backup og meta

เดี๋ยวท้องเสีย เดี๋ยวท้องผูก! ไม่อยาก ท้องไส้ปั่นป่วน เวลาไปเที่ยว เราป้องกันได้

เดี๋ยวท้องเสีย เดี๋ยวท้องผูก! ไม่อยาก ท้องไส้ปั่นป่วน เวลาไปเที่ยว เราป้องกันได้

การเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตในแต่ละวัน อาจทำให้เราเครียดจนทนไม่ไหว เราจึงต้องหาเวลาผ่อนคลายความเครียดกันบ้าง ซึ่งกิจกรรมคลายเครียดที่คนเราชอบที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นการไปเที่ยวนั่นเอง การได้ไปเที่ยวพักผ่อน ทำให้เราได้ชาร์จพลังอย่างเต็มที่ แต่ ทริปในฝันก็อาจสลาย ไม่ราบรื่นอย่างใจหวัง เพราะดันมีปัญหา ท้องไส้ปั่นป่วน เวลาไปเที่ยว เดี๋ยวท้องเสีย เดี๋ยวท้องผูก จนหมดสนุก Hello คุณหมอ จึงมีวิธีรับมือปัญหาท้องไส้ปั่นป่วน เวลาไปเที่ยวมาฝาก รับรองทริปต่อไปของคุณต้องสุขสันต์ลั้นลาแน่นอน

วิธีรับมืออาการ ท้องไส้ปั่นป่วน ระบบย่อยพัง ตอนไปเที่ยว

เทคนิคป้องกันท้องเสียตอนไปเที่ยว

การกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย กินอาหารที่กระตุ้นอาการแพ้ เช่น แพ้นมแล้วไปกินผลิตภัณฑ์นม หรือกินอาหารรสจัดมากไป อาจทำให้คุณท้องเสีย ต้องวิ่งหาห้องน้ำตลอดทริป แต่วิธีเหล่านี้ช่วยป้องกันได้

  • ไม่บริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์
  • กินอาหารปรุงสุก และเสิร์ฟร้อนๆ
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหาร
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารข้างทาง หรือเลือกร้านที่สะอาด เชื่อถือได้
  • ดื่มน้ำบรรจุขวดที่ผลิตได้มาตรฐาน หลีกเลี่ยงการกินน้ำแข็ง หรือควรกินน้ำแข็งที่ทำจากน้ำบรรจุขวดเท่านั้น
  • ไม่กินผักและผลไม้ดิบโดยไม่ปอกเปลือก ทางที่ดีควรปอกเปลือกเอง และล้างให้สะอาดก่อนกิน

หากคุณไปเที่ยวแล้วท้องเสีย และไม่อยากให้อาการแย่ลง ควรงดอาหารมัน อาหารไขมันสูง อาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ อาหารน้ำตาลสูง รวมถึงควรงดคาเฟอีน และผลิตภัณฑ์จากนมด้วย

ไม่อยากท้องผูกเวลาไปเที่ยว ทำอย่างไรดี

อาการท้องผูกเวลาเดินทางไปเที่ยว ก็สร้างความลำบากให้เราได้ ไม่แพ้อาการท้องเสียเลยทีเดียว หากคุณไม่อยากท้องผูก วิธีเหล่านี้ช่วยได้

  • หลีกเลี่ยงการกินยาหรืออาหารเสริมที่กระตุ้นอาการท้องผูก เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดกรด อาหารเสริมธาตุเหล็ก อาหารเสริมแคลเซียม
  • ดื่มน้ำให้มากๆ โดยเฉพาะน้ำเปล่า
  • บริโภคไฟเบอร์ให้เพียงพอในแต่ละวัน แต่อย่ามากไป เพราะอาจกลายเป็นท้องเสียได้
  • หากรู้สึกปวดอุจจาระ ให้เข้าห้องน้ำทันที อย่ามัวอั้นไว้
  • หาวิธีจัดการความเครียด เพราะเครียดก็ทำให้ท้องผูกได้
  • ควบคุมการกินอาหารให้เป็นปกติ อย่าให้แตกต่างจากตอนอยู่บ้านมากนัก เพราะหากร่างกายปรับตามไม่ทัน ก็เสี่ยงท้องไส้ปั่นป่วนได้งายๆ

กรดไหลย้อนตอนออกทริป ป้องกันได้

คนที่เป็นกรดไหลย้อนอยู่แล้ว หรืออยากหลีกเลี่ยงภาวะกรดไหลย้อนเวลาไปเที่ยว ควรลองวิธีรับมือกับกรดไหลย้อนเวลาไปเที่ยวต่อไปนี้

  • กินอาหารแต่ละมื้อในปริมาณน้อยๆ ไม่กินอาหารใกล้เวลานอน และอย่าเอนตัวลงนอนทันทีหลังกินอาหาร
  • พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นอาการกรดไหลย้อนของคุณ เพราะการพลาดอาหารแค่ไม่กี่อย่าง ยังดีกว่าคุณฝืนกินเข้าไปจนกรดไหลย้อน แล้วลำบากไปตลอดการเดินทาง

ปัญหาท้องไส้ปั่นป่วนในช่วงไปเที่ยวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ท้องผูก ท้องเสีย กรดไหลย้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ สามารถป้องกันได้ด้วยการเลือกกินอาหารและน้ำดื่มที่สะอาดถูกสุขอนามัย เวลาจะไปเที่ยว คุณควรพกยา เช่น ยาแก้ท้องเสีย ยาลดกรด หรือยาสามัญอื่นๆ เช่น ยาแก้ปวด ไว้ติดตัวด้วย เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น และต้องศึกษาสถานที่ต่างๆ ที่จะไปเที่ยวให้ดี จะได้รู้ว่ามีคลินิก หรือโรงพยาบาลอยู่ตรงไหนบ้าง

และหากไม่อยากกระเป๋าฉีกเพราะต้องเข้าโรงพยาบาลตอนไปเที่ยว ประกันการเดินทางก็ถือเป็นอีกตัวช่วยที่ดี เพราะอาจช่วยคุณบรรเทาค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ แต่ก็ควรเลือกซื้อประกันกับบริษัทที่น่าเชื่อถือ และศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อประกัน จะได้ไม่ต้องปวดหัวกับปัญหาเคลมประกันไม่ได้ทีหลัง

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Avoid Digestive Problems While Traveling. https://www.everydayhealth.com/healthy-travel/avoid-digestive-problems-while-traveling.aspx. Accessed December 11, 2019

Travelers’ Diarrhea: What You Need to Know. https://www.webmd.com/digestive-disorders/features/travelers-diarrhea-what-you-need-to-know#1. Accessed December 11, 2019

8 Easy Tips to Avoid a Grumpy Gut While Traveling. https://www.healthline.com/health-news/how-to-keep-your-gut-healthy-while-traveling#8.-Carry-medications. Accessed December 11, 2019

7 Tips for Traveling With IBD, From Someone Who Gets It. https://www.everydayhealth.com/columns/my-health-story/tips-traveling-with-inflammatory-bowel-disease/. Accessed December 11, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: [email protected]


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการไส้ติ่ง เริ่มต้นจะเป็นอย่างไร อาการไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากอะไร

ผู้ป่วยมะเร็งปอด สามารเดินทางท่องเที่ยวอย่างสนุกสนานและปลอดภัยได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา