backup og meta

โคเลแคลซิเฟอรอล (Cholecalciferol) หรือวิตามินดี 3 (Vitamin D3)

โคเลแคลซิเฟอรอล (Cholecalciferol) หรือวิตามินดี 3 (Vitamin D3)

ข้อบ่งใช้

โคเลแคลซิเฟอรอลหรือวิตามินดี 3 (Cholecalciferol or Vitamin D3)

โคเลแคลซิเฟอรอลหรือวิตามินดี 3 (Cholecalciferol/Vitamin D3) ใช้เพื่อรักษาหรือป้องกันสภาวะต่างๆ ที่เกิดจากการขาดวิตามินดี  ยาโคเลแคลซิเฟอรอล/วิตามินดี 3 ใช้โดยเฉพาะกับสภาวะที่เกี่ยวข้องกับผิวหรือกระดูก ยาโคเลแคลซิเฟอรอล/วิตามินดี 3 ยังอาจใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นนอกเหนือจากในคู่มือการใช้ยา

วิธีการใช้ยา โคเลแคลซิเฟอรอลหรือวิตามินดี 3

  • ควรทำตามวิธีการใช้ยาทั้งหมดบนฉลากยา ใยบางครั้งแพทย์อาจจะเปลี่ยนขนาดยาของคุณเพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับผลที่ดีที่สุด อย่ารับประทานยาในขนาดมากกว่า น้อยกว่า หรือนานกว่าที่แนะนำ
  • ตวงยาน้ำโดยใช้กระบอกยาที่แถมมาหรือใช้ช้อนหรือถ้วยสำหรับตวงยา หากไม่มีเครื่องมือสำหรับตวงยาโปรดสอบถามเภสัชกร
  • เคี้ยวยาเม็ดสำหรับเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน
  • วิธีการใช้ยาเม็ดแบบแตกตัว (ละลายเร็ว) วางเม็ดยาไว้บนลิ้นแล้วอย่ากลืนเม็ดยาลงไปทั้งเม็ด ปล่อยให้ยาละลายภายในปากโดยไม่ต้องเคี้ยว หากต้องการอาจจะดื่มน้ำตามเพื่อช่วยให้กลืนยาที่ละลายแล้วได้ลงไปง่ายขึ้น
  • ยาเวเฟอร์โคเลแคลซิเฟอรอลมักจะรับประทานแค่สัปดาห์ละครั้งหรือเดือนละครั้ง ควรทำตามวิธีการใช้ยาของแพทย์อย่างระมัดระวัง ต้องเคี้ยวยาเวเฟอร์ให้ละเอียดก่อนกลืน
  • ยาโคเลแคลซิเฟอรอลเป็นแค่ส่วนหนึ่งของโปรแกรมการรักษาอย่างสมบูรณ์ ที่อาจรวมถึงการรับประทานอาหารพิเศษ ควรทำตามแผนการรับประทานอาหารที่แพทย์หรือที่ปรึกษาด้านโภชนาการแนะนำ คุณควรจะทำความคุ้นเคยกับรายชื่อของอาหารที่ควรรับประทานหรือควรหลีกเลี่ยงเพื่อช่วยให้คุณสามารถควบคุมอาการได้ดีขึ้น

การเก็บรักษายา โคเลแคลซิเฟอรอล หรือ วิตามินดี 3

ยาโคเลแคลซิเฟอรอลหรือวิตามินดี 3 ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาโคเลแคลซิเฟอรอลหรือวิตามินดี 3 บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาโคเลแคลซิเฟอรอลหรือวิตามินดี 3 ลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูก สอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา โคเลแคลซิเฟอรอล หรือ วิตามินดี 3

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ของยาโคเลแคลซิเฟอรอลวิหรือตามินดี 3 หรือยาอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ

คุณไม่ควรใช้ยาโคเลแคลซิเฟอรอลหาก

  • คุณมีภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (hypercalcemia)
  • หากคุณมีภาวะวิตามินดีในร่างกายสูง (hypervitaminosis D)
  • หากคุณมีสภาวะใดๆ ที่ทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารจากอาหารได้ยากขึ้น (malabsorption)

เพื่อให้แน่ใจว่ายาโคเลแคลซิเฟอรอลนั้นปลอดภัยสำหรับคุณ โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณเป็นโรคดังนี้

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา

ยาโคเลแคลซิเฟอรอลหรือวิตามินดี 3 จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา โคเลแคลซิเฟอรอล หรือ วิตามินดี 3

รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันทีหากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

หยุดใช้ยาโคเลแคลซิเฟอรอลและติดต่อแพทย์ในทันทีหากคุณมีอาการดังนี้

  • ปัญหาเกี่ยวกับการคิด พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง รู้สึกหงุดหงิด
  • ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
  • ปวดหน้าอก รู้สึกหายใจไม่อิ่ม
  • สัญญาณเริ่มต้นของการบริโภควิตามินดีเกินขนาด (อ่อนแรง มีรสเหล็กภายในปาก น้ำหนักลด ปวดกล้ามเนื้อหรือปวดกระดูก ท้องผูก คลื่นไส้ และอาเจียน)

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาโคเลแคลซิเฟอรอลหรือวิตามินดี 3 อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่

  • ยารักษาอาการชัก
  • ยาคอเลสไทรามีน (Cholestyramine) ยาคอเลสทิพอล (colestipol)
  • ยาสเตียรอยด์
  • ยาไดจอกซิน (Digoxin)
  • ยาขับปัสสาวะหรือยาขับน้ำ

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาโคเลแคลซิเฟอรอลหรือวิตามินดี 3 อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาโคเลแคลซิเฟอรอลหรือวิตามินดี 3 อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยา โคเลแคลซิเฟอรอล หรือ วิตามินดี 3 สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะวิตามินดีไม่เพียงพอ (Vitamin D Insufficiency)

  • 600-2,000 หน่วยสากล รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด 4,000 หน่วยสากลต่อวัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะขาดวิตามินดี (Vitamin D Deficiency)

ขนาดยาเริ่มต้น

  • 50,000 หน่วยสากล สัปดาห์ละครั้งเป็นเวลา 8 สัปดาห์
  • 6,000 หน่วยสากล วันละครั้งเป็นเวลา 8 สัปดาห์
  • ขนาดยาปกติ 1,500 ถึง 2,000 หน่วยสากล วันละครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด 10,000 หน่วยสากลต่อวัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันการหกล้ม

  • 800 หน่วยสากล รับประทานวันละครั้ง
  • อาจต้องใช้ขนาด 1,500 ถึง 2,000 หน่วยสากล วันละครั้งเพื่อระดับของวิตามินดีในเลือดถึง 25(OH)D สูงกว่า 30 นาโนกรัม/มล.

ขนาดยาสำหรับผู้สูงอายุเพื่อป้องกันกระดูกหัก

อายุมากกว่า 800 ถึง 2,000 หน่วยสากล รับประทานวันละครั้ง

ขนาดยาโคเลแคลซิเฟอรอลหรือวิตามินดี 3 สำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาภาวะวิตามินดีไม่เพียงพอ

อายุ 0 ถึง 12 เดือน 400 หน่วยสากล วันละครั้ง

อายุ 1 ถึง 18 ปี 600 หน่วยสากล วันละครั้ง

ขนาดยาสูงสุด

  • จนถึงอายุ 6 เดือน 1,000 หน่วยสากลต่อวัน
  • อายุ 7 เดือน ถึง 1 ปี 1,500 หน่วยสากลต่อวัน
  • อายุ 1 ถึง 3 ปี 2,500 หน่วยสากลต่อวัน
  • อายุ 4 ถึง 8 ปี 3,000 หน่วยสากลต่อวัน
  • อายุ 9 ปีขึ้นไป 4,000 หน่วยสากลต่อวัน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาภาวะขาดวิตามินดี

จนถึงอายุ 1 ปี

  • 2,000 หน่วยสากล รับประทานวันละครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์
  • 50,000 หน่วยสากล สัปดาห์ละครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์
  • ขนาดยาปกติ 400 ถึง 1,000 หน่วยสากลต่อวัน

อายุ 1 ถึง 18 ปี

  • 2,000 หน่วยสากล รับประทานวันละครั้ง เป็นเวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์
  • 50,000 หน่วยสากล สัปดาห์ละครั้ง เป็นเวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์
  • ขนาดยาปกติ 600 ถึง 1,000 หน่วยสากลต่อวัน

ขนาดยาสูงสุด

  • จนถึงอายุ 1 ปี 2,000 หน่วยสากลต่อวัน
  • อายุ 1 ถึง 18 ปี 4,000 หน่วยสากลต่อวัน

รูปแบบของยา

ขนาดและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาน้ำสำหรับรับประทาน
  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน
  • ยาแคปซูลสำหรับรับประทาน
  • ยาเวเฟอร์สำหรับรับประทาน
  • ยาเม็ดแบบเคี้ยว
  • ยาน้ำสารละลายสำหรับรับประทาน
  • ผลึกประสม (Compounding crystal)
  • ยาเม็ดแตกตัว

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Cholecalciferol/ vitamin D3. https://www.drugs.com/mtm/cholecalciferol.html. Accessed August 29, 2017

Cholecalciferol/ vitamin D3. http://www.healthline.com/drugs/cholecalciferol/oral-tablet#Highlights1. Accessed August 29, 2017

VITAMIN D3 Tablet https://www.webmd.com/drugs/2/drug-6152/cholecalciferol-vitamin-d3-oral/details

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/02/2021

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิตามินดี ต่อผิวของคุณและสุขภาพโดยรวม

วิตามินดี (Vitamin D)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา