backup og meta

อาการเส้นเลือดในสมองตีบ สาเหตุ และการรักษา

อาการเส้นเลือดในสมองตีบ สาเหตุ และการรักษา

อาการเส้นเลือดในสมองตีบ คือ อาการที่ส่งผลให้มีปัญหาในการสื่อสาร อัมพาตที่ใบหน้า ซึ่งอาจเกิดขึ้นต่อเมื่อเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองบางส่วนได้เพียงพอ พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และถือว่าเป็นโรคที่ร้ายแรงคุกคามชีวิต ดังนั้น ควรเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว 

[embed-health-tool-heart-rate]

อาการเส้นเลือดในสมองตีบ มีสาเหตุมาจากอะไร

อาการเส้นเลือดในสมองตีบ มีสาเหตุมาจากหลอดเลือดอุดตันของลิ่มเลือดหรือไขมันอุดตันในหลอดเลือดทำให้ขวางการไหลเวียนของเลือดไปหล่อเลี้ยงสมองส่งผลให้สมองขาดเลือด โดยมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่าง ดังต่อไปนี้

  • น้ำหนักเกินเกณฑ์และเป็นโรคอ้วน ที่เกิดจากการรับประทานอาหารประเภทไขมัน คาร์โบไฮเดรตมากเกินไป
  • ความผิดปกติการแข็งตัวของหลอดเลือด
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • ระดับความดันโลหิตสูง
  • การใช้สารเสพติดและการสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในบุหรี่และสารติดอาจทำลายหลอดเลือดและส่งผลให้การไหลเวียนเลือดไปยังสมองได้ไม่ดี
  • โรคเบาหวาน
  • การทำงานของหัวใจบกพร่อง ทำให้หัวใจสูบเฉียดเลือดที่เพิ่มออกซิเจนและไปหล่อเลี้ยงสมองได้น้อยลง
  • เนื้อเยื่อติดเชื้อในกระแสเลือดและเดินทางไปยังสมองทำให้เกิดภาวะติดเชื้อ การอุดตันของหลอดเลือด

อาการเส้นเลือดในสมองตีบ มีอะไรบ้าง

อาการเส้นเลือดในสมองตีบ มีดังนี้

  • มีปัญหาในการสื่อสารทำให้พูดไม่ชัด และไม่เข้าในคำพูด
  • ใบหน้าอัมพาตครึ่งซีกหรือรู้สึกชาบริเวณแขน ขา ทำให้เกิดอาการอ่อนแรง
  • มีปัญหาในการมองเห็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ส่งผลให้ตาพร่ามัว มองเห็นเป็นภาพซ้อน
  • สูญเสียการได้กลิ่นและการรับรสชาติ
  • รู้สึกปวกศีรษะรุนแรง วิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน คลื่นไส้และอาเจียน
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลง
  • เป็นลมหมดสติ

การรักษาอาการเส้นเลือดในสมองตีบ

การรักษาอาการเส้นเลือดในสมองตีบ มีดังต่อไปนี้

  • ฉีดยาสลายลิ่มเลือด คุณหมออาจฉีดยาสลายลิ่มเลือดผ่านทางหลอดเลือดดำภายใน 4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการผิดปกติ เพื่อช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้นไปหล่อเลี้ยงสมอง
  • การใส่สายสวน เป็นวิธีรักษาที่อาจช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดจากหลอดเลือดตีบ โดยคุณหมออาจพิจารณาตามอาการของผู้ป่วยเนื่องจากการใส่สายสวนสามารถใส่ได้ 2 รูปแบบ คือ 1. การใส่สายสวนผ่านทางขาหนีบเพื่อนำส่งยาไปยังสมองโดยตรง 2.การติดตั้งอุปกรณ์ขยายหลอดเลือด เพื่อช่วยนำลิ่มเลือดที่อุดตันในหลอดเลือดสมองออก
  • การผ่าตัด คุณหมออาจผ่าตัดหลอดเลือดแดงบริเวณหลังคอเพื่อช่วยขจัดจุลินทรีย์ที่อุดกั้นในหลอดเลือด หรืออาจผ่าตัดด้วยการใช้รังสีที่มีความเข้มข้นสูง ซึ่งเป็นวิธีที่บุกรุกน้อยที่สุดและช่วยซ่อมแซมความผิดปกติของหลอดเลือด
  • การใส่บอลลูน คุณหมออาจติดตั้งบอลลูนกับสายสวนและผ่าตัดบริเวณขาหนีบเพื่อสอดสายสวน จากนั้นบอลลูนจะช่วยขยายหลอดเลือดช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก
  • การทำกายภาพบำบัด เช่น การพูด การสื่อสาร ความรู้ความเข้าใจ และการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยบรรเทาอาการจากภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดในสมองที่ส่งผลให้มีการสื่อสารลำบาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีการจดจำไม่ดี 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Stroke. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/stroke/symptoms-causes/syc-20350113.Accessed January 23, 2023   

Stroke. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/stroke/diagnosis-treatment/drc-20350119.Accessed January 23, 2023   

Ischemic Stroke (Clots). https://www.stroke.org/en/about-stroke/types-of-stroke/ischemic-stroke-clots.Accessed January 23, 2023   

Ischemic Stroke. https://medlineplus.gov/ischemicstroke.html.Accessed January 23, 2023   

Ischemic Stroke. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/24208-ischemic-stroke-clots .Accessed January 23, 2023  

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/01/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยิ่งเครียด สมองยิ่งล้า ความจำยิ่งถดถอย

ภาวะสมองเสื่อมหรือ Dementia คืออะไร และป้องกันได้อย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา