backup og meta

สมุนไพรบำรุงหัวใจ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

สมุนไพรบำรุงหัวใจ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

โรคหัวใจ คือ โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพหัวใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อย่างผลไม้ เนื้อปลา รวมถึง สมุนไพรบำรุงหัวใจ ที่อาจช่วยกระตุ้นให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้สมุนไพรอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ผู้ป่วยโรคหัวใจควรปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางก่อนตัดสินใจบริโภค

สมุนไพรบำรุงหัวใจ สำหรับผู้ป่วยหัวใจ มีอะไรบ้าง

สมุนไพรที่อาจมีสรรพคุณช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจ มีดังต่อไปนี้

น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่มีสารเมนทอลที่อาจช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร นอกจากนี้ ผลงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ในการรักษาโรคของสะระแหน่ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Journal of pharmaceutical sciences and research ระบุว่า การสูดดมกลิ่นสะระแหน่อาจช่วยขยายหลอดลม ส่งผลให้ออกซิเจนไหลเวียนเข้าปอดได้มากขึ้น จึงอาจช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงสุขภาพปอด

  • กระเทียม

กระเทียมเป็นอีกหนึ่งพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ เนื่องจากกระเทียมมีสารอัลลิซิน ซึ่งมีคุณสมบัติในการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และช่วยลดความดันโลหิตสูง

  • แปะก๊วย

สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NIH) ระบุว่า แปะก๊วยอุดมด้วยไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตภายในร่างกาย และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด

  • ใบเตย

ใบเตย เป็นพืชสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้บำรุงสุขภาพตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากมีสรรพคุณทางยาสูง อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย เช่น วิตามินซี เบต้าแคโรทีน สารแคโรทีนอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้

  • หอมหัวใหญ่

หอมหัวใหญ่เป็นพืชล้มลุก มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้งยังมีสารอินทรีย์กำมะถัน ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง

ข้อควรระวังในการรับประทานสมุนไพรร่วมกับยารักษาโรคหัวใจ

  • ผู้ป่วยโรคหัวใจที่รับประทานยาวาร์ฟาริน เพื่อต้านการแข็งตัวของเลือด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานสมุนไพรบางชนิด เช่น กระเทียม ขิง แป๊ะก๊วย เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการตกเลือดได้ 
  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเกรปฟรุต ร่วมกับการรับประทานยาในกลุ่มสแตติน เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

10 of the healthiest herbs and spices and their health benefits. https://www.medicalnewstoday.com/articles/healthy-herbs-and-spices. Accessed on September 7, 2021

Herbal supplements: What to know before you buy. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/herbal-supplements/art-20046714. Accessed on September 7, 2021

Garlic. https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-300/garlic. Accessed on September 7, 2021

Health benefits of Gingko biloba. https://www.medicalnewstoday.com/articles/263105. Accessed on September 7, 2021

Health Benefits of Onions. https://www.webmd.com/diet/health-benefits-onions#1. Accessed on September 7, 2021

Herbal Remedies May Be Risky With Heart Drugs. https://www.webmd.com/heart-disease/news/20100201/herbal-remedies-may-be-risky-with-heart-drugs. Accessed on September 7, 2021

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/09/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

9 อาการโรคหัวใจ ระยะแรก และวิธีป้องกัน

หัวใจเต้นผิดจังหวะ มีอาการอย่างไร เกิดจากสาเหตุใด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 23/09/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา