backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 20 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 20 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 20 หรือประมาณ 5 เดือน เป็นช่วงที่ทารกอาจเริ่มตั้งไข่หัดเดิน สามารถนั่งเองได้ และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่ได้ยิน ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยตัวเอง อย่าจำกัดจินตนาการของเด็ก แต่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูก

[embed-health-tool-vaccination-tool]

การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 20

ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 20

ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนที่ 4 นี้ ลูกน้อยอาจจะ…

  • ใช้ขายันให้ลำตัวตั้งตรง
  • สามารถนั่งได้เองโดยไม่ต้องช่วยเหลือ
  • มีปฏิกิริยาตอบโต้ เมื่อแย่งของเล่นจากมือ
  • ขยับร่างกายไปตามเสียงที่ได้ยิน

ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

หากจับลูกน้อยให้นอนลง เขาอาจขัดขืนด้วยการยืดแขนขาและยันตัวขึ้น วิธีนี้เป็นการออกกำลังกายที่ดี เพราะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณลำคอ และช่วยพัฒนาความสามารถในการนั่งให้เด็กได้

ในการเตรียมพร้อมลูกน้อยในช่วงเวลาก่อนเข้านอน ควรอาบน้ำให้เขา หรือเล่านิทานให้เขาฟัง ควรทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามลำดับให้เป็นกิจวัตร เช่น กินอาหาร อาบน้ำ ใส่ชุดนอน อ่านหนังสือ ร้องเพลง จากนั้นจึงพาลูกเข้านอน

การเตรียมตัวเข้านอนที่ดี จะทำให้ลูกน้อยมีเวลาผ่อนคลายได้มากขึ้น แถมยังทำให้ทั้งสองได้ใกล้ชิดกันมากกว่าเดิมด้วย คุณพ่อคุณแม่ควรสลับกันทำหน้าที่นี้ (คุณแม่พาไปน้ำอาบน้ำ ส่วนคุณพ่อเล่านิทาน) หรือสลับวันกันทำหน้าที่ เพื่อที่จะได้มีเวลาพักผ่อนที่เต็มที่

สุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก สัปดาห์ที่ 20

ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร

แพทย์แต่ละคนจะมีวิธีการตรวจสุขภาพเด็กต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของเด็กแต่ละคน การทดสอบทางกายภาพ รวมทั้งการทดสอบอื่น ๆ ก็จะแตกต่างกันออกไปด้วย แพทย์หรือพยาบาลอาจทำการตรวจร่างกายตามรายการต่อไปนี้

  • ให้คำแนะนำในสิ่งที่ควรสังเกตลูกน้อยในเดือนถัดไป เช่น การรับประทานอาหาร การนอน พัฒนาการ และความปลอดภัยสำหรับเด็ก
  • อธิบายปฏิกิริยาที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กได้รับการฉีดวัคซีนครั้งที่ 2
  • ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลลูกน้อย หรือคำแนะนำว่าเมื่อไหร่ควรปรึกษาแพทย์
  • ให้คำแนะนำว่าควรให้ลูกหย่านมเมื่อไร

สิ่งที่ควรรู้

การเขย่าตัวเด็ก

การเขย่าตัวเด็กอย่างรุนแรง อาจส่งผลให้สมองของเด็กกระแทกกับกะโหลกศีรษะ เนื่องกล้ามเนื้อคอของเขายังไม่แข็งแรง พอที่จะพยุงศีรษะเอาไว้ได้ และอวัยวะสองส่วนนี้ของเด็กก็ยังเปราะบางมาก ฉะนั้น ถ้ามีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก็อาจทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บสาหัส ตาบอด ดวงตาได้รับความเสียหาย พัฒนาการช้า มีอาการชัก เป็นอัมพาต สมองได้รับความเสียหายถาวร หรือนำไปสู่การเสียชีวิตได้

อาการเขย่าตัวทารกแรกเกิดนี้ อาจเกิดขึ้นเมื่อกำลังเล่นอะไรรุนแรงกับลูกน้อย กิจกรรมตามปกติ เช่น การตี การจั๊กจี้ การขับรถบนถนนขรุขระ จะไม่ทำให้เกิดภาวะที่เป็นอันตรายแบบนี้

เด็กที่โดนเขย่าตัว อาจมีอาการง่วงนอน อาเจียน ไม่อยากกินอาหาร หายใจติดขัด หรือมีอาการหงุดหงิด ถ้าลูกมีอาการเหล่านี้ ควรพาไปพบคุณหมอหรือเข้าห้องฉุกเฉินทันที เพราะถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เด็กอาจมีอาการแย่ลง หรือสมองได้รับความเสียหายอย่างถาวร

อุจจาระลูกมีสีดำ

หากเด็กมีอุจจาระสีดำ อาจสันนิษฐานได้ว่าในเลือดมีธาตุเหล็กมากเกินไป เด็กบางคนเมื่อได้รับแบคทีเรียเข้าสู่ทางเดินอาหาร ร่างกายจะขับออกมาทางอุจจาระ ซึ่งจะทำให้อุจจาระมีสีน้ำตาลเข้ม เขียว หรือดำ อาการเหล่านี้ไม่ใช่อาการที่ร้ายแรง และไม่ต้องกังวลอะไร

งานศึกษาวิจัยบางชิ้นระบุว่า ปริมาณธาตุเหล็กในอุจจาระไม่สามารถทำให้ลูกป่วยได้ แต่ไม่แนะนำให้เด็กกินธาตุเหล็กเป็นอาหารเสริม เนื่องจากการได้ธาตุเหล็กจากการดื่มนมแม่หรือธัญพืชต่าง ๆ นั้นเพียงพอสำหรับเด็กแล้ว

สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

ต้องกังวลในเรื่องใด

การกระตุ้นพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจ

คุณพ่อคุณแม่จำนวนมาก อาจมุ่งเน้นแต่การพัฒนาทางด้านสติปัญญา แต่ก็ควรให้ความสำคัญกับสุขภาพทางร่างกายของเด็กด้วย พยายามหากิจกรรมที่ได้ขยับร่างกาย ในช่วงวัยนี้ก็อาจทำได้แค่การช่วยให้ลูกน้อยลุกขึ้นนั่งหรือยืนขึ้น โดยจับแขนขึ้นเบา ๆ ให้ลูกเล่น “ขี่ม้า” โดยการจับแขนขาเขางอเป็นจังหวะ หรือดึงมือของลูกขึ้นเพื่อให้เขาสามารถยันขาตัวเองขึ้นมา

สร้างความสนุกสนาน

สร้างความตื่นเต้นในขณะฝึกให้ลูกทำอะไร จะพูดคุย ร้องเพลง หรือบรรยายสิ่งที่กำลังทำให้เขาฟังก็ได้ ลูกน้อยจะรู้สึกสนุกไปกับการได้ขยับเขยื้อนร่างกาย

อย่าไปจำกัดขอบเขตให้ลูก

เด็กที่มักจะนั่งอยู่ในรถเข็น อาจไม่มีโอกาสได้ออกกำลังกาย จึงอาจกลายเป็นเด็กอ่อนแอได้ ซึ่งเด็กไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหนก็ควรได้เคลื่อนไหวร่างกาย โดยเด็กในวัย 3-4 เดือนน่าจะฝึกพลิกตัวได้แล้ว เมื่อวางเด็กไว้ในห้องก็ให้ปล่อยเด็กคลานไปรอบ ๆ เขาอาจสำรวจสิ่งของด้วยมือหรือปาก อาจยกสะโพกขึ้นในอากาศ หรือพยายามยกศีรษะหรือไหล่ขึ้นมา กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยฝึกให้เด็กใช้แขนและขาได้ตามธรรมชาติ และเด็กจะชอบเล่นในห้องกว้าง ๆ

อย่าจริงจังจนเกินไป

ทารกควรได้ออกกำลังกายอย่างเป็นธรรมชาติ ด้วยวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม มีกิจกรรมหลายอย่างที่ช่วยให้เกิดความสนุกสนาน และช่วยให้เด็กมีปฏิกิริยาตอบสนองกับเด็กคนอื่นมากขึ้น ถ้าอยากให้ลูกเรียนพิเศษที่เกี่ยวกับกิจกรรมที่ใช้ร่างกาย เช่น เรียนเต้นรำ ก็ควรพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้ด้วย

  • คุณครูได้รับการฝึกอบรมมาหรือไม่ และการออกกำลังกายปลอดภัยหรือเปล่า ควรปรึกษาคุณหมอก่อนสมัครเข้าเรียน และควรเฝ้าดูอย่างระมัดระวัง การออกกำลังกายชนิดที่มีการเขย่าตัวเด็กจะเป็นอันตราย และอาจทำให้เด็กเครียดมากกว่าจะสนุกสนาน
  • เด็กมีความสุขหรือไม่ เมื่อถึงเวลาออกกำลังกาย หากเด็กไม่ยิ้มหรือหัวเราะออกมาดัง ๆ ก็แสดงว่าเขาไม่รู้สึกกระตือรือร้นกับกิจกรรมนั้น ๆ คุณพ่อคุณแม่จึงควรระมัดระวังระวังเอาไว้ให้ดี ถ้าเด็กรู้สึกสับสนหรือหวาดกลัว เมื่อถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากจะทำ
  • มีอุปกรณ์หลายอย่าง ที่ควรใช้ให้เหมาะกับเด็กแต่ละวัย เช่น เด็กในช่วงอายุ 20 สัปดาห์นี้ ควรใช้อุปกรณ์ที่มีสีสันสดใส เช่น พรมปูพื้น ลูกบอล ของเล่นแบบเขย่า
  • เด็กได้เล่นอย่างอิสระหรือไม่ คลาสเรียนแบบนี้ มักจะปล่อยให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ แทนที่จะแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่ม ๆ
  • เน้นการเล่นดนตรีหรือไม่ เด็กส่วนใหญ่มักชอบเสียงเพลง หรือกิจกรรมเข้าจังหวะ เช่น การเต้น ร้องเพลง หรือทั้งร้องและเต้นในขณะออกกำลังกาย

ปล่อยให้ลูกได้ทำด้วยตัวเอง

การกระตุ้นให้เด็กออกกำลังกาย ในขณะที่เด็กยังไม่พร้อมหรือไม่สนใจ ก็อาจส่งผลทางด้านลบได้ ฉะนั้น จึงควรฝึกลูกเมื่อสังเกตเห็นว่าลูกพร้อม และควรหยุดเมื่อลูกตัวร้อนหรือมีอาการไม่สบาย นี่เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าไม่ควรทำต่อไปแล้ว

เติมพลังให้ลูกน้อย

โภชนาการที่ดีจะช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการทางด้านร่างกายได้ดีพอ ๆ กับการออกกำลังกาย จึงควรจัดเตรียมอาหารที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ และสารอาหารที่ครบถ้วน เพื่อเติมพลังงานให้ลูกน้อยได้อย่างเพียงพอ

เป็นตัวอย่างที่ดี

คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกน้อย ตัวอย่างที่ดีจากจะทำให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่ดีได้ เช่น เดินไปตลาดแทนที่จะนั่งรถไป ออกกำลังกายแทนที่จะนั่งกินมันฝรั่งทอดหน้าโทรทัศน์ หรือลงไปว่ายน้ำในสระแทนที่จะนั่งอาบแดดอยู่ข้างสระ เด็ก ๆ ก็จะรู้สึกดีกับการออกกำลังกายมากขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Your Baby: Week 20. https://www.webmd.com/baby/your-baby-week-20. Accessed July 6, 2018

Your baby’s growth and development – 5 months old. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/babys-growth-and-development-5-months-old. Accessed June 8, 2022.

Important Milestones: Your Baby By Six Months. https://www.cdc.gov/ncbddd/actearly/milestones/milestones-6mo.html. Accessed June 8, 2022.

5-6 months: baby development. https://raisingchildren.net.au/babies/development/development-tracker-3-12-months/5-6-months#:~:text=There%27s%20so%20much%20going%20on,signs%20that%20they%27re%20ready.. Accessed June 8, 2022.

4-5 months: baby development. https://raisingchildren.net.au/babies/development/development-tracker-3-12-months/4-5-months. Accessed June 8, 2022.

Baby Development: Your 5-Month-Old. https://www.webmd.com/parenting/baby/baby-development-5-months. Accessed June 8, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/12/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทารกไม่ชอบนอนเปล เป็นเพราะอะไร แก้ไขอย่างไรดี

ประโยชน์ของการฝึกให้ทารกว่ายน้ำ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา