backup og meta

ภาวะปวดหลอน (Phantom Pain)

ภาวะปวดหลอน (Phantom Pain)

ภาวะปวดหลอน (Phantom Pain) เป็นอาการที่ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดหลังจากถูกตัดอวัยวะบางส่วนออกจากร่างกายเพราะคิดว่าอวัยวะที่ถูกตัดออกยังคงอยู่และสร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการปวดหลอนหลังจากถูกตัดอวัยวะได้ประมาณ  1 สัปดาห์

คำจำกัดความ

ภาวะปวดหลอน (Phantom Pain) คืออะไร

ภาวะปวดหลอน (Phantom Pain) เป็นอาการที่ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดหลังจากถูกตัดอวัยวะบางส่วนออกจากร่างกายเพราะคิดว่าอวัยวะที่ถูกตัดออกยังคงอยู่และสร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการปวดหลอนหลังจากถูกตัดอวัยวะได้ประมาณ  1 สัปดาห์

พบได้บ่อยเพียงใด

ภาวะปวดหลอนมักขึ้นกับผู้ป่วยที่ถูกตัดอวัยวะ

อาการ

อาการของภาวะปวดหลอน

ผู้ป่วยอาการปวดหลอนจะมีอาการที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลอนหลังจากการสูญเสียอวัยวะประมาณ 1 สัปดาห์  มีอาการแสดงออก เช่น คัน ชา ตะคริว รู้สึกปวดบิด ปวดแสบ

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของภาวะปวดหลอน

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะปวดหลอน แต่มีข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจาก ความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลายของอวัยวะที่ถูกตัดขา ทำให้ให้บริเวณที่สูญเสียอวัยวะไวต่อความรู้สึกมากกว่าปกติ

ปัจจัยเสี่ยงภาวะปวดหลอน

ปัจจัยดังต่อไปนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะปวดหลอน

  • ความเจ็บปวดก่อนการผ่าตัดอวัยวะ ก่อนที่จะทำการผ่าตัดอวัยวะ เรายังมีความทรงจำของความเจ็บปวด เมื่อผ่าตัดแล้วอาจทำให้ความทรงจำเจ็บปวดตรงนั้นยังคงอยู่
  • อาการปวดหลังการผ่าตัดอวัยวะ อาจเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลาย

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยภาวะปวดหลอน

ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วยอย่างละเอียด เพื่อจะได้วินิจฉัยและรักษาอาการได้อย่างถูกต้อง

การรักษาภาวะปวดหลอน

การรักษาภาวะปวดหลอนขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยมีรายละเอียดวิธีการรักษาดังต่อไปนี้

การรักษาด้วยยา

ในปัจจุบันไม่มียาที่ใช้สำหรับรักษาภาวะปวดหลอนเฉพาะ แพทย์จะจ่ายยาเพื่อบรรเทาอาการปวดหลอน ดังนี้

  • กลุ่มยาโอทีซี (Over-the-counter drugs : OTC) เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นาพรอกเซน (Naproxen) ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) หรืออะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen)
  • ยาต้านอาการซึมเศร้า เช่น อะมิทริปไทลีน (Amitriptyline)
  • กลุ่มยากันชัก เช่น กาบาเพนติน (Gabapentin)

การรักษาทางการแพทย์

  • การบำบัดกระจกเงาสะท้อน (Mirror box therapy) เป็นการบำบัดให้ผู้ป่วยในการออกกำลังกายมองเห็นคล้ายว่าส่วนที่ตัดอวัยวะอีกข้างออกยังคงอยู่ ทำให้ออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีผลกระทบกับส่วนที่ถูกตัดออก
  • บำบัดด้วยภาพเสมือนจริง (Virtual reality : VR) วิธีการรักษานี้จะคล้ายกับการบำบัดกระจกเงาสะท้อน เพื่อสร้างแขนขาเหมือนที่ตัวผู้ป่วยสามารถขยับเคลื่อนย้ายได้
  • การกระตุ้นเส้นประสาท (Transcutaneous nerve stimulation : TENS) การใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กเพื่อส่งกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นประสาทเพื่อบรรเทาอาการปวด

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับภาวะปวดหลอน

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับภาวะปวดหลอน มีวิธี ดังนี้

  • ผ่อนคลาย ตัวอย่างเช่น การทำสมาธิ นอกจากจะช่วยบรรเทาความเครียดยังช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ
  • กิจกรรมที่ชอบ การทำกิจกรรมที่เราชอบจะช่วยให้คุณไม่ต้องกังวลกับอาการปวดเมื่อย
  • ปรึกษาแพทย์ คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ การปฏิบัติอยู่เสมอ หรืออาจพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์การป่วยเป็นภาวะหลอนของคุณให้กับผู้ที่มีอาการแบบเดียวกันฟัง อาจจะช่วยให้คุณผ่อนคลาย อารมณ์ดีขึ้น

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Phantom pain. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/phantom-pain/symptoms-causes/syc-20376272 Accessed 30 July 2020

Phantom pain. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/phantom-pain/diagnosis-treatment/drc-20376278 Accessed 30 July 2020

What Is Phantom Limb Pain?. https://www.webmd.com/pain-management/guide/phantom-limb-pain# Accessed 30 July 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/08/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการปวดข้อศอก เรื่องเล็กๆ แต่มาพร้อมกับอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการปวดกล้ามเนื้อ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 04/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา