โรคไต

โรคไต เกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องด้านพฤติกรรม พันธุกรรม หรืแแม้แต่สิ่งแวดล้อม ดังนั้น การรู้เท่าทันกับอาการต่าง ๆ เพื่อสังเกตและดูแลตัวเอง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคไต

เนโฟรติก ซินโดรม (Nephrotic Syndrome)

เนโฟรติก ซินโดรม (Nephrotic Syndrome) เป็นลักษณะกลุ่มอาการของโรคไตที่ทำให้ร่างกายขับโปรตีนออกมาในปัสสาวะมากเกินไป โดยภาวะนี้มักส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการบวมน้ำ โดยเฉพาะ บริเวณเท้า ข้อเท้า  คำจำกัดความเนโฟรติก ซินโดรม (Nephrotic Syndrome) คืออะไร กลุ่มอาการเนโฟรติก ซินโดรม (Nephrotic Syndrome) เป็นลักษณะกลุ่มอาการของโรคไตที่ทำให้ร่างกายขับโปรตีนออกมาในปัสสาวะมากเกินไป โดยภาวะนี้มักส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการบวมน้ำ โดยเฉพาะ บริเวณเท้า ข้อเท้า  พบได้บ่อยเพียงใด ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการเนโฟรติก ซินโดรม มักเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในวัยเด็ก   อาการอาการของ เนโฟรติก ซินโดรม (Nephrotic Syndrome) ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะอาการของโรคเนโฟรติก ซินโดรม มีลักษณะดังต่อไปนี ร่างกายมีอาการบวมน้ำอย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณรอบดวงตา ข้อเท้า และเท้า  ปัสสาวะมีฟอง รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า  เบื่ออาหาร ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของเนโฟรติก ซินโดรม (Nephrotic Syndrome) ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเนโฟรติก ซินโดรม ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากโรคที่ส่งผลกระทบต่อโรคไต ดังต่อไปนี้ โรคไตจากเบาหวาน โรคเบาหวานอาจเพิ่มความเสี่ยงให้ไตถูกทำลายเลย กรวยไตมีลักษณะเป็นแผล กรวยไตมีลักษณะเป็นแผล อาจเป็นผลมาจากโรคความบกพร่องทางพันธุกรรม หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด โรคลูปัส โรคอักเสบเรื้อรังที่อาจนำไปสู่การทำลายไตอย่างรุนแรง   อะไมลอยโดซิส เกิดจากความผิดปกติเมื่อโปรตีน อะไมลอยโดซิ ที่อาจส่งผลต่อการทำลายระบบกรองของไต ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของเนโฟรติก ซินโดรม […]

สำรวจ โรคไต

โรคไต

ไตวาย (Kidney Injury)

ไตวาย หรือ ไตเสียหาย (Kidney Injury) เกิดขึ้นเมื่อไตสูญเสียความสามารถในการกรองของเสียจากเลือด ภาวะไตวายสามารถส่งผลต่อคนทุกวัย แต่สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง คำจำกัดความ ไตวาย คืออะไร ไตวาย (Kidney Injury)  ภาวะไตวาย หรือ ไตเสียหาย เกิดขึ้นเมื่อไตสูญเสียความสามารถในการกรองของเสียจากเลือด ไตเป็นคู่อวัยวะอยู่บริเวณด้านหลังส่วนล่าง โดยจะอยู่ด้านข้างของกระดูกสันหลัง ทำหน้าที่กรองเลือดและกำจัดสารพิษจากร่างกาย โดยส่งสารพิษไปยังกระเพาะปัสสาวะ แล้วร่างกายจึงกำจัดสารพิษออกทางปัสสาวะ ไตวาย พบบ่อยเพียงใด ภาวะไตวาย สามารถส่งผลต่อคนทุกวัย แต่สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ ไตวาย อาการทั่วไปของ ภาวะไตวาย ได้แก่ ปัสสาวะน้อยเกินไป อาการบวมที่ขา ข้อเท้า และเท้า จากภาวะของเหลวคั่ง เนื่องจากไตไม่สามารถกำจัดน้ำที่เป็นของเสียได้ หายใจลำบากโดยไม่ทราบสาเหตุ เพลียหรือเหนื่อย คลื่นไส้เรื้อรัง มึนงง ปวดหรือแน่นหน้าอก มีอาการชักหรือหมดสติในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของไตวาย ผู้ที่มีความเสี่ยงเกิด ภาวะไตวาย มากที่สุดมักมีสาเหตหนึ่งประการหรือมากกว่า ดังต่อไปนี้ – ขาดเลือดหล่อเลี้ยงไต การขาดกระแสเลือดไปหล่อเลี้ยงไตอย่างกะทันหันทำให้เกิดไตวายได้ โดยโรคและภาวะบางประการที่ทำให้ขาดกระแสเลือดไปหล่อเลี้ยงไต ได้แก่ หัวใจวาย โรคหัวใจ ตับแข็งหรือตับวาย ภาวะขาดน้ำ แผลไฟไหม้ขั้นรุนแรง อาการแพ้ การติดเชื้อรุนแรง เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ ความดันโลหิตหรือยาต้านการอักเสบยังสามารถขัดขวางการไหลเวียนของกระแสเลือดได้อีกด้วย – ปัญหาเกี่ยวกับการขับปัสสาวะ เมื่อร่างกายไม่สามารถขับปัสสาวะออกได้ สารพิษจะเกิดการสะสมและทำให้ไตทำงานหนัก ภาวะบางประการสามารถส่งผลต่อระบบปัสสาวะและอาจทำให้เกิดภาวะไตวายได้ ซึ่งได้แก่ มะเร็ง นิ่วในไต ต่อมลูกหมากโต ลิ่มเลือดในทางเดินปัสสาวะ เส้นประสาทที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะเสียหาย   – สาเหตุอื่น ๆ โรคและภาวะบางประการทำให้เกิด ภาวะไตวาย ได้แก่ ลิ่มเลือดในไตหรือบริเวณโดยรอบ การติดเชื้อ การได้รับสารพิษจากโลหะหนักในปริมาณมาก ยาเสพติดและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลอดเลือดอักเสบ โรคลูปุส ซึ่งเป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะร่างกายจำนวนมาก ไตอักเสบ […]


โรคไต

ถุงน้ำในไตจากสาเหตุพันธุกรรม (Polycystic kidney disease)

ถุงน้ำในไตจากสาเหตุพันธุกรรม คืออาการที่ถุงเกิดขึ้นอย่างผิดปกติและมีของเหลวอยู่ภายใน ทำให้การทำงานของไตลดลงเมื่อเวลาผ่านไป เป็นถุงน้ำที่เกิดขึ้นเนื่องจากพันธุกรรม ต่างจากถุงน้ำในไตที่เกิดจากโรคไตหรือการฟอกไต  (Acquired Polycystic kidney disease) [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ ถุงน้ำในไตจากสาเหตุพันธุกรรม คืออะไร ถุงน้ำในไตสาเหตุพันธุกรรม (Polycystic kidney disease) เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่ทำให้ถุงน้ำจำนวนมากก่อตัวขึ้นในไต ถุงน้ำในไตคือถุงที่เกิดขึ้นอย่างผิดปกติและมีของเหลวอยู่ภายใน ซึ่งสามารถทำให้ไตมีขนาดโตขึ้นได้อย่างมาก และอาจไปแทนที่โครงสร้างปกติของไต ก่อให้เกิดโรคไตเรื้อรัง และทำให้การทำงานของไตลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ถุงน้ำในไตสองมีประเภทหลักๆ ได้แก่ โรคถุงน้ำในไตชนิดพันธุกรรมเด่น (autosomal dominant polycystic kidney disease) และโรคถุงน้ำในไตชนิดพันธุกรรมด้อย (autosomal recessive polycystic kidney disease) ถุงน้ำในไตนั้นแตกต่างจากถุงน้ำ “ธรรมดา” ที่ไม่เป็นอันตราย ซึ่งมักก่อตัวขึ้นในไตเมื่ออายุมากขึ้น ถุงน้ำในไตมีจำนวนมากกว่าและก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ถุงน้ำในตับ และปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดสมองและหัวใจ ถุงน้ำในไตจากสาเหตุพันธุกรรม พบบ่อยเพียงใด ค่าประมาณของความชุกของโรคถุงน้ำในไตมีค่าระหว่างหนึ่งใน 400 ถึงหนึ่งใน 1,000 คน ถุงน้ำในไตพบได้ในคนทุกเชื้อชาติทั่วโลก และพบในผู้หญิงในอัตราเท่าๆ กันกับที่พบในผู้ชาย อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้ชายมีโอกาสมากกว่าที่จะเกิดภาวะไตวายจากถุงน้ำในไต ส่วนผู้หญิงนั้นพบว่า มีโอกาสเกิดภาวะไตวายสูงขึ้น หากมีความดันโลหิตสูงและเคยตั้งครรภ์มาแล้วมากกว่าสามครั้ง อย่างไรก็ดี การเกิดถุงน้ำในไตสามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของ ถุงน้ำในไตจากสาเหตุพันธุกรรม ผู้คนจำนวนมากสามารถมีชีวิตยาวนานแม้จะเป็นโรคถุงน้ำในไต โดยไม่มีอาการที่สัมพันธ์กับโรค […]


โรคไต

ไตติดเชื้อ (การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ)

ไตติดเชื้อ (การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ) หรือกรวยไตอักเสบ เป็นภาวะทางเดินปัสสาวะติดเชื้อประเภทหนึ่ง โดยเริ่มเกิดขึ้นบริเวณท่อปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง แล้วเคลื่อนที่ไปยังท่อไตและไตข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง ไตติดเชื้อจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจส่งผลทำให้ไตเสียหายอย่างถาวร ทั้งยังอาจเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ คำจำกัดความไตติดเชื้อ คืออะไร ไตติดเชื้อ (การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ) หรืออีกอย่างหนึ่งว่า กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) เป็นภาวะทางเดินปัสสาวะติดเชื้อประเภทหนึ่ง โดยเริ่มเกิดขึ้นบริเวณท่อปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง แล้วเคลื่อนที่ไปยังท่อไตและไตข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้าง ไตติดเชื้อจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจส่งผลทำให้ไตเสียหายอย่างถาวร ทั้งยังอาจเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ไตติดเชื้อพบบ่อยเพียงใด ไตติดเชื้ออาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่อาจเกิดขึ้นได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าของผู้ชาย โดยท่อปัสสาวะของผู้หญิงนั้นอยู่ใกล้กับช่องคลอดและทวารหนักจึงอาจทำให้แบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายและเข้าสู่ทางเดินปัสสาวะได้ง่ายขึ้น อาการอาการไตติดเชื้อ ภาวะไตติดเชื้ออาจเริ่มต้นด้วยการติดเชื้อทั่วไป แต่อาการรุนแรงขึ้นได้อย่างรวดเร็วและรุนแรงมาก เมื่อแบคทีเรียไปถึงทางเดินปัสสาวะส่วนบน โดยสัญญาณบ่งชี้และอาการของภาวะไตติดเชื้อ ได้แก่ มีไข้ คลื่นไส้และอาเจียน มีอาการปวดบริเวณหลัง สีข้าง ขาหนีบ หรือช่องท้อง ปัสสาวะบ่อย และต้องเบ่งปัสสาวะอย่างแรงและนาน รู้สึกแสบหรือปวดเวลาปัสสาวะ มีหนองหรือเลือดในปัสสาวะ ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากเกิดอาการต่าง ๆ เหล่านี้ ควรไปพบคุณหมอ กำลังได้รับการรักษาอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะใด ๆ แต่อาการไม่ดีขึ้น มีอาการของไตติดเชื้อหนึ่งประการหรือมากกว่า สาเหตุสาเหตุของไตติดเชื้อ ภาวะไตติดเชื้อมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ทางเดินปัสสาวะผ่านทางท่อไตที่ทำหน้าที่ลำเลียงปัสสาวะจากร่างกาย แล้วเริ่มเพิ่มจำนวนขึ้น เชื้อแบคทีเรียที่พบได้มากที่สุดมักพบในอุจจาระ ได้แก่ เชื้ออีโคไล (E. […]


โรคไต

ถุงน้ำในไต (Kidney cyst)

ถุงน้ำในไต หรือ ซีสต์ที่ไต เป็นก้อนในไตที่พบบ่อยที่สุด มีรูปร่างวงรีหรือวงกลม สามารถพบได้แบบเป็นถุงน้ำเดี่ยว หรือถุงน้ำหลายใบ มีขนาดน้อยกว่า 1 เซนติเมตร ไปจนถึงมากกว่า 10 เซนติเมตร [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ ถุงน้ำในไตคืออะไร ถุงน้ำในไต (Kidney cyst) หรือ ซีสต์ที่ไต สามารถเป็นรูปวงรีหรือวงกลม โดยมีขนาดน้อยกว่า 1 เซนติเมตรไปจนถึงมากกว่า 10 เซนติเมตร ถุงน้ำในไตพบได้ทั่วไปและสามารถเป็นถุงเดี่ยว หรือหลายถุงและทั้งสองด้าน ถุงน้ำในไตพบได้บ่อยเพียงใด ถุงน้ำในไตแบบธรรมดาเป็นก้อนในไตที่พบได้มากที่สุด โดยพบได้ประมาณร้อยละ 65-70 ของผู้ป่วย อย่างไรก็ดี ถุงน้ำในไตทั้งสองด้าน (Bilateral cysts) พบได้น้อยกว่ามาก โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 50 ปี แต่พบได้มากกว่าในผู้ป่วยที่อายุมากกว่านี้ โรคนี้สามารถส่งผลต่อผู้ป่วยได้ในทุกช่วงอายุ สามารถป้องกันได้ โดยลดปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของถุงน้ำในไต ถุงน้ำในไตมักไม่มีอาการหรือสิ่งบ่งชี้ อาการถุงน้ำในไตอาจไม่สามารถเห็นได้ชัดเจน หากถุงน้ำในไตไม่อุดกั้น และไม่ส่งผลต่อการทำงานของไต อย่างไรก็ดี ในผู้ป่วยอายุน้อย ถุงน้ำในไตสามารถลดการทำงานของไตให้ต่ำกว่าปกติได้ อาการที่พบได้ทั่วไปในผู้ป่วยถุงน้ำในไตคืออาการที่สัมพันธ์กับอาการถุงน้ำแตก (ภาวะเลือดออก) ปัสสาวะเป็นเลือด (hematuria) อาการปวด มีก้อนในท้องหรือติดเชื้อ และความดันโลหิตสูง ถุงน้ำถุงเดียวแตกทำให้ปัสสาวะเป็นเลือดและ/หรือมีอาการปวดเรื้อรัง ถุงน้ำในไตติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการติดเชื้อ การประคบโดยรอบถุงน้ำในไตอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูง อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ […]


โรคไต

ทำความรู้จัก ยาที่อันตรายต่อไต กินผิดอาจไตพัง ไตมีปัญหา

เมื่อคุณรับประทานยา ไม่ว่าจะเป็นยาประเภทไหน ตัวยาจะผ่านเข้าสู่ไตของคุณ ดังนั้น หากคุณไม่รับประทานยาอย่างเหมาะสม หรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์อย่างเคร่งครัด หรือหากตัวยาเป็นยาผิดกฏหมาย ไตของคุณอาจได้รับผลกระทบได้ในระดับเบาจนถึงรุนแรง และนี่คือสารพัด ยาที่อันตรายต่อไต ที่อาจทำให้ไตของคุณเสียหายหรือไตพังได้ ยาที่อันตรายต่อไต ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) หรือยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ยาแอสไพริน ยาไอบูโพรเฟน ยาอะเซตามิโนเฟน รวมถึงชนิดที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ถือเป็นยาที่ไม่ควรใช้เป็นประจำทุกวัน ใช้บ่อยเกินไป หรือใช้ยาเกินขนาด เพราะสามารถทำให้ไตมีปัญหาได้ จากข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมากกว่า 5% เกิดจากการกินยาแก้ปวดเกินขนาด ยาปฏิชีวนะ ยาปฏิชีวนะสามารถสร้างความเสียหายกับไตได้มากมายขึ้นอยู่กับชนิดของยา เช่น ทำให้ปัสสาวะติดขัด ทำลายเซลล์ไต หรือบางคนอาจมีปฏิกริยาแพ้ยาปฏิชีวนะที่ส่งผลกระทบต่อไตได้ และหากคุณกินยาปฏิชีวนะผิดวิธีหรือกินพร่ำเพรื่อก็จะยิ่งทำให้ไตของคุณเสียหายมากขึ้นไปอีก ทั้งผู้ที่เป็นโรคไตและผู้ที่สุขภาพไตแข็งแรงดีไม่ควรรับประทานยาปฏิชีวนะเอง การใช้ยาปฏิชีวนะควรอยู่ในความควบคุมดูแลของแพทย์เท่านั้น ยาขับปัสสาวะ ยาขับปัสสาวะเป็นยาในกลุ่มยาขับน้ำ (Water Pills) แพทย์มักสั่งจ่ายยานี้ให้ผู้ป่วยเพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง อาการบวมน้ำ เป็นต้น ยาขับปัสสาวะจะช่วยกำจัดของเหลวส่วนเกินออกจากร่างกาย แต่บางครั้งก็อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งส่งผลเสียต่อไตของคุณได้ ยาระบายที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ ว่ากันตามหลักการทั่วไป ยาระบายที่ซื้อตามร้านขายยามีความปลอดภัยสำหรับหลายๆ คน อย่างไรก็ตาม ยาระบายบางชนิดที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ เช่น ยาระบายเพื่อล้างลำไส้ ในกรณีที่ต้องทำการส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก็อาจเป็นอันตรายต่อไตได้ ยาในกลุ่ม PPIs ยาในกลุ่ม Proton Pump Inhibitors หรือ PPIs เป็นยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร […]


โรคไต

ซีสต์ในไต อาการ สาเหตุ และวิธีการรักษา

ซีสต์ในไต (Acquired Cystic Kidney Disease) เป็นโรคที่มีก้อนซีสต์โตขึ้นในไตจนเกิดเป็นถุงซีสต์ ซีสต์ในไตคือ ถุงก้อนกลม ๆ ซึ่งบรรจุของเหลว ที่เกิดขึ้นที่ไต หรือภายในไต ซีสต์ในไตอาจนำพาไปสู่โรคร้ายแรงที่จะทำให้ระบบการทำงานของไตไม่ปกติได้ในหลายๆ กรณี [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ ซีสต์ในไต คืออะไร โรคซีสต์ในไต (Acquired Cystic Kidney Disease) เป็นโรคที่มีก้อนซีสต์โตขึ้นในไตจนเกิดเป็นถุงซีสต์ ซีสต์ในไต คือ ถุงก้อนกลม ๆ ซึ่งบรรจุของเหลว ที่เกิดขึ้นที่ไต หรือภายในไต ซีสต์ในไตอาจนำพาไปสู่โรคร้ายแรงที่จะทำให้ระบบการทำงานของไตไม่ปกติได้ในหลายๆ กรณี โดยประเภทของซีสต์ในไตที่เรียกว่า ซีสต์ในไตธรรมดา เป็นซีสต์ในไตที่ไม่มีเชื้อมะเร็ง และมักไม่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน โรคซีสต์ในไตเป็นโรคที่เกิดขึ้นในไตทั้งสองข้าง และเมื่อเกิดขึ้นก็ถือว่าเป็นการคาดเดาได้ว่ามาถึงระยะสุดท้ายของโรคไตวายแล้ว ในระยะเริ่มแรก จะไม่มีอาการหรือสัญญาณใดที่แสดงว่าเป็นโรคซีสต์ในไต โดยมากจะพบโดยไม่ตั้งใจเมื่อทำการตรวจด้วยการฉายรังสีภายในช่องท้อง โรคซีสต์ในไตพบได้บ่อยหรือไม่ โรคซีสต์ในไตสามารถพบได้บ่อยในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังเป็นเวลานานๆ ประมาณ 7-22% ของผู้ที่เป็นโรคไตเรื้องรังเป็นโรคซีสต์ในไตก่อนเริ่มการรักษาโดยการฟอกไต เกือบ 60% ของผู้ที่รับการฟอกไตนาน 2-4 ปีมีซีสต์ในไต และประมาณ 90% ของผู้ที่รับการฟอกไตมานาน 8 ปีมีซีสต์ในไต โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของโรคซีสต์ในไตมีอะไรบ้าง ซีสต์ในไตธรรมดามักไม่มีสัญญาณเตือนหรืออาการใด ๆ แต่ถ้าหากก้อนซีสต์ในไตธรรมดานั้นโตมากพอ อาการที่อาจเกิดขึ้นตามมา […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน