backup og meta

ทำความสะอาดลำไส้ ด้วยแรงดันน้ำ วิธีดีท็อกซ์รูปแบบใหม่ที่คุณควรรู้!

ทำความสะอาดลำไส้ ด้วยแรงดันน้ำ วิธีดีท็อกซ์รูปแบบใหม่ที่คุณควรรู้!

นอกจากการทานอาหารเสริมหรือสมุนไพรเพื่อดีท็อกซ์ลําไส้ภายในช่องท้องของเราแล้ว ยังมีอีกหนึ่งนวัตกรรมทางการแพทย์ที่สามารถ ทำความสะอาดลำไส้ คุณให้ไกลจากสารพิษต่าง ๆ พร้อมทั้งยังเป็นการปรับปรุงสุขภาพช่องท้องให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย ที่บทความนี้ของ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนไปรู้จักพร้อม ๆ กันค่ะ

ทำความสะอาดลำไส้ ด้วยแรงดันน้ำ คืออะไร

การทำความสะอาดลำไส้ด้วยแรงดันน้ำ (Colon Cleansing) เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร และถูกได้รับการพัฒนาตามยุคสมัย เพื่อใช้สำหรับการกำจัดชำระล้างสิ่งสกปรกในลำไส้ของเราที่ไม่สามารถมองเห็น หรือสัมผัสได้ให้ออกไปจากร่างกาย ซึ่งมีกระบวนการการทำงานด้วยการใช้แรงดันน้ำ หรือของเหลวที่มีการผสมตัวยาส่งไปยังท่อลำเลียงผ่านทางทวารเข้าไปในลำไส้โดยตรง

ส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับการชำระล้างลำไส้ด้วยเทคนิคนี้ มักเป็นผู้ที่กำลังประสบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาการท้องผูก ทางเดินอาหารเป็นพิษ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลธรรมดาอย่างเราไม่สามารถจะเลือกใช้บริการนี้ได้ เพียงแต่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจ การตรวจสอบสุขภาพช่องท้อง หรือได้รับการอนุญาตจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน เพื่อลดความเสี่ยง และสร้างความปลอดภัยให้แก่ภายในร่างกายของคุณ

ทำไมคนเราจำเป็นต้อง ทำความสะอาดลำไส้

เนื่องจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารของเราโดยตรง จนได้รับการสะสมทำให้เกิดแบคทีเรียทำให้เกิดเป็นปฏิกิริยาบางอย่างขึ้น เช่น อาการท้องผูก ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ดังนั้นการที่เราทำความสะอาดลำไส้ อาจเป็นอีกทางเลือกที่ดีที่ช่วยขจัดสิ่งแปลกปลอม พร้อมช่วยปรับปรุงให้ระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงของการเกิดอันตรายจากโรคต่าง ๆ ที่อาจตามมาได้

การทำงานของ เครื่องทำความสะอาดลำไส้ เป็นอย่างไร

เมื่อคุณได้รับการอนุญาตจากแพทย์แล้วว่าสามารถใช้บริการทำความสะอาดลำไส้ด้วยเครื่องแรงดันน้ำได้ ในขั้นตอนต่อไปนักบำบัดเฉพาะทาง หรือแพทย์จะทำการชำระล้างสิ่งสกปรกให้ โดยเครื่องแรงดันน้ำนี้มีกระบวนการการทำงานดังนี้

  • ขั้นตอนที่ 1 แพทย์จะทำการให้นำท่อ หรืออุปกรณ์บางอย่างสวนเข้าไปในทางทวารหนัก เพื่อทำการนำสิ่งสกปรกในลำไส้นั้นออกมา
  • ขั้นตอนที่ 2 กระบวนการของเครื่องนี้ถูกควบคุมการปล่อยแรงดันน้ำอย่างช้า ๆ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และอาจใช้ระยะเวลาประมาณ 45 นาทีด้วยกัน หรือตามปัญหาทางสุขภาพที่ผู้ใช้บริการประสบ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักใช้น้ำลำเลียงเข้าไปประมาณ 60 ลิตร จากนั้นของเสียจะถูกขับออกมาในอีกท่อหนึ่ง
  • ขั้นตอนที่ 3 ในระหว่างการปล่อยน้ำเข้าไปนั้น แพทย์จะมีการนวดหน้าท้องร่วมด้วย เพื่อช่วยกำจัดของเสียออกมา และเป็นการเพิ่มความผ่อนคลายให้แก่ผู้ใช้บริการไปในตัว

ความเสี่ยงจาก การทำความสะอาดลำไส้ด้วยแรงดันน้ำ

หากไม่อยากให้เกิดผลข้างเคียงดังกล่าวขึ้น โปรดตรวจสอบ หรือศึกษาสถานที่ให้บริการที่มีสัญลักษณ์ตรารับรองความปลอดภัยในทางการแพทย์ รวมทั้งควรสังเกตอุปกรณ์ที่ใช้สวนเข้าไปในทางทวารหนักของคุณว่ามีการใช้อุปกรณ์ชิ้นใหม่ทุกครั้งหรือไม่เสียก่อน มิเช่นนั้น อาจทำให้คุณประสบกับความเสี่ยงรุนแรงหลังจากการล้างลำไส้ได้

เคล็ดลับเพิ่มเติม ในการดูแลสุขภาพลำไส้ของคุณ

คุณควรเลือกอาหารที่ถูกสุขลักษณะ หรืออาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผักใบเขียว ธัญพืช ผลไม้ เป็นต้น เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาระบบทางเดินอาหาร อย่างโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ อีกทั้งควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ร่วมด้วย

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Colon Cleanse: What You Need to Know https://www.healthline.com/health/digestive-health/pros-cons-colon-cleanse Accessed July 24, 2020

Colon Cleanse https://www.webmd.com/balance/guide/natural-colon-cleansing-is-it-necessary#1 Accessed July 24, 2020

Is colon cleansing a good way to eliminate toxins from your body? https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/consumer-health/expert-answers/colon-cleansing/faq-20058435 Accessed July 24, 2020

4 Things You Should Know About Colon Cleansing https://health.clevelandclinic.org/colon-cleansing-is-it-safe/ Accessed July 24, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/08/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

6 วิธี ดีท็อกซ์ร่างกายแบบธรรมชาติ เพิ่มความสดชื่นจากภายในสู่ภายนอก

ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาหาร และการ ดูแลสุขภาพลำไส้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 19/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา