด
— HelloKhunmor (@HelloKhunmor) April 24, 2020
นอกจากนี้ข่าวที่ถูกกล่าวออกไปเกี่ยวกับความรุนแรงของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในสนามมวยมีความร้ายแรงกว่าในสถานบันเทิง ยังเป็นข้อสงสัยที่ไม่สามารถสรุปได้ ซึ่งคาดการณ์ในเบื้องต้นว่าอาจมาจากปัจจัยของกลุ่มช่วงอายุของบุคคลที่อยู่ในสนามมวยเป็นผู้ที่เริ่มมีอายุมาก หรืออาจอยู่ในช่วงวัยผู้สูงอายุ เสียมากกว่าเมื่ออยู่ในสถานที่แออัดจึงทำให้เกิดการติดต่อ และเป็นพาหะในการแพร่กระจายเชื้อไวรัสนี้ได้ง่าย
ทั้งนี้ นพ.ยง ได้ทิ้งท้ายข้อความที่โพสต์ลงในเฟสบุ๊กถึงว่า “ ขณะนี้เรากำลังติดตามสายพันธุ์ต่าง ๆ ถ้าเป็นไปได้เราก็อยากรู้สายพันธุ์ทางภาคใต้ โดยเฉพาะกลุ่มที่กลับเดินทางกลับมาจากประเทศอินโดนีเซีย ถึงพอจะแยกได้ด้วยจุดที่เรียกว่า SNP หรือ Polymorphism เพียงไม่กี่ตำแหน่ง ไม่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของโรค และไม่เกี่ยวกับการกลายพันธุ์หลีกเลี่ยงภูมิต้านทาน เป็นเพียงการบอกและประโยชน์ในด้านระบาดวิทยาว่ามาจากที่ใดเท่านั้น ต้องขอขอบคุณลูกศิษย์ทุกคนที่ช่วยกันถอด รหัสพันธุกรรมโควิด-19 ดังกล่าว“
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด