backup og meta

ตะคริวหลังคลอด สาเหตุ และวิธีการรักษา

ตะคริวหลังคลอด สาเหตุ และวิธีการรักษา

ตะคริวหลังคลอด อาจเกิดขึ้นจากมดลูกมีการหดตัวและขยายกลับสู่ปกติ ทำให้มีอาการปวดเกร็งบริเวณท้อง มักเกิดขึ้นภายในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด และอาจหายไปได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา อย่างไรก็ตาม หากมีอาการปวดอย่างรุนแรง หรือมีอาการนานต่อเนื่อง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อสาเหตุและทำการรักษาในทันที

[embed-health-tool-due-date]

ตะคริวหลังคลอด คืออะไร

คุณแม่อาจมีอาการเป็นตะคริวหลังคลอดและรู้สึกไม่สบายตัวหลังจากคลอดลูกน้อย เนื่องจากมดลูกมีการหดตัวและกลับสู่ขนาดปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์ โดยจะรู้สึกเจ็บท้องน้อย หรือปวดคล้าย ๆ กับปวดประจำเดือน โดยอาการมักจะรุนแรงขึ้น หากเป็นลูกคนที่สองหรือสาม

ตะคริวหลังคลอดเป็นนานเท่าไร

อาการตะคริวหลังคลอดมักไม่เป็นนานเท่าที่ควร หลังจากเมื่อมดลูกจะกลับสู่ภาวะปกติ ตะคริวของคุณแม่ก็อาจจะลดลง หรือหายไปภายใน 1 สัปดาห์ หรือเร็ว/ช้ากว่านั้นขึ้นอยู่กับสุขภาพคุณแม่แต่ละคน ตะคริวที่เกิดจากสภาวะอื่น ๆ เช่น อาการท้องผูกหรือการติดเชื้อ อาจจะใช้เวลาต่างกันไป และหากไม่ได้รับการรักษา อาการตะคริวก็จะยังคงอยู่กับคุณแม่ ดังนั้น หากคุณแม่รู้สึกเจ็บปวด อย่ารอช้าที่ไปตรวจหาอาการกับคุณหมอ

สาเหตุของการเป็น ตะคริวหลังคลอด

เป็นเรื่องปกติที่คุณแม่หลังคลอดอาจมีอาการเป็นตะคริวในช่องท้องส่วนล่าง หรืออาจปวดคล้าย ๆ กับการปวดประจำเดือน เนื่องจากมดลูกของผู้หญิงจะขยายใหญ่ขึ้นหลายเท่าของขนาดเดิมตลอดการตั้งครรภ์ และการเป็นตะคริวเกิดจากการที่มดลูกหดตัวกลับไปเป็นขนาดปกติที่เล็กลง รวมไปถึงสาเหตุอื่น ๆ ของการเป็นตะคริวหลังคลอดได้แก่

  • การผ่าคลอด อาการนี้ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อผู้ที่คลอดบุตรทางช่องคลอดเท่านั้น
  • ท้องผูก เนื่องจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ยังไม่สมดุล และมีโปรเจสเตอโรน รวมไปถึงการกินอาหาร เช่น อาจไม่ค่อยได้กินพวกไฟเบอร์ ทำให้มีปริมาณไฟเบอร์ที่ต่ำ
  • การติดเชื้อและอื่น ๆ แม้ว่าจะพบได้น้อย แต่ก็เป็นไปได้ที่จะเกิดการติดเชื้อหลังคลอด เช่น
    • ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย คือการติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรีย
    • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTI)
    • ไส้ติ่งอักเสบ อาจไม่เกี่ยวข้องกับการคลอดลูกโดยสิ้นเชิง  แต่ในช่วงหลังคลอดอาจมีอาการไส้ติ่งอักเสบได้
    • เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ คือการอักเสบของเยื่อบุมดลูกที่เกิดจากการติดเชื้อ

วิธีการรักษาตะคริวหลังคลอด

เนื่องจากมดลูกของคุณแม่นั้นมีการขยายจากการตั้งครรภ์ และต้องคืนสภาพหลังจากคลอดลูกน้อย ซึ่งอาจจะมีความเจ็บปวดที่คุณแม่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่คุณแม่สามารถรักษาอาการตะคริวและลดความเจ็บปวดลงได้ เพื่อบรรเทาอาการเหล่านั้นได้แก่

  • รับประทานยาแก้ปวด เช่น ไอบูโพรเฟน
  • พยายามจิบน้ำบ่อย ๆ
  • พยายามปัสสาวะบ่อย ๆ แม้ว่าคุณจะไม่อยากไปก็ตาม เนื่องจากหากกระเพาะปัสสาวะเต็ม ทำให้มดลูกไม่สามารถหดตัวได้อย่างสมบูรณ์
  • นอนคว่ำหน้าโดยใช้หมอนรองใต้ท้องส่วนล่าง หรือใช้แผ่นประคบร้อนใต้ท้องส่วนล่าง
  • ค่อย ๆ นวดบริเวณหน้าท้องส่วนล่างของคุณ
  • มีการเคลื่อนไหวร่างกาย การลุกขึ้นและเดินอย่างช้า ๆ อาจช่วยให้ลดอาการปวดหลังได้ รวมไปถึงท้องผูก

เมื่อไรควรไปหาคุณหมอ

บางครั้งที่อาการตะคริวหลังคลอดอาจทำให้เกิดความกังวลได้ เมื่ออาการเหล่านี้ยังคงไม่บรรเทาภายใน 1 สัปดาห์ หรือ 10 วัน คุณแม่ควรไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Postpartum Cramps Are Not Talked About Enough and Mine Were Awful. https://www.parents.com/pregnancy/my-body/postpartum/postpartum-cramps-are-not-talked-about-enough-and-mine-were-awful/. Accessed July 27, 2021

Relief of pain caused by uterine cramping or involution after giving birth. https://www.cochrane.org/CD004908/PREG_relief-pain-caused-uterine-cramping-or-involution-after-giving-birth. Accessed July 27, 2021

Postpartum: Cramps (afterpains). https://www.babycenter.com/baby/postpartum-health/postpartum-cramps-afterpains_11723. Accessed July 27, 2021

WARNING SIGNS OF HEALTH PROBLEMS AFTER BIRTH. https://www.marchofdimes.org/pregnancy/warning-signs-of-health-problems-after-birth.aspx. Accessed July 27, 2021

Nutrition and healthy eating. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/water/art-20044256. Accessed July 27, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/04/2022

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการคัดเต้า ไม่ได้ท้อง มีสาเหตุมาจากอะไร

หลังคลอด ร่างกายคุณแม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 29/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา