โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

การป้องกันตัวเองจาก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นส่วนสำคัญในการดูแลสุขภาพทางเพศและอนามัยในการเจริญพันธุ์ของคุณ ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

9 เรื่อง HPV ไวรัสร้าย ใกล้ตัว พ่อแม่ต้องรู้!

1. HPV อันตรายกว่าคิด เชื้อ HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นไวรัสก่อให้เกิดโรคบริเวณอวัยวะเพศหลายชนิด โดยก่อโรคได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย 2. HPV ก่อโรคได้ทั้งชายและหญิง  การติดต่อเกิดได้จากการสัมผัส เช่น เพศสัมพันธุ์ หรือการสัมผัสรุนแรง บริเวณอวัยวะเพศ  ดังนั้น สำคัญอย่างมากที่จะป้องกันพวกเขาก่อนมีความเสี่ยงรับเชื้อในอนาคต  3. HPV ไวรัสร้ายใกล้ตัว พบบ่อย 8 ใน 10 คนเคยได้รับเชื้อ HPV ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต 4. HPV เป็นภัยเงียบ เมื่อติดเชื้อ HPV เชื้ออาจซ่อนตัวอยู่ และยังไม่แสดงอาการใดๆกว่า 10 ปี ซึ่งจะแสดงอาการเมื่อลุกลามแล้ว ทำให้ไม่รู้ว่าได้รับเชื้อมาและอาจแพร่ไปสู่ผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว แม้ว่าการติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่หายได้เองก็จริง อย่างไรก็ตาม มีบางส่วนที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ เชื้อจะคงที่อยู่นาน และพัฒนาไปเป็นมะเร็งในอนาคต 5. เชื้อไวรัส HPV ที่ก่อโรคบริเวณอวัยเพศและทวารหนักมีประมาณ 40 สายพันธุ์ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ สายพันธุ์ความรุนแรงสูง ได้แก่ 16, 18, 33, […]

สำรวจ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคปีกมดลูกอักเสบ อาการ สาเหตุและการป้องกัน

โรคปีกมดลูกอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้องน้อยแม้จะไม่ได้อยู่ในช่วงมีประจำเดือน หรือปวดประจำเดือนหนักและนานกว่าปกติ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงทีอาจทำให้ท่อนำไข่เป็นแผลและแคบลง จนไข่เคลื่อนที่ไปยังมดลูกได้ยากขึ้น อาจนำไปสู่ภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก [embed-health-tool-ovulation] โรคปีกมดลูกอักเสบ คืออะไร โรคปีกมดลูกอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease หรือ PID) เป็นการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อเนอิสซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria Gonorrhoeae) ที่ทำให้เกิดโรคหนองในแท้ และเชื้อคลามัยเดีย ทราโคมาติส (Chlamydia Trachomatis) ซึ่งติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ โดยเข้าสู่ร่างกายผ่านช่องคลอด ไปยังมดลูก ท่อนำไข่ หรือรังไข่ ผู้ที่เป็นโรคปีกมดลูกอักเสบมักไม่มีอาการใด ๆ ในช่วงเริ่มต้น แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปอาการของโรคอาจรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน ซึ่งนำไปสู่ปัญหาตามมาเรื่องมีบุตรยาก หรือปวดท้องน้อยเรื้อรัง อาการของโรคปีกมดลูกอักเสบ อาการของโรคปีกมดลูกอักเสบที่อาจพบได้บ่อย มีดังนี้ รู้สึกปวดท้องน้อย มีไข้ บางครั้งอาจมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย มีสารคัดหลั่งหรือตกขาวมีกลิ่นรวมทั้งเปลี่ยนเป็นสีเขียวหรือเหลือง รู้สึกเจ็บหรือมีเลือดออกเวลามีเพศสัมพันธ์ รู้สึกแสบเวลาถ่ายปัสสาวะ หรือปัสสาวะยาก ประจำเดือนมามากผิดปกติ ปวดท้องประจำเดือนมากกว่าปกติ เพศหญิงบางรายที่เป็นโรคปีกมดลูกอักเสบอาจไม่มีอาการดังกล่าวข้างต้น หรืออาจมีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบเข้าพบคุณหมอทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณว่าโรคปีกมดลูกอักเสบกำลังเข้าสู่ภาวะรุนแรง ปวดท้องน้อยรุนแรง คลื่นไส้และอาเจียน เบื่ออาหาร มีไข้สูงกว่า 38.3 องศาเซลเซียส ตกขาวมีกลิ่นเหม็นรุนแรง โรคปีกมดลูกอักเสบไม่มีการวินิจฉัยโดยเฉพาะ […]


โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคข้ออักเสบไรเตอร์ จากการมีเพศสัมพันธ์

โรคข้ออักเสบไรเตอร์ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียคลาไมเดีย ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ทั้งในน้ำอสุจิและน้ำจากช่องคลอด สามารถติดต่อได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ส่งผลให้เกิดอาการข้ออักเสบ มีอาการของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและเยื่อบุตาอักเสบ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการบาดเจ็บที่ผิวหนัง และเยื่อเมือกบุผิว โรคข้ออักเสบไรเตอร์ คืออะไร โรคข้ออักเสบไรเตอร์ (Reiter’s Syndrome) หรือโรคข้ออักเสบรีแอคตีฟ (Reactive Arthritis) เป็นโรคในกลุ่มโรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบ (Spondyloarthropathy) ซึ่งถึงแม้จะได้ชื่อว่าเป็นโรคข้ออักเสบ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยมีเพียงอาการข้ออักเสบอย่างเดียว แต่อาจมีอาการของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและเยื่อบุตาอักเสบร่วมด้วย ในผู้ป่วยบางรายยังพบว่ามีรอยโรค (Lesions) หรืออาการบาดเจ็บที่ผิวหนังและเยื่อเมือกบุผิว โรคข้ออักเสบไรเตอร์ติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์จริงไหม โรคข้ออักเสบไรเตอร์มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อคลาไมเดีย (Chlamydia trachomatis) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ทั้งในน้ำอสุจิและน้ำจากช่องคลอด สามารถติดต่อได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ฉะนั้น หากทำกิจกรรมทางเพศ หรือมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน หรือใช้เซ็กส์ทอยร่วมกับผู้อื่น ก็อาจเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างการติดเชื้อคลาไมเดีย และเสี่ยงเป็นโรคข้ออักเสบไรเตอร์ นอกจากจะมีสาเหตุมาจากเชื้อคลาไมเดียที่ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์แล้ว โรคข้ออักเสบไรเตอร์ยังอาจติดต่อพร้อมกับการติดเชื้อแบคทีเรียในน้ำและอาหารที่บริโภคได้ด้วย เช่น ซาลโมเนลลา (Salmonella) แคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter) ชิเจลลา (Shigella) เยอซิเนีย (Yersinia) คลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล์ (Clostridium difficile) อาการของโรคข้ออักเสบไรเตอร์ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคข้ออักเสบไรเตอร์ ไม่ได้มีอาการแค่ที่ข้อต่อเท่านั้น แต่ยังอาจมีอาการที่อวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกายด้วย ซึ่งสามารถสังเกตอาการของโรคข้ออักเสบไรเตอร์ได้ ดังนี้ อาการโรคข้ออักเสบ ข้อต่ออักเสบ […]


โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

เช็กอาการ! เริมกับHPV 2 โรคนี้ ต่างกันยังไง

เริมกับHPV ต่างก็เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สามารถพบได้ทั่วไป ทั้งสองโรคอาจคล้ายคลึงกันเนื่องจากเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อผิวหนังและเกิดขึ้นจากไวรัสด้วยกันทั้งคู่ อย่างไรก็ตาม การศึกษาความแตกต่างของโรคเริมกับการติดเชื้อ HPV ให้กระจ่างยิ่งขึ้น อาจช่วยให้สามารถรับมือกับทั้งสองโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เริมกับHPV เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร โรคเริม (Herpes) คืออะไร โรคเริม คือหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้มากที่สุด โรคนี้สามารถพบได้มากถึง 1 ใน 6 คน โรคเริมเป็นการติดเชื้อไวรัส herpes simplex virus โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ herpes simplex virus ชนิดที่ 1 (HSV-1) ที่มักจะเกิดที่บริเวณปาก และชนิดที่ 2 (HSV-2) ที่มักจะเกิดขึ้นที่บริเวณอวัยวะเพศ โรคเริมนี้สามารถส่งผลกระทบได้ทั้งกับผิวหนังและระบบประสาท โดยเฉพาะอาการแผลเริมที่มีลักษณะเป็นตุ่มใสๆ เล็กๆ โรคเริมสามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้จากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัยป้องกัน การจูบ หรือการทำออรัลเซ็กส์โดยไม่ผ่านแผ่นยางอนามัย นอกจากนี้โรคเริมยังสามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกได้ ขณะที่ทำการคลอดบุตรโดยธรรมชาติ โดยปกติแล้วอาการของโรคเริมมักจะเป็นๆ หายๆ โดยเฉพาะในช่วงที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอ และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โรคติดเชื้อเอชพีวี คืออะไร โรคติดเชื้อเอชพีวี หรือโรคเอชพีวี คือ โรคที่เกิดจากเชื้อฮิวแมนปาปิลโลมาไวรัส หรือเอชพีวี (Human Papillomavirus: HPV) ที่มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ เชื้อไวรัสเอชพีวีมักก่อให้เกิดหูด […]


โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หญิงรักหญิง และวิธีป้องกันโรค

หลายคนอาจคิดว่า โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างหญิงกับชาย หรือชายกับชายเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หญิงรักหญิง ก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม การรู้เท่าทันโรค เช่น ปัจจัยเสี่ยง วิธีป้องกัน อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หญิงรักหญิง การมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะแบบผู้หญิงกับผู้หญิง หรือผู้หญิงกับผู้ชาย ก็อาจเสี่ยงเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ทั้งสิ้น สำหรับการมีเพศสัมพันธ์หรือการทำกิจกรรมทางเพศระหว่างผู้หญิงกับผู้หญิง อาจมีพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้เซ็กส์ทอย (Sex toy) ร่วมกับผู้อื่น หรือการเคยมีคู่นอนเป็นผู้ชาย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบในความสัมพันธ์ระหว่างหญิงกับหญิง สามารถติดต่อได้ทั้งจากผู้หญิงด้วยกันเองหรือจากผู้ชาย ดังนี้ โรคติดเชื้อระหว่างผู้หญิงกันเอง โรคที่เกิดจากการติดเชื้อระหว่างผู้หญิงกันเอง มักแพร่เชื้อผ่านการสัมผัสเป็นหลัก ได้แก่ ไวรัสเอชพีวีที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ เริม และตกขาวกลิ่นเหม็นในช่องคลอด นอกจากนี้ หากใช้เซ็กส์ทอยร่วมกันหลายคนโดยไม่ทำความสะอาดให้ดี หรือป้องกันการติดเชื้อด้วยการหุ้มด้วยถุงยางอนามัย และเปลี่ยนถุงยางอนามัยทุกครั้งที่แบ่งปันกันใช้ ก็อาจก่อให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ โรคที่เกิดจากอดีตคู่นอนที่เป็นผู้ชาย เช่น โรคหนองใน โรคหนองในเทียม โรคซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หญิงรักหญิง ที่พบบ่อย การมีเพศสัมพันธ์แบบผู้หญิงกับผู้หญิง อาจทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนี้ โรคเริม นอกจากเริมจากอวัยวะเพศสู่อวัยวะเพศแล้ว พฤติกรรมทางเพศระหว่างหญิงกับหญิง เช่น การใช้ปากกับอวัยวะเพศ การใช้อวัยวะเพศถูไถกัน ก็อาจทำให้เป็นโรคเริมได้เช่นกัน โดยเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes simplex […]


โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

STD (โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) ไม่ต้องมีเซ็กส์ก็เสี่ยงติดได้

STD (Sexually transmitted diseases) หรือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อระหว่างบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งผ่านการมีเพศสัมพันธ์ แต่ทั้งนี้ แม้เพียงแค่การกอด จูบ หรือการเล้าโลม รวมทั้งการใช้นิ้วหรือการทำออรัลเซ็กส์ โดยที่ไม่ได้สอดใส่อวัยวะเพศ หรือพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันก็อาจทำให้เสี่ยงติดโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน ความเสี่ยงในการเป็น STD แม้ว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะหมายถึงโรคที่ติดต่อผ่านกันเนื่องจากการมีเซ็กส์ แต่ทั้งนี้ แม้ว่าจะใส่ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคและป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ แต่การสัมผัสกันทางร่างกายก็สามารถเสี่ยงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ รวมทั้งโอกาสเสี่ยงในด้านอื่น ๆ ดังนี้ ผ่านการจูบ การจูบเป็นการแสดงความรักรูปแบบหนึ่ง แต่น้ำลายสามารถเป็นตัวนำในการแพร่เชื้อ “โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์” บางประเภทได้ เช่น โรคเริม HIV ที่สามารถแพร่จากแผลได้ หรืออาจจะติดต่อกันได้ผ่านผิวหนัง ดังนั้น หากมีแผลบริเวณริมฝีปาก อาจต้องระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงการจูบ รวมทั้งก่อนและหลังจูบควรทำความสะอาดช่องปาก อาจด้วยการแปรงฟันหรือใช้น้ำยาบ้วนปากทุกครั้ง ผ่านการทำออรัลเซ็กส์ คู่รักบางคู่อาจเลือกการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่สอดใส่ แต่ใช้ลิ้นในการสำเร็จความใคร่หรือที่เรียกว่าออรัลเซ็กส์ และอาจคิดว่าสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ แต่โรคทางเพศสัมพันธ์บางประเภทอย่างโรคเริม โรคหนองใน HIV ก็สามารถติดต่อได้ผ่านแผลบนผิวหนัง และเชื้ออาจลุกลามผ่านช่องคอกลายเป็นโรคผิวหนังผุพอง หรือมะเร็งในช่องคอหรือกล่องเสียง (laryngeal cancer) รวมทั้งซิฟิลิสก็สามารถติดได้ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยโดยไม่จำเป็นต้องสอดใส่ ผ่านผิวสัมผัส การกอดหรือการสัมผัสผิวอาจเสี่ยงน้อยในการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ก็สามารถส่งผ่านเชื้อโรค อย่างโรคเริม และมะเร็งปากมดลูกได้ ซึ่งแนวโน้มของการติดเชื้อผ่านผิวหนังนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่างทั้งสภาพผิวและแผลทางผิวหนัง ผ่านการปนเปื้อนในอาหาร โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างไวรัสตับอักเสบ เอ สามารถติดต่อได้ผ่านอาหารที่รับประทานเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจจติดมาจากห้องน้ำ หรือการล้างมือไม่สะอาด […]


โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ เกี่ยวกับกรุ๊ปเลือดหรือไม่

กรุ๊ปเลือดสามารถระบุได้ด้วยแอนติบอดี ซึ่งเป็นโปรตีนในพลาสมา ทำหน้าที่ในการป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมอย่าวเชื้อโรค และแอนติเจนซึ่งเป็นโมเลกุลโปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยกรุ๊ปเลือดหลักมีอยู่ด้วยกัน 4 กลุ่ม คือ A B AB และ O ซึ่งได้รับการสืบทอดมาจากพ่อแม่ ด้วยเหตุผลนี้ จึงอาจทำให้โรคบางอย่างสามารถถ่ายทอดผ่านทางกรุ๊ปเลือดได้ เช่น โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ความสัมพันธ์ของ โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ และกรุ๊ปเลือด ในความเป็นจริงแล้ว โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์สามารถติดต่อได้ในกรุ๊ปเลือดทุกกลุ่ม โดยอาจพบได้มากที่สุดในเลือดกรุ๊ปเอ และกรุ๊ปเลือดโอ จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Iranian Journal of Public Health พ.ศ. 2557 ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของกรุ๊ปเลือดในระบบ ABO และกรุ๊ปเลือดในระบบ Rh ต่อโรคที่นำโดยเลือด (Blood-Borne Infections) หรือโรคที่ติดเชื้อผ่านทางเลือด หรือโรคที่ติดเชื้อผ่านทางเลือด ในผู้บริจาคเลือดที่ศูนย์บริจาคเลือดในเมืองเตหราน ประเทศอีหร่าน ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2554 พบว่า จากตัวอย่างเลือด 10,451 รายจากทั้งหมด 2,031,451 […]


โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ไวรัสซิกา ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่

โรคติดเชื้อ ไวรัสซิกา หรือโรคไข้ซิกา เกิดจากเชื้อไวรัสซิกาที่อยู่ในตระกูลเฟลวิไวรัส (Flavivirus) มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ไวรัสเวสไนล์ และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ส่วนใหญ่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอาการไม่รุนแรง สามารถหายเองได้ แต่หากหญิงตั้งครรภ์ป่วยเป็นโรคนี้ อาจส่งผลกระทบกับทารกในครรภ์ เช่น ทำให้คลอดก่อนกำหนด ทารกตายคลอดหรือเสียชีวิตในครรภ์ (fetal death) รวมถึงทำให้เกิดมาพิการแต่กำเนิด เช่น ภาวะศีรษะเล็ก (microcephaly) สมองพิการรุนแรง นอกจากแพร่เชื้อผ่านพาหะอย่างยุงลายแล้ว ไวรัสซิกายังสามารถแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย และปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันหรือยารักษาโรคติดเชื้อไวรัสซิกาโดยเฉพาะ [embed-health-tool-ovulation] ไวรัสซิกา ติดต่อจากกิจกรรมทางเพศได้หรือไม่ เชื้อไวรัสซิกาสามารถแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนได้จากเพศสัมพันธ์ทั้งทางทวารหนัก ช่องคลอด หรือช่องปาก นอกจากนี้ การใช้อุปกรณ์ในการประกอบกิจกรรมทางเพศ เช่น เซ็กส์ทอย ร่วมกับผู้อื่น ก็สามารถทำให้ไวรัสซิกาแพร่กระจายได้เช่นกัน ไวรัสซิกาจะอยู่ในน้ำอสุจิหรือของเหลวในอวัยวะสืบพันธ์ุได้นานกว่าของเหลวชนิดอื่น ๆ ในร่างกาย โดยระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสซิกาในผู้หญิงและผู้ชายอาจแตกต่างกัน และถึงแม้ว่าจะมีความสัมพันธ์ทางเพศกับคู่รักแค่คนเดียว ก็ยังสามารถติดเชื้อไวรัสซิกาได้เช่นกัน ระหว่างมีเพศสัมพันธ์ป้องกันไวรัสซิกาอย่างไรดี การมีเพศสัมพันธ์แบบปลอดภัย เช่น การใช้ถุงยาง ถือว่าเป็นวิธีที่สามารถลดโอกาสในการติดเชื้อไวรัสซิการะหว่างมีเพศสัมพันธ์ได้มากที่สุด ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการติดโรคต่อต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น ซิฟิลิส หนองในแท้ หนองในเทียม เริม เอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ได้อีกด้วย หากเคยเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสซิกา หรือพื้นที่เสี่ยงติดเชื้อ ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ทุกรูปแบบ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม