backup og meta

ภาวะต่อมหมวกไตล้า ปัญหาที่เกิดจากความเครียดเรื้อรัง

ภาวะต่อมหมวกไตล้า ปัญหาที่เกิดจากความเครียดเรื้อรัง

ต่อมหมวกไต เป็นต่อมที่ผลิตฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อร่างกายและสุขภาพหลายอย่าง ต่อมหมวกไตมีส่วนสำคัญในการเผาผลาญไขมัน เผาผลาญโปรตีน ควบคุมระดับน้ำตาล ควบคุมความดันโลหิต และการตอบสนองต่อความเครียด หาก ต่อมหมวกไตล้า ผลิตฮอร์โมนได้ไม่เพียงพออาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ภาวะต่อมหมวกไตล้า ปัญหาที่เกิดจากความเครียดเรื้อรัง จนส่งผลกระทบต่อร่างกายมาฝากกันค่ะ

ภาวะต่อมหมวกไตล้า เกิดขึ้นจากอะไร

ทฤษฎีต่อมหมวกไตล้า (Adrenal Glands) เป็นทฤษฎีที่ถูกตั้งขึ้นโดย James Wilson ซึ่งเป็นแพทย์ทางเลือกและผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมชาติบำบัด เป็นทฤษฎีที่บอกว่าเมื่อร่างกายเกิดความเครียดสูงเป็นระยะยาวหรือเกิดความเครียดเรื้อรัง จนทำให้ต่อมหมวกไตทำงานหนัก จนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนออกมาไม่เพียงพอ จึงถูกเรียกว่าภาวะต่อมหมวกไตล้า

อาการที่บ่งบอกว่าร่างกายเกิดภาวะต่อมหมวกไตล้า ได้แก่ เหนื่อยล้า นอนหลับยาก ตื่นยาก ต้องการของหวาน ต้องการคาเฟอีนเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถพบได้โดยทั่วไป บางครั้งอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น

ดูแลรักษาตนเองอย่างไรเมื่อ ต่อมหมวกไตล้า

การดูแลตนเองและใช้วิธีการบำบัดด้วยวิธีทางธรรมชาติเป็นวิธีที่สามารถจัดการอาการที่เกิดจาก ต่อมหมวกไตล้า ได้ ดังนี้

อาหาร

การรับประทานอาหารมีส่วนช่วยทำให้ ต่อมหมวกไตล้า ได้น้อยลง โดยควรเลือกรับประทานอาหารที่สมดุล โดยการเพิ่มการบริโภคอาหารเหล่านี้

นอกจากนี้ยังควรลดการบริโภคอาหารบางชนิด เช่น

  • คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว โดยเฉพาะน้ำตาล
  • อาหารแปรรูป
  • อาหารทอด
  • คาเฟอีน

ลดความเครียด

ทฤษฎี ต่อมหมวกไตล้า มีพื้นฐานมาจากความเครียดระยายาวหรือการเกิดความเครียดเรื้อรัง การคลายเครียดจึงเป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยลดการเกิดภาวะ ต่อมหมวกไตล้า ซึ่งวิธีลดความเครียดในแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป ซึ่งวิธีการลดความเครียดเหล่านี้ถือเป็นวิธีที่ดี เช่น

หากรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หรือมีอาการซึมเศร้า ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยอย่าละเอียดว่า ปัญหาเหล่านั้นเกิดจากสาเหตุใด บางครั้งอาจเกิดจากภาวะต่อมหมวกไตล้า หรือปัญหาเหล่านี้อาจเกิดจากสภาวะสุขภาพอื่น ๆ เช่น หยุดหายใจขณะหลับ ภาวะซึมเศร้า หรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ ไม่ควรปล่อยให้มีอาการเรื้อรัง หากตรวจเร็วก็จะสามารถรักษาและบรรเทาอาการได้อย่างทันท่วงที

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Adrenal fatigue: What causes it?.https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/addisons-disease/expert-answers/adrenal-fatigue/faq-20057906.Accessed February 14, 2021

Adrenal Fatigue: Is It Real?.https://www.webmd.com/a-to-z-guides/adrenal-fatigue-is-it-real#1.Accessed February 14, 2021

Adrenal Fatigue.https://www.hormone.org/diseases-and-conditions/adrenal-fatigue.Accessed February 14, 2021

Adrenal Fatigue Treatment.https://www.healthline.com/health/adrenal-fatigue-treatment.Accessed February 14, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/02/2021

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

อากาศเปลี่ยนแปลง ฝนตก ร้อนจัด ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 22/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา