ผู้ที่ ติดเชื้อเอชไอวี ควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ ทั้งการรับประทานอาหาร และการ ออกกำลังกาย เพื่อดูแลให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ชะลอการพัฒนาของการติดเชื้อเอชไอวี และช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอชไอวี ทำให้ผู้ติดเชื้อสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
[embed-health-tool-ovulation]
ติดเชื้อเอชไอวี ควร ออกกำลังกาย อย่างไร
ตั้งนาฬิกาปลุก 2 เรือน
อาจเป็นเรื่องยากที่ต้องตื่นเช้าในระยะแรก เมื่อเริ่มออกกำลังกาย ดังนั้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถตื่นเช้าได้ตรงเวลาเพื่อออกกำลังกาย ให้ตั้งนาฬิกาปลุกไว้ 2 เรือนและวางไว้ให้ไกลจากเตียงนอน นาฬิกาปลุกเรือนแรกจะเตือนให้รู้ว่า เหลือเวลานอนอีกสักครู่ และนาฬิกาปลุกเรือนที่ 2 จะปลุกให้ตื่น
ดื่มและรับประทานอย่างเหมาะสม
การดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ เป็นสิ่งจำเป็นในระหว่างออกกำลังกาย น้ำที่ดื่มเข้าไปจะชดเชยน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป จำไว้ว่าการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม ช็อคโกแล็ต หรือแอลกอฮอล์ เป็นอันตรายอย่างยิ่ง และยังทำให้สูญเสียน้ำในร่างกายอีกด้วย
โดยอาจรับประทานอาหารว่าง หรืออาหารอื่นใดในปริมาณเล็กน้อยก่อนออกกำลังกาย พยายามรับประทานในระหว่างชั่วโมงแรกหลังออกกำลังกาย เพื่อเติมพลังให้แก่ร่างกาย การรับประทานอาหารว่างเล็กน้อย อย่างเช่น แอปเปิลหนึ่งผล หรือแซนด์วิชเนยถั่วชิ้นเล็ก พร้อมด้วยขนมปังผสมธัญพืชนานาชนิด ก่อนออกกำลังกาย สามารถช่วยเพิ่มพลังงานให้ร่างกายได้
โภชนาการที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน การทำกิจกรรมที่เพิ่มขึ้น ทำให้อาจจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่เพิ่มเติม เพื่อไม่ให้น้ำหนักลดลง อาจเตรียมอาหารมื้อเช้ารสชาติดีไว้ในตอนกลางคืน แล้วนำไปอุ่นในเตาอบไมโครเวฟในตอนเช้า สิ่งนี้อาจช่วยให้ตื่นเต้นมากขึ้นในการออกกำลังกาย การนึกถึงอาหารเช้าที่มีประโยชน์ ที่จะได้กินหลังการรออกกำลังกาย ถือเป็นการทดลองที่ดี
เลือกสิ่งที่ชอบ
เลือกกิจกรรมที่ชอบ ไม่ว่าจะเป็นโยคะ การวิ่ง การปั่นจักรยาน หรือกีฬาประเภทอื่น ๆ การลงมือทำสิ่งที่ชอบ จะกระตุ้นให้ทำได้อย่างสม่ำเสมอ ลองพักแล้วเดินไปรอบ ๆ ควรเริ่มต้นด้วยการออกกกำลังกายแบบเบา ๆ แล้วค่อยเพิ่มระดับขึ้น เมื่อสุขภาพดีขึ้น หากระดับความแข็งแรงของร่างกายเพิ่มมากขึ้น อาจลงแข่งขันกีฬาที่ชอบได้ การเข้าร่วมกีฬาประเภทแข่งขันหรือประเภททีม ไม่เป็นการเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อเอชไอวีไปยังนักกีฬาคนอื่นหรือครูฝึกกีฬาแต่อย่างใด
อย่าหักโหม
การวางแผนออกกำลังกายที่ไม่หักโหม อาจช่วยให้องค์ประกอบร่างกายดีขึ้น และช่วยลดภาวะความเสี่ยงต่อสุขภาพ เริ่มแรก ให้ทำอย่างช้า ๆ และกำหนดตารางการออกกำลังกายในกิจกรรมประจำวัน การหักโหมออกกำลังกาย อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ให้ออกกำลังกายตามตารางเป็นเวลาอย่างน้อย 20 นาที อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ เท่าที่จะสามารถทำได้ จะช่วยให้ระดับความแข็งแรงของร่างกายเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และจะรู้สึกดีขึ้นด้วย เมื่อความแข็งแรงและพละกำลังเพิ่มมากขึ้น ให้พยายามเพิ่มการออกกำลังกายเป็น 45 นาทีถึง 1 ชั่วโมง 3-4 ครั้ง/สัปดาห์