backup og meta

อาการท้องร่วงของนักเดินทาง (Traveler's Diarrhea) โรคระบบทางเดินอาหารของนักท่องเที่ยว

อาการท้องร่วงของนักเดินทาง (Traveler's Diarrhea) โรคระบบทางเดินอาหารของนักท่องเที่ยว

เรื่องอาหารการกินถือเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากของเหล่านักเดินทาง แต่บางครั้งอาหารต่างสถานที่ก็อาจจะไม่ถูกกับระบบย่อยอาหารของคุณก็เป็นได้ จนส่งผลทำให้เกิด อาการท้องร่วงของนักเดินทาง ขึ้นมา ดังนั้น ก่อนที่จะเดินทางไปไหน ลองมาศึกษาบทความของ Hello คุณหมอ กันก่อนดีกว่า

อาการท้องร่วงของนักเดินทาง (Traveler’s Diarrhea) คืออะไร

อาการท้องร่วงของนักเดินทาง (Traveler’s Diarrhea) คือการติดเชื้อในลำไส้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการกินอาหาร ดื่มน้ำที่มีสิ่งปนเปื้อน หรือแม้แต่ผู้ประกอบอาหารไม่ยอมล้างมือให้สะอาดหลังจากเข้าห้องน้ำเสร็จ ก็จะทำให้สามารถแพร่เชื้อไปยังอาหารที่นักเดินทางกินได้เช่นกัน

สำหรับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอาการท้องร่วงของเหล่านักเดินทาง ก็ได้แก่ ประเทศกำลังพัฒนาในแถบแอฟริกา ตะวันออกกลาง ละตินอเมริกา อเมริกากลาง อเมริกาใต้ เม็กซิโก และเอเชียส่วนใหญ่ ยกเว้นญี่ปุ่น ซึ่งความเสี่ยงของการติดเชื้อก็จะแตกต่างกันไปตามประเภทของการสัมผัส ถ้าคุณกินอาหารที่ร้อนๆ อาหารปรุงสุก และเครื่องดื่มที่ปิดนึกอย่างดีจากโรงงาน ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการท้องร่วงค่อนข้างต่ำ แต่ถ้าคุณกินผักสด ผลไม้ และน้ำประปา ก็อาจจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอาการท้องร่วงได้ ซึ่งเชื้อที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วงก็คือ เชื้อแบคทีเรียอีโคไล (E.coli) นั่นเอง

อาการของอาการท้องร่วงของนักเดินทาง (Traveler’s Diarrhea) ที่เกิดขึ้น

อาการท้องร่วงของนักเดินทางนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะถ่ายเป็นน้ำและมีอาการปวดท้องร่วมด้วย ซึ่งอาการนี้จะเป็นอาการที่พบบ่อยมากที่สุด แต่ความจริงแล้วยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับสาเหตุต่างๆ ซึ่งอาการที่ปรากฏก็จะมีดังนี้

อาการที่กล่าวมาข้างต้นถือเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตามหากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย แนะนำว่าควรรีบเข้ารับการรักษาจะเป็นการดีที่สุด ซึ่งอาการต่างๆ ได้แก่

  • อาการปวดอย่างรุนแรง จนปวดเข้าไปถึงในช่องท้องหรือทวารหนัก
  • อาเจียนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 4 ชั่วโมง ทำให้สูญเสียของเหลวในร่างกาย
  • ไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส
  • อุจจาระเป็นเลือด
  • มีอาการของภาวะขาดน้ำ

วิธีการรักษาอาการท้องร่วงของนักเดินทาง

อาการท้องร่วงของนักเดินทางอาจดีขึ้นเองโดยไม่ต้องรักษา แต่ในขณะที่กำลังสังเกตอาการอยู่นั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้ ก็คือ การพยายามรักษาความชุ่มชื้นด้วยของเหลวที่ปลอดภัย เช่น น้ำดื่มที่บรรจุขวด แต่ถ้าหากอาการยังไม่ดีขึ้นก็ยังมียาอีกหลายชนิดที่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้

  • สำหรับยาที่ช่วยลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ (Anti-motility agents) นั้นรวมไปถึง ยาโลเพอราไมด์ (loperamide) ที่ใช้บรรเทาอาการท้องเสียแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง และมียาไดเฟนอกไซเลต (Diphenoxylate) ที่สามารถบรรเทาอาการได้ทันที แต่ยาเหล่านี้ช่วยบรรเทาอาการได้แค่ชั่วคราวเท่านั้น โดยการลดการกระตุกของกล้ามเนื้อในทางเดินอาหาร เวลาที่ทานอาหารลงไปแล้วอาหารต้องถูกส่งผ่านระบบย่อยอาหาร และทำให้มีเวลาให้ร่างกายได้รับการดูดซึมมากขึ้น แต่ยาที่ช่วยลดการเคลื่อนไหวของลำไส้นั้น ไม่แนะนำให้ใช้กับทารก ผู้ที่มีไข้ หรือถ่ายเป็นเลือด เนื่องจากทำให้ติดเชื้อและอาการอาจจะแย่ลงได้ นอกจากนี้ให้หยุดใช้ยาที่ช่วยลดการเคลื่อนไหวของลำไส้หลังจาก 48 ชั่วโมง ถ้าหากคุณมีอาการปวดท้อง ยังคงท้องเสียอยู่ และอาการดูแย่ลง การไปพบผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
  • บิสมัท ซับซาลิไซเลต (bismuth subsalicylate)  เป็นยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ สามารถลดความถี่ในการถ่ายอุจจาระ และลดระยะเวลาการเจ็บป่วยของคุณ อย่างไรก็ตามไม่แนะนำสำหรับเด็ก สตรีมีครรภ์ หรือผู้ที่แพ้ยาแอสไพริน
  • ยาปฏิชีวนะ หากคุณมีการถ่ายอุจจาระเหลวมากกว่า 4 ครั้งต่อวัน หรือมีอาการรุนแรง รวมถึงมีไข้ เลือด หนอง หรือมูกในอุจจาระ แพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะให้

ดังนั้น ก่อนออกเดินทางทุกครั้งควรปรึกษาแพทย์เรื่องใบสั่งยา ในกรณีที่คุณมีอาการท้องร่วงจากการเดินทางเป็นเวลานาน

Hello Health Groupไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Traveler’s Diarrhea. https://www.webmd.com/digestive-disorders/travelers-diarrhea#1. Accessed January 16, 2020

Traveler’s diarrhea. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/travelers-diarrhea/diagnosis-treatment/drc-20352188. Accessed January 16, 2020

Traveler’s Diarrhea: What You Should Know. https://www.healthline.com/health/travelers-diarrhea. Accessed January 16, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

ท้องเสีย อาหารที่ควรกิน อาหารที่ควรเลี่ยง เพื่อให้อาการดีขึ้น

เดี๋ยวท้องเสีย เดี๋ยวท้องผูก! ไม่อยาก ท้องไส้ปั่นป่วน เวลาไปเที่ยว เราป้องกันได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา