backup og meta

ดูแลสุขภาพจิตระหว่างตั้งครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณแม่ควรใส่ใจ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 06/06/2022

    ดูแลสุขภาพจิตระหว่างตั้งครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณแม่ควรใส่ใจ

    ดูแลสุขภาพจิตระหว่างตั้งครรภ์ เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพกาย เพราะภาวะอารมณ์และจิตใจของคุณแม่ส่งผลโดยตรงต่อภาวะทางอารมณ์ของลูกน้อยในครรภ์ ในขณะที่ด้านร่างกาย คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อย ด้านจิตใจ คุณแม่ควรพยายามทำจิตใจให้ผ่อนคลาย หาสิ่งที่ชอบทำ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เก็บเรื่องต่าง ๆ มาคิดหรือเป็นกังวลจนทำให้เกิดความเครียด  คุณแม่คนไหนที่รู้สึกว่าตัวเองเครียดง่าย อาจลองหาวิธีดูแลสุขภาพจิตแบบง่าย ๆ มาลองปฏิบัติตามดู

    เคล็ดลับการ ดูแลสุขภาพจิตระหว่างตั้งครรภ์

    การ ดูแลสุขภาพจิตระหว่างตั้งครรภ์  เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย คุณแม่ไม่ควรละเลย โดยมีเคล็ดลับเพื่อการดูแลตนเองง่าย ๆ ดังนี้

  • จัดลำดับความสำคัญในการดูแลตนเอง อย่าทำงานหนักเกินไปและรู้ขีดจำกัดของตนเอง พยายามวางแผนงานประจำวันเพื่อหลีกเลี่ยงความเครียดและความวิตกกังวลที่ไม่จำเป็นรวมไปถึงหาเวลาว่างในการสังสรรค์กับเพื่อนบ้าง
  • รับประทานอาหารที่ดี เช่น การรับประทานข้าวโอ๊ต 1 ถ้วยจะทำให้ได้รับวิตามินบี 1 ซึ่งช่วยเพิ่มการผลิตเซโรโทนิน  (Serotonin) ในสมอง เป็นฮอร์โมนแห่งความสุข และช่วยลดอารมณ์แปรปรวน
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงหาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
  • ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ สามารถช่วยป้องกันอาการป่วยทางจิตและความเครียดจากการตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากสารเอ็นดอร์ฟินจากการออกกำลังกายสามารถช่วยทำให้คุณแม่รู้สึกสบายตัวและนอนหลับได้ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงบรรเทาอาการปวดหลัง ช่วยแก้ท้องผูก
  • พยายามเล่าความรู้สึกต่าง ๆ ให้เพื่อน สมาชิกในครอบครัว คุณหมอ หรือพยาบาลผดุงครรภ์ฟัง ไม่ควรเก็บความรู้สึกไว้กับตนเองเพียงคนเดียว
  • เข้าคอร์สเกี่ยวกับการดูแลทารก การเตรียมตัวคลอด ที่ทางสถานพยาบาลจัดเตรียมไว้ เพื่อพบเจอและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหญิงตั้งครรภ์คนอื่น ๆ
  • ฝึกนั่งสมาธิ เพื่อให้จิตใจสงบลงหากรู้สึกว้าวุ่นใจ หรือกังวลใจ
  • สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างการดูแลสุขภาพจิตระหว่างตั้งครรภ์ 

    กิจกรรมบางอย่างคุณแม่ควรหลีกเลี่ยง ทั้งเพื่อเป็นการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตระหว่างตั้งครรภ์ ได้แก่

    • อย่าเปรียบเทียบตัวเองกับคนท้องคนอื่น ๆ เพราะร่างกายของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน รวมไปถึงอาการต่าง ๆ โดยร่วมด้วย
    •  เวลาไปหาคุณหมอตามใบนัด อย่ากังวล หรือกลัวที่จะบอกกับคุณหมอว่ารู้สึกอย่างไร ควรสอบถามและขอข้อมูลเพื่อเติมหากมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์
    • ระหว่างการตั้งครรภ์ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่หรือใช้ยานอนหลับเพื่อทำให้รู้สึกดีขึ้น เพราะอาจจะทำให้รู้สึกแย่ลง และส่งผลต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของลูกน้อย
    • ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดแน่นจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดีแล้วอาจอารมณ์หงุดหงิดได้ง่ายขึ้น
    • ไม่ควรยกของหนักหรือออกแรงมาก ๆ เนื่องจากอาจทำให้มีเลือดออกแล้วเสี่ยงแท้งได้ และหากมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์จะยิ่งส่งผลต่อสุขภาพจิตคุณแม่โดยตรง
    • พยายามไม่เครียด เพราะความเครียดส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมต่อคุณแม่และอาจส่งผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์

    ปัญหาสุขภาพจิตระหว่างตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง

    ปัญหาด้านสุขภาพจิตที่คุณแม่ตั้งครรภ์อาจประสบพบเจอนั้นแตกต่างกันไป แต่โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว อาจพบภาวะดังต่อไปนี้

  • อาการซึมเศร้า คือความเศร้าหรือความรู้สึกด้อยค่า อาจเกิดขึ้นเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน ผู้หญิงบางคนอาจมีภาวะซึมเศร้าก่อนตั้งครรภ์ หรือในระหว่างตั้งครรภ์ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ไม่มีความสุขกับการตั้งครรภ์ เผชิญปัญหาจากในที่ทำงาน หรือความกดดันจากที่บ้าน
  • ความวิตกกังวล คือความรู้สึกกังวลหรือกลัวสิ่งต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น หากกังวลมากในหลายสิ่งหลายอย่างอาจทำให้เครียดในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder หรือ OCD) เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีความคิดซ้ำ ๆ ที่ทำให้เกิดความกังวลใจ
  • ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์ที่รุนแรง (Post-traumatic stress disorder หรือ PTSD) คือ สภาวะป่วยทางจิตใจหลังจากต้องเผชิญกับเหตุการณ์กระทบกระเทือนใจอย่างรุนแรง
  • ความกลัวการคลอดลูก หรือโทโคโฟเบีย (Tokophobia) ผู้หญิงบางคนอาจรู้สึกกลัวการคลอดลูก อาจปรึกษาคุณหมอเพื่อผ่าคลอดเป็นการลดความกลัวลงไปได้
  • หากกังวลใจ หวาดกลัว หรือรู้สึกว่ามีปัญหาสุขภาพจิต ควรปรึกษาคุณหมอ ไม่ควรปล่อยไว้ เพื่อรับความช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นก่อนตั้งครรภ์ ช่วงระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอด เพราะภาวะสุขภาพจิตของคุณแม่ย่อมส่งผลต่อลูกน้อยไม่ทางตรงก็ทางอ้อมเสมอ ควรรีบหาทางแก้ไข

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 06/06/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา