ไข้ชัก (Febrile Convulsion) คืออาการชักจากไข้ ที่เกิดในเด็กที่มีอายุระหว่าง 3 เดือน ถึง 3 ปี โดยส่วนใหญ่มีไข้สูงถึง 39-40 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการชัก แขนและขากระตุก เป็นต้น
คำจำกัดความ
ไข้ชัก (Febrile Convulsion) คืออะไร
ไข้ชัก (Febrile Convulsion) คืออาการชักจากไข้ ที่เกิดในเด็กที่มีอายุระหว่าง 3 เดือน ถึง 3 ปี โดยส่วนใหญ่มีไข้สูงถึง 39-40 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการชัก แขน และขากระตุก เป็นต้น
พบได้บ่อยเพียงใด
อาการ โรคไข้ชัก มักเกิดขึ้นบ่อยในเด็กที่มีอายุระหว่าง 3 เดือน ถึง 3 ปี และในช่วงอายุ 12-18 เดือน
อาการ
อาการของ โรคไข้ชัก
อาการทั่วไปของ โรคไข้ชัก แบ่ง ออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
อาการชักจากไข้แบบธรรมดา
- แขนและขากระตุก
- ไม่สนองต่อสิ่งเร้า
- อารมณ์แปรปรวน
อาการชักจากไข้แบบซับซ้อน
- แขนและขากระตุก
- แขนและขาอ่อนแรง
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของอาการ โรคไข้ชัก
อาการชักจากไข้โดยส่วนใหญ่อาจเกิดจากการที่เด็กได้รับฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน โดยจะมีไข้ 8-14 วันหลังได้รับฉีดวัคซีน และอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้ผื่นกุหลาบ เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยงของอาการ โรคไข้ชัก
- อายุ มีอายุระหว่าง 3 เดือน ถึง 3 ปี และในช่วงอายุ 12-18 เดือน
- ประวัติครอบครัว หากสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็น โรคไข้ชัก อาจส่งผลให้สมาชิกในครอบครัวมีโอกาสเป็น โรคไข้ชัก ได้มากกว่าคนปกติทั่วไป
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัย โรคไข้ชัก
ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาหารผู้ป่วย รวมถึงทำการทดสอบอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อทำการวินิจฉัยโรค ดังต่อไปนี้
- การเจาะหลังเพื่อทดสอบการติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ถ้าต้องการ
- สำหรับโรคไข้ชักแบบซับซ้อน เพื่อยืนยันในกรณีที่สงสัยว่าเป็นโรคไข้ชักแบบซับซ้อน
- การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อทดสอบว่าไข้ชักเป็นต้นเหตุของสมองถูกทำลายในเด็กหรือไม่
การรุักษาอาการไข้ชัก
โดยปกติอาการชักจากไข้จะเกิดขึ้นและหายภายในไม่กี่วินาที ผู้ปกครองควรพาเด็กไปโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาทันที โดยแพทย์อาจจะจ่ายยานอนหลับไดอะซีแพม (Diazepam) ให้แก่ผู้ป่วย
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองบรรเทาอาการไข้ชัก
หากลูกมีอาการชัก ผู้ปกครองควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ เพื่อบรรเทาอาการชัก
- จับเด็กพลิกนอนตะแคง และหลีกเลี่ยงการทำสิ่งของเข้าปาก
- คอยสังเกตอย่างใกล้ชิดและเก็บวัตถุหรือสิ่งของที่อยู่ใกล้ ๆ เด็กออก
- ขณะเด็กชัก ห้ามจับตัวเด็กให้หยุดชัก
[embed-health-tool-bmi]