สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

มูกไข่ตก เป็นอย่างไร ส่งผลต่อการตั้งครรภ์หรือไม่

ไข่ตกเป็นกลไกธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับร่างกายผู้หญิง เมื่อถึงวัยมีประจำเดือน โดยไข่ตกจะใช้เวลาเฉลี่ยรอบละ 28 – 35 วัน นับจากวันแรกที่ประจำเดือนมา ซึ่งวันไข่ตกจะเป็นวันที่ไข่สุกออกจากรังไข่ จากนั้นไปยังส่วนปลายของท่อนำไข่ สำหรับมูกไข่ตกเป็นสัญญาณของร่างกายบ่งบอกว่าเป็นช่วงวันไข่ตก คนที่วางแผนมีลูกควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลานี้ [embed-health-tool-ovulation] มูกไข่ตก เป็นอย่างไร มูกไข่ตกจะมีลักษณะเป็นของเหลวที่ร่างกายผลิตออกมา ซึ่งจะขับออกจากปากมดลูก มูกชนิดนี้จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มูกช่องคลอด (Cervical Mucus) หรือตกขาว โดยมูกไข่ตกหลั่งออกมาจากต่อมบริเวณปากมดลูก ไม่เหมือนกับน้ำหล่อลื่นที่หลั่งจากช่องคลอด (Vagina) ลักษณะของมูกไข่ตกและปริมาณของมูกสัมพันธ์กับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นมูกไข่ตกให้หลั่งออกมา เพราะช่วงระหว่างรอบเดือน ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนมากขึ้น  ลักษณะของมูกช่องคลอด  ลักษณะของมูกไข่ตกหรือมูกช่องคลอด จะเปลี่ยนแปลงในรอบ 28 วัน สำหรับผู้ที่วางแผนการมีบุตร สามารถสังเกตมูกไข่ตกได้ดังนี้ มูกช่องคลอดหลังหมดรอบเดือน : หลังจากมีประจำเดือนไปแล้ว ร่างกายจะผลิตมูกช่องคลอดออกมาน้อย อาจพบว่ามูกจะมีลักษณะแห้ง ๆ หรือเหนียวข้น แต่พบได้น้อยมาก มูกก่อนไข่ตก : ลักษณะของมูกจะเริ่มมีสีขาวคล้ายครีม อาจมีความข้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย มูกไข่ตก : ก่อนวันไข่ตกเล็กน้อย มูกจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีใส ๆ คล้ายไข่ขาวดิบ จนถึงวันไข่ตก มูกจะเหนียวใส ลื่นแล้วยืดหยุ่นดี แสดงถึงความชุ่มชื้นสูง ผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์สามารถเริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้ […]

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

ทำยังไงให้ประจำเดือนมา ประจำเดือนไม่มาเกิดจากอะไร

ทำยังไงให้ประจำเดือนมา ? หากประจำเดือนไม่มาตามปกติ โดยทั่วไป มักเกิดจากฮอร์โมนแปรปรวน ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างซึ่งอาจช่วยให้ประจำเดือนมาตามปกติได้ เช่น หากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำแต่ไม่หักโหม ทั้งนี้ หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วประจำเดือนยังไม่มา ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างตรงจุด [embed-health-tool-bmi] ประจำเดือนไม่มาเกิดจากอะไร ภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อผู้หญิงประจำเดือนไม่มาตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ซึ่งอาจเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ดังนี้ สาเหตุตามธรรมชาติ การตั้งครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์ ร่างกายจะหยุดผลิตไข่จากรังไข่ตลอดการตั้งครรภ์ และเตรียมมดลูกให้พร้อมสำหรับรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ส่งผลให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่สลายตัวไปเป็นประจำเดือน การให้นมบุตร หลังคลอด ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ที่ทำหน้าที่สร้างน้ำนมซึ่งยับยั้งไม่ให้ไข่ตก ทำให้ในช่วงนี้ไม่เป็นประจำเดือน วัยหมดประจำเดือน เมื่ออายุประมาณ 50 ปีจะถือว่าเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเพศจะลดลงตามธรรมชาติ ประจำเดือนจะมาน้อยลงหรือมาไม่ปกติ จนกระทั่งรังไข่ไม่ผลิตไข่ และทำให้ประจำเดือนไม่มาอีกต่อไป สาเหตุจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ทำให้ฮอร์โมนเพศสูงอยู่แทบจะตลอดเวลาแทนที่จะขึ้นลงตามรอบเดือน ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจมีทั้งประจำเดือนไม่มาติดต่อกันหลายเดือน ประจำเดือนมาน้อยหรือมามากกว่าปกติ เนื้องอกต่อมใต้สมอง เนื้องอกอาจไปรบกวนการควบคุมฮอร์โมนเพศ ส่งผลให้ประจำเดือนไม่มาตามปกติ ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ภาวะพร่องต่อมไทรอยด์ อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือประจำเดือนไม่มาเลยได้ ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร (Premature […]


สุขภาพทางเพศ

เป็นประจําเดือน ปวดหัว เกิดจากอะไร ดูแลตัวเองยังไง

ผู้หญิงหลายคนอาจสังเกตว่าตัวเอง เป็นประจําเดือน ปวดหัว และต้องการทราบว่าเกิดจากอะไรและต้องดูแลตัวเองอย่างไร โดยทั่วไป อาการที่เกิดขึ้นช่วงเป็นประจำเดือน เช่น ปวดหัว ปวดหลัง เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว มักเกิดจากระดับฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน โดยเฉพาะระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ควรดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยการกินยาบรรเทาปวด พักผ่อนให้เพียงพอ เปลี่ยนยาคุมกำเนิดที่อยู่ใช้ หากิจกรรมผ่อนคลายและลดความเครียด เป็นต้น [embed-health-tool-bmi] เป็นประจําเดือน ปวดหัว เกิดจากอะไร เป็นประจําเดือน ปวดหัวหรือที่เรียกว่าไมเกรนประจำเดือน (Menstrual migraine) เป็นอาการที่สัมพันธ์กับการเป็นประจำเดือน โดยในช่วงก่อนที่ร่างกายจะเริ่มมีประจำเดือนในแต่ละรอบเดือน ระดับฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนจะลดลงอย่างกะทันหัน ส่งผลให้มีอาการปวดหัว นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ปวดหัวได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการกินยาคุมกำเนิด หรือการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อบรรเทาอาการวูบวาบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งจะส่งผลให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง อาการ เป็นประจําเดือน ปวดหัว อาการไมเกรนขณะมีประจำเดือนจะเหมือนกับอาการปวดหัวไมเกรน ดังนี้ อาการปวดหัวที่มีความรุนแรงไม่มากไปจนถึงรุนแรง เหงื่อออกเยอะ หนาวสั่น ร่างกายมีความไวต่อแสง เสียง หรือกลิ่น ปวดตึงบริเวณหนังหัว ไม่อยากอาหาร วิงเวียนศีรษะ สายตาพร่ามัว ตัวซีด เหนื่อยล้า คลื่นไส้ อาเจียน ท้องไส้ปั่นป่วน ปวดท้อง ท้องเสีย หรือมีไข้ (พบได้ไม่บ่อย) อาการร่วมอื่น […]


สุขภาพทางเพศ

เมนส์มาน้อย ผิดปกติหรือไม่ ประจำเดือนมาน้อย เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

เมนส์มาน้อยหรือประจำเดือนมาน้อย อาจเป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ หรือเป็นเพราะร่างกายส่งสัญญาณอันตราย ความเสี่ยงต่อโรคที่ต้องพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด [embed-health-tool-ovulation] เมนส์ คืออะไร ประจำเดือนหรือเมนส์ คือ การหลุดลอกตัวของผนังเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อเตรียมไว้สำหรับรับการฝังตัวของตัวอ่อน แต่เมื่อไม่มีการฝังตัว ผนังเยื่อบุโพรงมดลูกจะผลัดออกมาตามการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ปรากฎเป็นเลือดออกมาทางช่องคลอดเป็นประจำทุกเดือน โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนช่วงอายุ 12 ปี  ประจำเดือนแบบไหนปกติ เมนส์มาปกติควรมาไม่เกิน 7 วันต่อรอบเดือน มาเพียงเดือนละ 1 ครั้ง ยกเว้นผู้หญิงที่มีเมนส์ช่วงต้นเดือน อาจมาอีกครั้งในช่วงปลายเดือนก็ได้ รอบเดือนแต่ละครั้งจะห่างกัน 28 วันโดยเฉลี่ย แต่อาจเป็นประจำเดือนได้ตั้งแต่ 21 ถึง 35 วัน ผู้ที่เริ่มมีรอบเดือนในช่วงปีแรก ๆ และวัยใกล้หมดประจำเดือน อาจพบว่า เมนส์มาไม่สม่ำเสมอได้ ปริมาณของประจำเดือน ไม่ควรเกิน 80 ซีซี ปกติแล้วค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 35 ซีซีต่อรอบ เปรียบเทียบปริมาณได้กับผ้าอนามัยประมาณ 3-4 ผืนต่อวัน หากเมนส์มาน้อยกว่านี้อาจพบความผิดปกติได้ สาเหตุที่ทำให้เมนส์มาน้อย ประจำเดือนมาไม่ปกติเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุที่ทำให้เมนส์มาน้อย เช่น ภาวะเครียดหรือวิตกกังวล : ความเครียดจากทั้งการเรียน การทำงาน และปัญหาส่วนตัว ล้วนส่งผลต่อฮอร์โมนในร่างกายที่ผิดปกติ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เมนส์มาน้อย […]


การคุมกำเนิด

ยาคุมฉุกเฉินกินภายในกี่ชั่วโมง ถึงปลอดภัย ช่วยคุมกำเนิดได้จริง

ยาคุมฉุกเฉินเป็นยาคุมกำเนิดที่ควรใช้เฉพาะช่วงเวลาฉุกเฉินเท่านั้น หากรับประทานยาคุมฉุกเฉินบ่อย ๆ อาจเสี่ยงต่ออันตรายได้ อีกทั้งหากใช้อย่างไม่ถูกต้องอาจส่งผลให้ยาคุมมีประสิทธิภาพลดลงได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาว่า ยาคุมฉุกเฉินกินภายในกี่ชั่วโมง ถึงจะปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูงสุด [embed-health-tool-ovulation] ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน คืออะไร ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน หรือยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบฉุกเฉิน (Emergency Contraception Pill) มักจะเป็นยาคุมกำเนิดฉุกเฉินชนิดฮอร์โมนเดี่ยว มีเฉพาะฮอร์โมนโพรเจสติน ส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ ตัวยาสำคัญ Levonorgestrel เป็นสารสังเคราะห์เลียนแบบฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน มี 2 ขนาด คือ 0.75 มิลลิกรัมต่อเม็ด และ 1.5 มิลลิกรัมต่อเม็ด ออกฤทธิ์ในการรบกวนหรือชะลอการตกไข่ จึงช่วยลดโอกาสการตั้งครรภ์ได้ ยาคุมฉุกเฉินกินภายในกี่ชั่วโมง ยาคุมฉุกเฉิน ขนาด 0.75 มิลลิกรัม ควรรับประทานให้เร็วที่สุดหลังมีเพศสัมพันธ์ อย่างช้าไม่เกิน 72 ชั่วโมง ส่วนเม็ดที่ 2 ให้ห่างกัน 12 ชั่วโมง การรับประทานยาเม็ดแรกภายใน 72 ชั่วโมง แล้วตามด้วยยาเม็ดที่สอง จะทำให้ ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 75% แต่หากเริ่มรับประทานยาภายใน 24 ชั่วโมง […]


สุขภาพทางเพศ

เพศหลากหลายกับเชื้อไวรัส HPV ติดง่ายแค่ไหน?

HPV คือ Human Papilloma Virus เป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทำให้เกิดหูดหงอนไก่และเกิดมะเร็งต่าง ๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก หรือมะเร็งช่องปากและลำคอได้ เพศสัมพันธ์…ไม่ว่าจะเป็นเพศใดกับเพศใด หรือกับช่องทางใด ล้วนแต่เป็นเรื่องปกติ ไม่ถือว่าเป็นการเบี่ยงเบนแต่ใดๆ แต่หากไม่ป้องกัน ก็อาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์รวมทั้ง HPV ด้วย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเชื้อไวรัส HPV นั้น ถึงแม้จะสวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่ ก็ยังสามารถติดต่อจากการเสียดสีภายนอกได้อีกด้วย รวมถึงการทำออรัลเซ็กส์ ก็สามารถติดต่อเชื้อ HPV ได้เช่นกัน ซึ่งจากการวิจัยพบว่า ”ทุกเพศ” มีโอกาสติดเชื้อ HPV ได้ทั้งสิ้น  จากรายงานการวิจัยพบว่า 8 ใน 10 ของบุคคลทั่วไปได้รับเชื้อไวรัส HPV ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ซึ่งหากมาเจาะลึกกันเรื่องเพศวิถี พบว่าผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย (MSM) พบการติดเชื้อไวรัส HPV สูงกว่าผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิง(MSW) 2-5 เท่า การติดเชื้อ HPV เป็นเหมือนภัยเงียบ อาจไม่แสดงอาการใดๆ กว่า 10 ปี ซึ่งจะแสดงอาการเมื่อลุกลามแล้ว ทำให้ไม่รู้ว่าได้รับเชื้อมา และอาจแพร่ไปสู่ผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว แม้ว่าส่วนใหญ่ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะกำจัดเชื้อ HPV ไปได้ แต่มีบางส่วนที่ไม่สามารถกำจัดได้ […]


โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

9 เรื่อง HPV ไวรัสร้าย ใกล้ตัว พ่อแม่ต้องรู้!

1. HPV อันตรายกว่าคิด เชื้อ HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นไวรัสก่อให้เกิดโรคบริเวณอวัยวะเพศหลายชนิด โดยก่อโรคได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย 2. HPV ก่อโรคได้ทั้งชายและหญิง  การติดต่อเกิดได้จากการสัมผัส เช่น เพศสัมพันธุ์ หรือการสัมผัสรุนแรง บริเวณอวัยวะเพศ  ดังนั้น สำคัญอย่างมากที่จะป้องกันพวกเขาก่อนมีความเสี่ยงรับเชื้อในอนาคต  3. HPV ไวรัสร้ายใกล้ตัว พบบ่อย 8 ใน 10 คนเคยได้รับเชื้อ HPV ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต 4. HPV เป็นภัยเงียบ เมื่อติดเชื้อ HPV เชื้ออาจซ่อนตัวอยู่ และยังไม่แสดงอาการใดๆกว่า 10 ปี ซึ่งจะแสดงอาการเมื่อลุกลามแล้ว ทำให้ไม่รู้ว่าได้รับเชื้อมาและอาจแพร่ไปสู่ผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว แม้ว่าการติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่หายได้เองก็จริง อย่างไรก็ตาม มีบางส่วนที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ เชื้อจะคงที่อยู่นาน และพัฒนาไปเป็นมะเร็งในอนาคต 5. เชื้อไวรัส HPV ที่ก่อโรคบริเวณอวัยเพศและทวารหนักมีประมาณ 40 สายพันธุ์ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ สายพันธุ์ความรุนแรงสูง ได้แก่ 16, 18, 33, […]


โรคติดเชื้อเอชพีวี

วัคซีน HPV ในสตรีวัยทำงาน ที่ผู้หญิงทุกคนจำเป็นต้องรู้!

จากสถิติมะเร็งในสตรีไทยของ GLOBOCAN 2018 มะเร็งปากมดลูกพบเป็นอันดับที่ 2 รองมาจากมะเร็งเต้านม โดยมี อุบัติการณ์ 16.2 ต่อสตรี 100,000 คน/ปี มีผู้ป่วยรายใหม่ปีละ 8,622 คน หรือ ประมาณ 24 คนต่อวัน และเสียชีวิตปีละ 5,015 คน หรือประมาณ 14 คนต่อวัน มะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้ เนื่องจากสามารถป้องกันได้หลายวิธี ทั้งโดยการฉีดวัคซีน HPV ป้องกันการติดเชื้อ HPV และการตรวจคัดกรองซึ่งมีหลากหลายวิธี ที่มีประสิทธิภาพวัคซีน HPV ที่มีใช้ในประเทศไทย ในปัจจุบันสามารถ  ป้องกันการติดเชื้อ HPV16 และ HPV18 ซึ่งเป็นสาเหตุประมาณ 70-75% ของมะเร็งปากมดลูกในสตรีไทย นอกจากนี้ ยังมีสายพันธุ์อื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ได้แก่ HPV 31, HPV 33, HPV 45, HPV 52 […]


สุขภาพทางเพศ

ไข้ทับระดูเป็นกี่วัน และควรดูแลตัวเองอย่างไรให้หายไวๆ

ไข้ทับระดู เป็นอาการเจ็บป่วยที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ในช่วงก่อนเป็นประจำเดือนและขณะเป็นประจำเดือน ซึ่งมักมีคำถามว่า ไข้ทับระดูเป็นกี่วัน และควรดูแลตัวเองอย่างไร โดยทั่วไป เมื่อเป็นแล้วอาการต่าง ๆ จะหายไปภายใน 1-5 วัน และควรดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึก ดื่มน้ำให้มาก ๆ กินยาแก้ปวดหรือลดไข้ อาจช่วยให้อาการดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] ไข้ทับระดูเกิดจากอะไร ไข้ทับระดูเป็นอาการเจ็บป่วยจากการเป็นประจำเดือน โดยมดลูกจะผลิตโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติเหมือนฮอร์โมนที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบรัดตัวเพื่อขับเยื่อบุมดลูกให้สลายไปเป็นเลือดประจำเดือน โพรสตาแกลนดินที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ ปวดเมื่อยตามตัว ร้อนวูบวาบ ทั้งยังทำให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนไป  นอกจากนี้ ความแปรปรวนของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) และเอสโตรเจน (Estrogen) ก่อนมีประจำเดือนยังอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในช่วงก่อนและระหว่างมีประจำเดือน อาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อจนเป็นไข้หวัดได้ง่ายกว่าปกติ อาการไข้ทับระดู อาการของไข้ทับระดูมีระดับความรุนแรงและลักษณะของอาการที่แตกต่างไปในแต่ละคน อาจมีดังนี้ มีไข้ต่ำ ๆ  หนาวสั่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ท้องผูก อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว ปวดท้อง ไข้ทับระดูเป็นกี่วัน ผู้หญิงอาจเป็นไข้ทับระดูประมาณ 1-5 วันและหายไปเองเมื่อประจำเดือนหมดในรอบนั้น โดยระดับความรุนแรงจะแตกต่างไปในแต่ละคน นอกจากนี้ อาการคล้ายไข้หวัดและความไม่สบายตัวที่เกิดขึ้นในช่วงนี้อาจคล้ายคลึงหรือทับซ้อนกับอาการกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกายที่ทำให้เหนื่อยง่าย ปวดท้อง อารมณ์แปรปรวนได้  โดยปกติ อาการไม่สบายจะเกิดในช่วงก่อนที่ประจำเดือนมาไม่กี่วัน หรือในบางรายอาจมีอาการประมาณ 10-16 วันก่อนวันประจำเดือนมาวันแรก ขึ้นอยู่กับรอบเดือนของแต่ละคน  ทั้งนี้ […]


สุขภาพทางเพศ

Pride Month มีความสำคัญอย่างไร ทำไมต้องเป็นเดือนมิถุนายน

Pride Month หรือเดือนแห่งไพรด์ เป็นเดือนสำหรับการเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศของกลุ่ม LGBTQIA+ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักถึงประวัติศาสตร์การต่อสู้ของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศที่มีมาอย่างยาวนานที่มีจุดเริ่มต้นเมื่อเดือน มิถุนายน พ.ศ.2512 ในประเทศสหรัฐอเมริกา และเพื่อผลักดันให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศมีสิทธิและเสรีภาพในการใช้ชีวิตอย่างอิสระตามรสนิยมทางเพศและเพศวิถีของตัวเองโดยปราศจากการตีตราและการตัดสินจากสังคม [embed-health-tool-bmi] Pride Month คืออะไร Pride Month หรือเดือนมิถุนายนของทุกปีถือเป็นเดือนแห่งการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือ LGBTQIA+ ที่ประกอบไปด้วยเลสเบี้ยน (Lesbian) เกย์ (Gay) ไบเซ็กชวล (Bisexual) ทรานส์เจนเดอร์ (Transgender) เควียร์/เควชชันนิง (Queer/Questioning) อินเตอร์เซ็กส์ (Intersex) เอเซ็กชวล (Asexual) รวมไปถึงเพศหลากหลายอื่น ๆ โดยมีการรณรงค์ให้เพิ่มการมองเห็น สร้างการตระหนักรู้และความเข้าใจ ตลอดจนผลักดันสิทธิของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในด้านต่าง ๆ ทั้งในทางกฎหมายและการอยู่ร่วมกันในสังคม เช่น สิทธิทางกฎหมายในการแต่งงาน  สิทธิทางกฎหมายที่จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายในการป้องกันการเลือกปฏิบัติการจ้างงานและอยู่อาศัย สิทธิทางกฎหมายในการรับบุตรบุญธรรม สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ  สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายจากอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชัง (Hate Crime)  ความสำคัญของ Pride Month แม้ว่าการจัดกิจกรรมเดือนไพรด์ในรูปแบบต่าง ๆ จะยังไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด แต่เดือนนี้มีความสำคัญต่อผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ดังนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศมีพื้นที่ได้แสดงตัวตนของตัวเองได้อย่างอิสระและไม่ถูกปิดกั้นเหมือนที่ผ่านมา ช่วยให้ทุกคนยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็นและสร้างความเชื่อมั่นระหว่างกัน เป็นอีกก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่ความเท่าเทียมอย่างแท้จริงในสังคม ทำไมเดือนแห่งไพรด์ถึงตรงกับเดือนมิถุนายน จุดเริ่มต้นของเดือนไพรด์ เริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน […]


สุขภาพทางเพศ

ปวดท้องประจําเดือน นอนท่าไหน และวิธีบรรเทาปวดด้วยตัวเอง

ปวดท้องประจำเดือนอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ที่ทำให้มดลูกบีบรัดตัวเพื่อขับเลือดประจำเดือนจนทำให้ปวดท้อง หรือร่างกายมีเลือดไปไหลเวียนบริเวณมดลูกไม่เพียงพอ เป็นต้น ถ้า ปวดท้องประจําเดือน นอนท่าไหน จึงจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ ซึ่งแต่ละคนมักมีท่านอนที่ช่วยบรรเทาอาการได้แตกต่างกันไป ควรสังเกตตัวเองเพื่อหาท่านอนที่เหมาะสม ทั้งนี้ หากปรับเปลี่ยนท่านอนและดูแลตัวเองเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุและรักษาอย่างตรงจุด [embed-health-tool-ovulation] ปวดท้องประจําเดือน นอนท่าไหน ดี สำหรับผู้มีประจำเดือนที่มีปัญหาปวดท้องในตอนกลางคืน อาจเลือกนอนในท่าที่อาจช่วยบรรเทาอาการดังต่อไปนี้ นอนตะแคงโดยเอาหมอนมารองไว้ระหว่างขาทั้ง 2 ข้าง นอนท่านี้อาจช่วยลดแรงกดบริเวณหน้าท้อง และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดไปยังมดลูก ทั้งยังเป็นท่าที่ช่วยลดการนอนกรนและช่วยให้หลับสบาย  นอนหงายแล้วรองหมอนหรือม้วนผ้าห่มไว้ใต้เข่า การนอนหงายแล้วรองหมอนไว้ใต้เข่าจะช่วยลดแรงกดบริเวณหลังส่วนล่างและช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น อาจช่วยบรรเทาอาการปวดได้ นอนขดตัว ผู้ที่ปวดท้องประจำเดือนอาจนอนขดตัวในท่าเดียวกับทารกในครรภ์ คือ การนอนตะแคงข้างแล้วงอเข่าเข้าหาตัว ซึ่งอาจลดอาการตึงบริเวณหลังส่วนล่างและกล้ามเนื้อหน้าท้อง และอาจนำหมอนข้างมาเกยระหว่างขาทั้ง 2 ข้างเพื่อช่วยให้นอนหลับสบายยิ่งขึ้น นอนยกส่วนลำตัวตั้งแต่สะโพกลงไปให้สูงขึ้น ให้ผู้ปวดท้องประจำเดือนนอนหงายแล้ววางหมอน ม้วนผ้าห่มไว้ใต้สะโพก หรือนอนบนเตียงที่ปรับระดับได้ เพื่อยกให้สะโพกและขาไปจนถึงส่วนเท้าสูงขึ้นกว่าส่วนบนของร่างกาย นอกจากจะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้นยังอาจช่วยลดการกรนและลดปัญหาการหายใจได้ วิธีบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นต่อไปนี้ อาจช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้ อาบน้ำอุ่นที่อาจช่วยขยายหลอดเลือดและกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณมดลูก ออกกำลังกายเบา ๆ เน้นการยืดเหยียดร่างกาย  ใช้เทคนิคผ่อนคลาย เช่น นั่งสมาธิ กำหนดลมหายใจเข้าออก โยคะ พักผ่อนให้เพียงพอและดื่มน้ำอย่างน้อย […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม