backup og meta

อวัยเพศหญิงบวมเป็นก้อน เสี่ยงโรคอะไร แต่ละโรคมีอาการอย่างไร

อวัยเพศหญิงบวมเป็นก้อน เสี่ยงโรคอะไร แต่ละโรคมีอาการอย่างไร

จุดซ่อนเร้นหรือบริเวณอวัยเพศหญิงเป็นจุดที่บอบบาง ต้องดูแลสุขภาพและดูแลสุขอนามัยเป็นพิเศษ หากไม่ดูแลอย่างดีอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ เมื่อมีอาการ อวัยเพศหญิงบวมเป็นก้อน หลายคนอาจเกิดความกังวลว่าจะเป็นโรคร้ายหรือไม่ อวัยเพศหญิงบวมเป็นก้อน จริง ๆ แล้วเสี่ยงจะเป็นโรคอะไรได้บ้าง

[embed-health-tool-ovulation]

ลักษณะของอวัยเพศหญิงบวมเป็นก้อน 

เมื่อคลำบริเวณอวัยวะเพศหญิง อาจเจอกับก้อนเนื้อ รู้สึกว่า อวัยเพศหญิงบวมเป็นก้อน จับแล้วเป็นลักษณะแข็ง เกิดขึ้นได้บริเวณอวัยวะเพศ หรือเป็นก้อนแข็งใกล้กับอวัยวะเพศ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของโรคร้าย หากปล่อยทิ้งไว้ไม่เข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

สาเหตุของอวัยเพศหญิงบวมเป็นก้อน 

สาเหตุจากถุงน้ำหรือซีสต์ (Cyst) 

ซีสต์ เกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย สามารถเกิดได้ใต้ผิวหนังไปจนถึงอวัยวะภายใน แต่ซีสต์ ไม่ใช่เนื้องอกจึงไม่มีโอกาสเกิดเป็นมะเร็ง ซีสต์มีลักษณะเป็นถุง ข้างในอาจมีส่วนประกอบของน้ำ ส่วนขนาดที่แท้จริงอาจมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดจากการติดเชื้อ เซลล์ในร่างกายผิดปกติ หรือการอุดตันของต่อมในร่างกาย

สิ่งที่ทำให้อวัยเพศหญิงบวมเป็นก้อน อาจเกิดได้จากถุงน้ำในช่องคลอด (Vaginal Cysts) ที่เกิดจากการอุดตันของต่อมหรือท่อ จนของเหลวเข้าไปรวมกัน กลายเป็นก้อนแข็งบริเวณช่องคลอด อาจเกิดได้บริเวณด้านนอกหรือภายในช่องคลอดก็ได้ เช่น

  • Vaginal Inclusion Cysts ถุงน้ำในช่องคลอดชนิดนี้พบได้บ่อย อาจเกิดได้จากการผ่าตัดขยายช่องคลอดหรือผ่าตัดคลอด หรืออาจเกิดจากการบาดเจ็บที่ช่องคลอด
  • Bartholin’s Gland Cyst ต่อมบาร์โธลินอักเสบ หรือโรคฝีต่อมบาร์โธลิน เกิดจากการอุดตันของท่อของต่อม เกิดเป็นการสะสมของสารคัดหลั่งขยายตัวกลายเป็นถุงน้ำ เพราะหน้าที่ของต่อมนี้จะผลิตเมือกในช่องคลอด ลักษณะเป็นฝีแบบเดียวกับที่เกิดในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย อาจไม่มีอาการ หรือมีความรู้สึกบ้างขณะมีเพศสัมพันธ์หรือเล่นกีฬา เพราะต่อมนี้อยู่ใกล้กับปากช่องคลอด แต่หากมีการติดเชื้อจะปวด บวม แดง กดแล้วรู้สึกเจ็บ 

สาเหตุจากเป็นฝีที่อวัยเพศหญิง

หากอวัยเพศหญิงบวมเป็นก้อน ในบริเวณด้านนอกที่มีขนขึ้น อาจเกิดได้จากฝีที่อวัยวะเพศ ที่เกิดจากสิ่งสกปรกไปอุดตันรูขุมขน เกิดอาการอักเสบบวม ลักษณะจะเป็นก้อนฝีบวมเป็นไต หรืออาจเกิดเป็นก้อนหนองได้ ซึ่งอาการจะคล้าย ๆ กับตุ่มรูขุมขนอักเสบ ที่เกิดจากรูขุมขนติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา ต่างกันตรงที่ลักษณะจะเป็นตุ่มแดงหรือตุ่มหนองสีขาว เล็กกว่าฝี และมีอาการคันร่วมด้วย

สาเหตุจากหูดหงอนไก่ (Genital Warts)

หูดหงอนไก่  เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สาเหตุสำคัญเกิดจากเชื้อไวรัส HPV (Human papillomavirus) ติดต่อได้จากผ่านสารคัดหลั่ง ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ลักษณะสำคัญของหูดหงอนไก่ ได้แก่

  • หูดหงอนไก่ เกิดขึ้นได้ทั้งภายนอกและภายในช่องคลอด ทำให้อวัยเพศหญิงบวมเป็นก้อน หรือเกิดหูดหงอนไก่บริเวณทวารหนัก
  • สีของก้อนจะเป็นสีชมพูหรือน้ำตาล
  • มีอาการคันหรือรู้สึกไม่สบายตัวบริเวณอวัยวะเพศ
  • ขณะมีเพศสัมพันธ์เกิดเลือดออก
  • หากระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง ก้อนแข็งที่บริเวณอวัยเพศหญิงจะมีจำนวนมาก
  • ลักษณะของก้อนหูดคล้ายกับดอกกะหล่ำ

สาเหตุจากโรคมะเร็งช่องคลอด 

โรคมะเร็งช่องคลอด หากเกิดจากช่องคลอดจะเรียกว่า มะเร็งช่องคลอดปฐมภูมิ แต่อาจเกิดได้จากเซลล์มะเร็งแพร่กระจายจากอวัยวะอื่น เช่น มะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งรังไข่ จากนั้นเริ่มไปที่ช่องคลอด ทำให้เกิดอาการบริเวณช่องคลอด โดยอาการของโรคมะเร็งช่องคลอด มีดังนี้

  • รู้สึกเจ็บปวดในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ และมีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์
  • อยู่ในวัยหมดประจำเดือน แต่ยังมีเลือดออก
  • มีกลิ่นเหม็นผิดปกติออกมาทางช่องคลอด
  • ปวดมากบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • มีความผิดปกติในการปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย รู้สึกเจ็บเมื่อปัสสาวะ หรือพบเลือดปนมากับปัสสาวะ
  • อวัยเพศหญิงบวมเป็นก้อน หรือเกิดก้อนแข็งในบริเวณช่องคลอด

หากรู้สึกถึงความผิดปกติของร่างกาย คลำแล้วเจอก้อนแข็งบริเวณอวัยเพศ ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัย เพื่อรักษาให้ถูกต้องตามโรคต่อไป

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

https://www.pennmedicine.org/for-patients-and-visitors/patient-information/conditions-treated-a-to-z/vaginal-cyst 

https://si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=203 

https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/2479/ 

https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1289 

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/ondemand/%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%8C-l%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%9D%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%87/ 

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/06/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ฝีที่ขาหนีบ เกิดจากอะไร และรักษายังไง

วิธีรักษาฝี และการป้องกันฝีตามร่างกาย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 14/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา