backup og meta

ข้าวบาร์เลย์ ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวัง

ข้าวบาร์เลย์ ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวัง
ข้าวบาร์เลย์ ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวัง

ข้าวบาร์เลย์ หรือบาร์เลย์ (Barley) คือธัญพืชชนิดหนึ่ง เมื่อสุกจะมีรสสัมผัสเหนียวนุ่ม และมีรสชาติออกมันเล็กน้อย คนนิยมรับประทานเป็นอาหาร

ข้าวบาร์เลย์ คืออะไร

ข้าวบาร์เลย์ หรือบาร์เลย์ (Barley) คือธัญพืชชนิดหนึ่ง เมื่อสุกจะมีรสสัมผัสเหนียวนุ่ม และมีรสชาติออกมันเล็กน้อย คนนิยมรับประทานเป็นอาหาร โดยเฉพาะในแถบประเทศอเมริกา นอกจากนี้บางส่วนก็อาจนำข้าวบาร์เลย์มาทำเป็นยา หรือเป็นส่วนประกอบหนึ่งในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกด้วย

ข้าวบาร์เลย์นั้นเชื่อกันว่ามีสรรพคุณที่สามารถในการรักษาโรคหัวใจและคอเลสเตอรอลสูง อีกทั้งยังอาจสามารถช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน หรือแม้กระทั่งโรคมะเร็งอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยยืนยันได้ว่า การรับประทานข้าวบาร์เลย์นั้นจะมีผลดังกล่าวหรือไม่

ข้าวบาร์เลย์นั้นนอกจากจะนำมารับประทานในรูปแบบของธัญพืชแล้ว ยังสามารถนำไปทำเป็นสารให้ความหวานจากธรรมชาติ หรืออาจนำไปหมักเพื่อผลิตเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ ได้อีกด้วย

ประโยชน์ของข้าวบาร์เลย์

เนื่องจากภายในข้าวบาร์เลย์นั้นจะมีใยอาหารสูง ซึ่งใยอาหารนี้อาจสามารถช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอลในเลือดได้ นอกจากนี้ข้าวบาร์เลย์ยังอาจสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและอินซูลิน (Insulin) ลงไป ทำให้สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือด และโรคเบาหวาน ใยอาหารในข้าวบาร์เลย์ยังต้องใช้เวลาในการย่อยนาน ทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลในระดับที่คงที่ ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง อีกทั้งยังทำให้เราอิ่มได้นานขึ้นอีกด้วย

ข้อควรระวังในการรับประทานข้าวบาร์เลย์

ข้าวบาร์เลย์นั้นอาจจะปลอดภัย หากรับประทานในปริมาณเท่าที่สามารถพบได้ในอาหาร แต่การรับประทานข้าวบาร์เลย์ก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • ท้องอืด
  • มีแก๊สในกระเพาะอาหาร
  • เรอ
  • จุกเสียด
  • แน่นท้อง
  • อาการแพ้ต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาต่อยา

ข้าวบาร์เลย์อาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร

โดยเฉพาะหากคุณกำลังใช้ยาดังต่อไปนี้

  • ยารักษาโรคเบาหวาน เนื่องจากข้าวบาร์เลย์นั้นอาจสามารถลดการดูดซึมของน้ำตาลจากอาหาร ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ การรับประทานยารักษาโรคเบาหวานร่วมกับข้าวบาร์เลย์ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำเกินไป และเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานข้าวบาร์เลย์ร่วมกับยารักษาโรคเบาหวาน
  • ยาสำหรับรับประทานอื่น ๆ เนื่องจากการรับประทานข้าวบาร์เลย์นั้นอาจลดการดูดซึมตัวยาอื่น ๆ และทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลงได้ ควรรออย่างน้อย 1 ชั่วโมง หลังจากรับประทานข้าวบาร์เลย์ แล้วจึงค่อยรับประทานยา

เพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาข้าวบาร์เลย์

ขนาดยาดังต่อไปนี้ ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้ว

สำหรับผู้ใหญ่

  • โรคหัวใจ รับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของข้าวบาร์เลย์ขนาด 6 กรัม ต่อวัน ร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ และมีคอเลสเตอรอลต่ำ
  • ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง รับประทานน้ำมันสกัดจากข้าวบาร์เลย์ 3 กรัม หรือแป้งข้าวบาร์เลย์ 30 กรัม หรืออาหารเสริมที่มีส่วนผสมของข้าวบาร์เลย์ 6 กรัม ต่อวัน

ปริมาณในการใช้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่น ๆ การใช้ข้าวบาร์เลย์ในรูปแบบอาหารเสริมอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษาเรื่องปริมาณที่เหมาะสม และวิธีการใช้งานอย่างปลอดภัยจากแพทย์หรือเภสัชกรเสมอ

รูปแบบของข้าวบาร์เลย์

  • ธัญพืชข้าวบาร์เลย์สำหรับรับประทาน
  • อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของข้าวบาร์เลย์
  • น้ำมันสกัดจากข้าวบาร์เลย์

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

BARLEY https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-799/barley

9 Impressive Health Benefits of Barley

 https://www.healthline.com/nutrition/barley-benefits

What are the health benefits of barley? https://www.medicalnewstoday.com/articles/295268

เวอร์ชันปัจจุบัน

13/03/2025

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

หัวปลี สารอาหารสำคัญ สรรพคุณทางยา และประโยชน์ของหัวปลี

ข้าวฟ่าง ธัญพืชเมล็ดจิ๋ว กับคุณประโยชน์แจ๋วเกินตัว


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 2 สัปดาห์ก่อน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา