backup og meta

แผลตกสะเก็ด เมื่อไหร่..ทำไมถึงทำให้เรารู้สึกคันแผลทุกทีนะ

แผลตกสะเก็ด เมื่อไหร่..ทำไมถึงทำให้เรารู้สึกคันแผลทุกทีนะ

Hello คุณหมอ เชื่อว่าทุกคนคงคุ้นเคยกับความรู้สึกนี้กันมาแล้ว ทุกครั้งที่เรามีแผลที่กำลังใกล้จะหาย หรือเรียกกันง่าย ๆ ว่า แผลตกสะเก็ด มักจะทำให้เรานั้นรู้สึกมีอาการคันยิบ ๆ ทุกที แต่ก็ไม่สามารถจะเกาได้ เพราะเกรงว่าแผลจะกลับมาฉีกอีกครั้ง ดังนั้น วันนี้เราจึงมีคำตอบมาให้ทุกคน ได้ร่วมคลายข้อสงสัยนี้ไปพร้อม ๆ กันค่ะ

[embed-health-tool-bmi]

แผลตกสะเก็ด คืออะไร

แผลตกสะเก็ด เป็นกระบวนการอย่างหนึ่งในการซ่อมเซลล์ผิว หรือแผลของคุณที่ได้รับความเสียหาย โดยจะมีลักษณะเป็นก้อนสีดำแข็งก่อตัวอยู่รอบ ๆ แผลของคุณเพื่อเป็นเกราะป้องกันในช่วงของการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมาทดแทน

ทำไมแผลตกสะเก็ด ถึงทำให้เรารู้สึกคัน

ร่างกายของคนเรามีเส้นประสาทเล็ก ๆ ที่บอบบางอยู่ตามชั้นใต้ผิวหนัง เมื่อใดที่มีบางสิ่งบางอย่างไปรบกวน เช่น การตกสะเก็ด จนทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณเส้นประสาทนั้น ก็อาจสามารถทำให้คุณเกิดอาการคันขึ้นได้ อีกทั้งเส้นประสาทนี้มีความไวต่อสารฮีสตามีน (Histamine) ที่ร่างกายปล่อยออกมา เพื่อกระตุ้นเซลล์เนื้อเยื่อจากแผลของคุณให้เกิดการสร้างตัวขึ้นมาใหม่ จึงส่งผลให้เกิดเป็นปฏิกิริยาตอบสนอง ส่งผลให้คุณมีอาการคันเล็กน้อยต่อบริเวณแผลที่ผิวหนังของคุณฉีกขาด

กระบวนการพัฒนาของ แผลสด-แผลตกสะเก็ด

บาดแผลของคุณไม่ว่าจะขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ ก็ล้วนใช้ระยะเวลาในการรักษาจากระบบการทำงานของตามธรรมชาติของร่างกายคุณเองทั้งสิ้น โดยมีกระบวนการ 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

  • ระยะเลือดออก

เป็นระยะแรกที่เมื่อคุณประสบอุบัติเหตุจนเกิดการบาดเจ็บ และผิวหนังฉีกขาด ร่างกายของคุณจะทำการตอบสนองที่คุณสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน นั่นก็คือ การมีเลือดออกบริเวณบาดแผล พร้อมกับน้ำเหลือง จากนั้นของเหลวเหล่านี้จะทำการแข็งตัวเอง เพื่อลดอัตราการสูญเสียเลือด

  • ขั้นตอนการซ่อมแซมบาดแผล

ถัดมาจากระยะแรก ร่างกายคุณจะเริ่มทำการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ หรือแผลของคุณ โดยการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวออกมา เพื่อต่อต้านแบคทีเรีย และสิ่งสกปรกที่นำไปสู่การอักเสบ ปวด บวม บริเวณแผลของคุณ

  • การสร้างสะเก็ดปิดบาดแผล

การที่แผลของคุณจะทำ การตกสะเก็ด อาจขึ้นอยู่กับขนาดของแผล และการรักษาแผลคุณร่วมด้วย ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 1-4 สัปดาห์ ในขั้นตอนนี้ร่างกายของคุณจะทำการซ่อมแซมผิวหนังโดยการสร้าง สะเก็ด ที่มีลักษณะเป็นกลุ่มก้อนสีดำออกมาคลุมล้อมรอบแผลของคุณ เพื่อเป็นการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้น

  • ร่องรอยแผลเป็น

แน่นอนว่าเมื่อ สะเก็ด หลุดร่วงออกไปจนหมดแล้ว เนื้อเยื่อใหม่ที่เข้ามาแทนที่ อาจไม่ได้สมบูรณ์ดังเดิม พร้อมทั้งยังอาจทิ้งร่องรอยแผลเป็นเอาไว้ตามผิวหนัง แต่ถึงอย่างไรเราสามารถกำจัด หรือลดรอยแผลเป็นนี้ให้จางลงได้ โดยการทายาตามที่แพทย์ และเภสัชกรที่มีรับรองแนะนำ

วิธีดูแลรักษาอาการคัน จากแผลตกสะเก็ด

ถึงแผลของคุณจะอยู่ในช่วง การตกสะเก็ด แต่ยังคงจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาด้วยวิธีเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดอาการคันระคายเคืองบริเวณรอบ ๆ แผลของคุณ

  • รักษาความสะอาดรอบ ๆ แผลของคุณให้อยู่เสมอด้วยการนำน้ำเกลือฆ่าเชื้อ หรือน้ำสะอาด ชุบสำลีเช็ดอย่างเบามือ
  • หลีกเลี่ยงการถู หรือแกะเกาบริเวณแผลของคุณแรง ๆ หรืออาจใช้วิธีการปิดพลาสเตอร์ยาไว้
  • ประคบแผลของคุณด้วยน้ำเย็น เพื่อลดอาการบวมอักเสบ ประมาณ 20 นาที
  • เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ สะเก็ด แผลของคุณด้วยการทาปิโตรเลียมเจลลี่ หรือยารักษาทั่วไปตามร้านขายยาที่จำหน่ายโดยเภสัชกร
  • สวมเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ลดการเสียดสี บริเวณแผลตกเก็ดของคุณ

ในช่วง การตกสะเก็ด ส่วนใหญ่หากได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง ก็อาจทำให้แผลของคุณนั้นดูสวยงาม ยามที่สะเก็ดหลุดออกหมด แต่บางกรณีที่แผลตกสะเก็ดของคุณมีอาการปวดบวม หรือเลือดออกอย่างต่อเนื่อง โปรดรีบเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ในทันที เพื่อป้องกันการติดเชื้อเพิ่มเติมในแผลของคุณ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Why Do Scabs Itch? https://www.healthline.com/health/why-do-scabs-itch Accessed July 10, 2020

How to Get Rid of Scabs https://www.healthline.com/health/how-to-get-rid-of-scabs#treatment Accessed July 10, 2020

Ways to help scabs heal https://www.medicalnewstoday.com/articles/325836 Accessed July 10, 2020

Incision Care: Procedure Details https://my.clevelandclinic.org/health/treatments/15709-incision-care/procedure-details Accessed July 10, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/09/2024

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก การดูแลตัวเองที่บ้านอย่างถูกวิธี

แผลเป็นนูน หรือคีลอยด์ สาเหตุ และการรักษาที่เหมาะสม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 30/09/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา