backup og meta

ภาวะทุพโภชนาการ อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะทุพโภชนาการ อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) เป็นภาวะร้ายแรงที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ หรือร่างกายได้รับอาหารมากเกินความจำเป็น ทำให้มีทั้งภาวะโภชนาการต่ำ และภาวะโภชนาการเกิน ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งเสี่ยงต่อโรค เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ร่างกายไม่เจริญเติบโต หรือหายจากอาการเจ็บป่วยช้า

[embed-health-tool-bmi]

คำจำกัดความ

ภาวะทุพโภชนาการ คืออะไร  

ภาวะทุพโภชนาการ คือ ภาวะที่ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ หรือการที่ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายเพียงพอ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • ภาวะโภชนาการต่ำ เป็นหนึ่งในประเภทของการขาดสารอาหาร เมื่อร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ อาจส่งผลให้ร่างกายเจริญเติบโตช้า หรือมีน้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์
  • ภาวะโภชนาการเกิน คือ การที่ร่างกายได้รับประทานอาหารที่เกินกว่าพลังงานหรือไขมันในร่างกายต้องใช้ ร่างกายจึงเกิดการสะสมไขมัน ทำให้มีน้ำหนักตัวมากเกินไป จนอาจทำให้เป็นโรคอ้วนได้

ภาวะทุพโภชนาการพบได้บ่อยเพียงใด

ผู้ที่ป่วยเป็นภาวะทุพโภชนาการ พบได้บ่อยในผู้ที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือขาดสารอาหาร

อาการ

อาการของภาวะทุพโภชนาการ

ภาวะทุพโภชนาการ อาจทำให้เกิดอาการในลักษณะที่แตกต่างกันไปซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจ ดังนี้

  • ความอยากอาหารลดลง
  • อ่อนเพลียและหงุดหงิดง่าย
  • ไม่มีสมาธิ
  • ร่างกายรู้สึกหนาวบ่อยครั้ง
  • ในเด็กร่างกายอาจเจริญเติบโตช้า น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์
  • รู้สึกเหนื่อยง่าย
  • เกิดความวิตกกังวล

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ขาดสารอาหาร หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาคุณหมอ

ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของภาวะทุพโภชนาการ

ภาวะทุพโภชนาการเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้

  • รับประทานอาหารได้น้อย

เกิดจากสาเหตุหลาย ๆ ปัจจัยด้วยกัน เช่น ปัญหาในช่องปากที่ทำให้รับประทานอาหารได้น้อย กลืนอาหารลำบาก เกิดการคลื่นไส้ และอาเจียน รวมถึงมีโรคประจำตัวที่ส่งผลให้รับประทานอาหารได้น้อย เช่น โรคมะเร็ง โรคตับ

  • สภาวะสุขภาพจิต

ผู้ที่มีสุภาพจิตผิดปกติ เช่น โรคคลั่งผอม และอาการทางจิตเภท ทำให้ความอยากอาหารลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกาย ขาดสารอาหาร

  • ปัญหาทางสังคม

ปัญหาทางสังคมอาจส่งผลต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น มีฐานะยากจน ไม่มีเงินพอสำหรับการซื้ออาหาร เดินทางไม่สะดวกในการไปซื้ออาหาร การอาศัยอยู่คนเดียวซึ่งอาจส่งผลต่อแรงจูงใจในการรับประทานอาหาร

  • ความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร

โรคต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหารภายในร่างกาย อาจทำให้ร่างกายเกิดการขาดสารอาหารได้ เช่น โรคเกี่ยวกับช่องท้อง โรคโครห์น (Crohn’s Disease)

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะทุพโภชนาการ

  • ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ต้องรับการรักษาเป็นเวลาระยะยาวในโรงพยาบาล
  • ผู้มีรายได้น้อย
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดูดซึมสารอาหาร

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ในเบื้องต้น แพทย์อาจทำการสอบถามประวัติต่างๆ รวมถึงตรวจอื่นๆ เพิ่มเติมดังนี้

  • ตรวจเลือด เพื่อคัดกรองและนำไปตรวจสอบทั่วไปหาสาเหตุของโรค
  • ตรวจสอบสารอาหารที่เฉพาะเจาจง เช่น วิตามิน เหล็ก
  • การทดสอบระดับโปรตีนในเลือด (Prealbumin Test)
  • การตรวจอัลบูมิน (Albumin Test) ซึ่งอาจบ่งบอกถึงโรคตับ และโรคไต

การรักษาภาวะทุพโภชนาการ

วิธีการรักษาภาวะทุพโภชนาการ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการในแต่ละบุคคล โดยในเบื้องต้นอาจทำการสอบถามประวัติและติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง จัดทำตารางการรับประทานอาหาร รวมถึงการให้อาหารเสริม เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ทดแทนการขาดสารอาหาร

ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง คุณหมออาจจำเป็นต้องให้สารอาหาร เช่น โพแทสเซียมและแคลเซียมทางหลอดเลือดดำ เพื่อให้ร่างกายค่อย ๆ ได้รับสารอาหาร

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อรักษาและป้องกันการเกิดภาวะทุพโภชนาการ

คนทั่วไปอาจป้องกันภาวะทุพโภชนาการได้ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้

  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง 5 หมู่
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

สิ่งที่สำคัญที่สุด หากสังเกตพบว่าเริ่มมีสัญญาณหรืออาการใด ๆ ที่อาจบ่งชี้ถึงอาการของภาวะทุพโภชนาการ หรือการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ควรเข้ารับคำปรึกษาจากนักโภชนาการ หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาตามขั้นตอนอย่างเหมาะสมต่อไป

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Malnutrition. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/malnutrition. Accessed July 27, 2023.

Malnutrition. https://www.nhs.uk/conditions/malnutrition/. Accessed July 27, 2023.

Malnutrition. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/malnutrition. Accessed July 27, 2023.

Malnutrition. https://data.unicef.org/topic/nutrition/malnutrition/. Accessed July 27, 2023.

Malnutrition: causes and consequences. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4951875/. Accessed July 27, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/07/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

นมผง เด็ก 1 ขวบ และอาหารเสริมที่ควรกิน

อาหารเด็ก7เดือน ที่ช่วยเสริมสุขภาพและพัฒนาการ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา