backup og meta

ประเภทโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา กับวิธีรักษาด้วยเทคนิคแพทย์ ที่คุณควรรู้

ประเภทโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา กับวิธีรักษาด้วยเทคนิคแพทย์ ที่คุณควรรู้

โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา บางครั้งอาจไม่ส่งผล หรืออาการใด ๆ ออกมาแน่ชัด แต่คุณก็สามารถสังเกตได้จากความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ เช่น ความดันโลหิตสูง วิงเวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย เป็นต้น นอกจากนี้โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนายังถูกแบ่งออกอีกหลายประเภทด้วยกัน ที่วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ จะขอพาทุกคนทำความรู้จักกับ ประเภทโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา พร้อมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อช่วยคุณได้เฝ้าระมัดระวังตนเองกันมากขึ้น ก่อนเข้าสู่ความเสี่ยงรุนแรง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา

โรคเรื้อรัง และพฤติกรรมบางอย่าง ดังนี้ อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้อาการของ โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา อยู่ในเกณฑ์ที่แย่ลง จนส่งผลให้คุณอยู่ในอัตราการเสียชีวิตที่ง่ายขึ้น

หากคุณไม่อยากเพิ่มความเสี่ยงที่ส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อหัวใจ คุณจำเป็นต้องดูแลสุขภาพตนเองให้ดี เพื่อป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคร้ายแรงข้างต้น ก่อนนำไปสู่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา และอาการเจ็บปวดต่าง ๆ ได้

ประเภทโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา มีอะไรบ้าง

โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ด้วยกัน โดยมีสาเหตุ และอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่ห้องหัวใจขยายตัวผิดปกติ (Dilated cardiomyopathy)

เป็นประเภทที่มักเกิดขึ้นจากการดื่มแอลกอฮอล์ การได้รับสารเคมี ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และการติดเชื้อบางอย่าง จนส่งผลเสียต่อห้องสูบฉีดเลือดของหัวใจด้านซ้าย เชื่อมโยงไปสู่อัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ โดยส่วนใหญ่จะทำให้คุณมีอาการหายใจลำบาก เจ็บหน้าอก และใจสั่นขึ้น

2. โรคกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัวมากกว่าปกติ (Restrictive cardiomyopathy)

ถือว่าเป็นประเภทที่พบได้ยาก และจะเกิดขึ้นต่อเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจได้รับธาตุเหล็กมากเกินไป หรือเกิดความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน จนส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจของคุณเกิดการแข็งตัว ไม่สามารถสูบฉีดเลือดจนระบบการหมุนเวียนเลือดมีประสิทธิภาพลดลง และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ อีกทั้งยังอาจทำให้ร่างกายของคุณมีความเหนื่อยล้า แขน ขา มีอาการบวม ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมักมีแนวโน้มจะเผชิญกับประเภทนี้มากที่สุด

3. ภาวะหัวใจห้องขวาล่างผิดปกติ (ARVD)

ภาวะหัวใจห้องขวาล่างผิดปกติ (ARVD) เป็นหนึ่งในอีกประเภทของโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาที่พบได้ยากไม่แพ้กับประเภทกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัว และยังมีสาเหตุที่ไม่ชัดเจนมากนัก แต่นักวิจัยได้ตั้งข้อสันนิฐานว่าผู้ป่วยประเภทนี้อาจได้รับมาทางพันธุกรรมภายในครอบครัว ที่สามารถส่งผลต่อจังหวะการเต้นของหัวใจ และทำให้กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวาทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ โดยสังเกตได้จากอาการใจสั่น และเป็นลมหมดสติ เมื่อคุณเริ่มมีการออกแรงเยอะ

4. กล้ามเนื้อหัวใจหนา (Hypertrophic Cardiomyopathy)

ส่วนใหญ่มักเกิดจากยีนที่ได้รับจากพันธุกรรมมีความผิดปกติ ส่งผลให้ผนังห้องหัวใจด้านซ้ายมีความหนา และแข็งตัวขึ้น จนลดปริมาณการสูบฉีดเลือดออกไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยสามารถสังเกตได้จากอาการวิงเวียนศีรษะ หัวใจเต้นผิดปกติ เจ็บหน้าอกเมื่อมีการออกแรง พร้อมทั้งมีอาการบวมที่ข้อเท้า เท้า หน้าท้อง และบริเวณที่เส้นเลือดที่คอร่วม

วิธีรักษา โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา ที่แพทย์เลือกใช้

เพื่อป้องกันเหตุการณ์การเสียชีวิตอย่างกะทันหัน แพทย์อาจจำเป็นต้องบรรเทาอาการให้แก่คุณด้วยการให้ยาบางชนิดที่เหมาะกับภาวะที่เกิดขึ้น เช่น ยาควบคุมอัตราการเต้นของจังหวะหัวใจ ยาป้องกันการอุดตันในเส้นเลือด ยาลดความดันโลหิต เป็นต้น  แต่หากอาการของคุณทวีความรุนแรง แพทย์อาจเลือกเป็นการผ่าตัด ด้วยเทคนิคต่าง ๆ ดังนี้

  • การปลูกถ่ายหัวใจ ส่วนใหญ่มักใช้ในกรณีที่เฉพาะที่คุณมีภาวะหัวใจล้มเหลวร่วม เพราะการรับประทานยาเพียงอย่างเดียวอาจไม่ทำให้อาการดีขึ้นได้
  • การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด เป็นเทคนิคการผ่าตัดที่แพทย์จะทำการนำผนังกล้ามเนื้อใจหัวใจที่หนาออก เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้กลับเข้าสู่ระบบเดิม
  • ผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ เพื่อเป็นการช่วยควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจให้คงที่ โดยแพทย์มักจะวางไว้บริเวณใต้ผิวหนังของหน้าอก หรือช่วงช่องท้อง

ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดด้วยเทคนิคใด คุณอาจต้องได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นถึงอาการที่คุณเป็นเสียก่อน เพื่อให้แพทย์ได้เลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุด และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงหลังการผ่าตัด

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Cardiomyopathy https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/cardiomyopathy . Accessed May 14, 2021

Restrictive Cardiomyopathy https://www.heart.org/en/health-topics/cardiomyopathy/what-is-cardiomyopathy-in-adults/restrictive-cardiomyopathy . Accessed May 14, 2021

Cardiomyopathy https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cardiomyopathy/symptoms-causes/syc-20370709#:~:text=Cardiomyopathy%20(kahr%2Ddee%2Do,dilated%2C%20hypertrophic%20and%20restrictive%20cardiomyopathy. Accessed May 14, 2021

What Is Cardiomyopathy in Adults? https://www.heart.org/en/health-topics/cardiomyopathy/what-is-cardiomyopathy-in-adults . Accessed May 14, 2021

Cardiomyopathy https://www.nhs.uk/conditions/cardiomyopathy/ . Accessed May 14, 2021

Cardiomyopathy https://www.cdc.gov/heartdisease/cardiomyopathy.htm . Accessed May 14, 2021

Dilated cardiomyopathy https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dilated-cardiomyopathy/symptoms-causes/syc-20353149 . Accessed May 14, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/06/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน


บทความที่เกี่ยวข้อง

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction)

ภาวะช็อคจากโรคหัวใจ ภาวะเสี่ยงใน ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา