โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่โรคหลอดเลือดและหัวใจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เรียนรู้ข้อมูลและเคล็ดลับการจัดการกับ โรคความดันโลหิตสูง จากผู้เชี่ยวชาญ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคความดันโลหิตสูง

ความดันสูง เกิดจาก สาเหตุอะไร และวิธีป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง

ความดันสูง เกิดจาก หลายสาเหตุ โดยเป็นภาวะที่ระดับความดันโลหิตสูงกว่าระดับปกติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายและเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจวาย โรคสมองเสื่อม ดังนั้น ควรดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อป้องกันความดันสูง [embed-health-tool-bmi] ความดันสูง คืออะไร  ความดันสูง หรือความดันโลหิตสูง คือ ภาวะที่ค่าความดันสูงผิดปกติจากค่าความดันปกติ หากมีภาวะความดันสูงเรื้อรังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ โดยตัวเลขค่าบนอยู่ที่ 130-139 มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขค่าล่างอยู่ที่ 85-89 มิลลิเมตรปรอท นอกจากนี้ ค่าความดันสูงอาจแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้  ค่าความดันสูงระยะที่ 1: ตัวเลขค่าบน 140-159 มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขค่าล่าง 90-99 มิลลิเมตรปรอท ค่าความดันสูงระยะที่ 2: ตัวเลขค่าบน 160-179  มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขค่าล่าง 100-109 มิลลิเมตรปรอท ค่าความดันสูงระยะที่ 3: ตัวเลขค่าบนสูงตั้งแต่ 180  มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และตัวเลขค่าล่างสูงกว่า 110 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป อาการความดันสูง  ความดันสูงในระยะแรกมักไม่ค่อยแสดงอาการ แต่หากมีค่าความดันสูงมากอาจส่งผลให้เกิดอาการ […]

สำรวจ โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง

อาหารเสริมลดความดันโลหิต ที่ใช้ได้ผล ดีต่อสุขภาพ

ความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะของร่างกายที่พบได้บ่อยในสังคมปัจจุบัน และเป็นภาวะที่ไม่มีอาการในช่วงเริ่มต้น ตรวจไม่พบ แต่หากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพมากมาย เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรหมั่นตรวจวัดความดันเป็นประจำ และควรรักษาระดับความดันให้ปกติ วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวม อาหารเสริมลดความดันโลหิต มาให้อ่านกันค่ะ อาหารเสริมลดความดันโลหิต มีอะไรบ้าง อาหารเสริมสำหรับผู้มีปัญหาความดันโลหิตสูง มีดังต่อไปนี้ กรดโฟลิก  ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะรับประทานกรดโฟลิกเพื่อเป็นอาหารเสริมขณะที่ตั้งครรภ์ เพื่อช่วยสำหรับพัฒนาการของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่ชี้ว่ากรดโฟลิคมีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์ได้ ทั้งชายและหญิงสามารถรับประทานกรดโฟลิคเพื่อลดความดันโลหิตได้ แต่ลดได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น วิตามินดี เมื่อร่างกายมีวิตามินดีในระดับต่ำ เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูง แต่จากการศึกษาพบว่าอาหารเสริมวิตามินดีมีผลต่อความดันโลหิตน้อยมาก แต่การได้รับวิตามินดีที่เพียงพอต่อร่างกายนั้นเป็นสิ่งสำคัญ แมกนีเซียม ร่างกายใช้แมกนีเซียมในการควบคุมการทำงานของเซลล์ให้มีความแข็งแรง นอกจากนี้แมกนีเซียมยังช่วยในการหดตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อ จากการศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า การใช้แมกนีเซียมในการช่วยลดความดันโลหิตนั้นมีความขัดแย้งกัน บ้างที่ก็บอกว่าสามรถลดได้ แต่บางที่ก็ยังไม่มีดเหตุผลมากพอ แต่จากการวิเคราะห์จากการศึกษาหนึ่งแสดงให้เห็นว่าอาหารเสริมแมกนีเซียมอาจมีผลเล็กน้อยต่อความดันโลหิต โพแทสเซียม  โพแทสเซียมมีส่วนช่วยในการขัดขวางผลกระทบของโซเดียมต่อความดันโลหิต สถาบันหัวใจแห่งอเมริกา (American Heart Association) ชี้ให้เห็นว่าโพแทสเซียมสามารถช่วยลดแรงกดบนผนังหลอดเลือดได้ จากการศึกษาได้มีการสนับสนุนว่าอาหารเสริมโพแทสเซียมสามารถใช้ในการรักษาเพื่อลดความดันโลหิตได้ ไฟเบอร์ การได้รับสารอาหารไฟเบอร์ในปริมาณที่มากขึ้นมีส่วนช่วยในการป้องความดันโลหิตสูง หรือช่วยลดความดันโลหิตได้ จากการวิเคราะห์พบว่า การรับประทานอาหารเสริมไฟเบอร์ 11 กรัมต่อวันมีส่วนช่วยลดความดันโลหิตได้ หรือจะเพิ่มไฟเบอร์ให้กับร่างกายด้วยการรับประทานอาหาร เช่น การบริโภคผักใบเขียว ผลไม้สด ก็ช่วยให้ร่างกายได้รับไฟเบอร์ได้มากขึ้น โคเอนไซม์คิวเทน  โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10; CoQ10) เป็นสารธรรมชาติที่เกิดขึ้นในร่างกายและมีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางเคมีของเซลล์ ในการผลิตพลังงานให้กับเซล์ นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าอาหารเสริมตัวนี้สามารถลดความดันโลหิตโดยทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและป้องกันไม่ให้ไขมันสะสมในหลอดเลือดแดง แต่อย่างไรก็ตามมีหลักฐานเพียงเล็กน้อยที่แสดงให้เห็นว่า […]


โรคความดันโลหิตสูง

ความดันในกะโหลกศีรษะสูง (Increased Intracranial Pressure หรือ ICP)

ความดันในกะโหลกศีรษะสูง (Increased Intracranial Pressure หรือ ICP) เป็นภาวะที่อาจส่งผลให้มีการเพิ่มแรงดันเข้าไปในบริเวณโดยรอบของสมอง ซึ่งถือว่าอาจเป็นภาวะที่ค่อนข้างอันตรายอย่างมาก เพราะเป็นการเสี่ยงทำให้ระบบประสาท และเซลล์ต่าง ๆ ถูกทำลายได้ คำจำกัดความความดันในกะโหลกศีรษะสูง คืออะไร ความดันในกะโหลกศีรษะสูง (Increased intracranial pressure หรือ ICP) เป็นการเพิ่มขึ้นของแรงดันโดยรอบสมอง ที่ส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณของเหลว เช่น อาจมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นของน้ำหล่อเลี้ยงสมอง และไขสันหลัง (Cerebrospinal Fluid) นอกจากนี้ ความดันในกะโหลกศีรษะสูง ยังหมายความว่า เนื้อเยื่อสมองอาจมีอาการบวมจากการบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วย เช่น โรคลมชัก (Epilepsy) ได้ด้วยเช่นกัน อีกทั้งโรคนี้ยังพบได้กับทุกเพศทุกวัย เรียกได้ว่าความดันในกะโหลกศีรษะสูง เป็นภาวะอันตรายถึงอาจถึงแก่ชีวิตได้ หากสังเกตพบความผิดปกติใด ๆ โปรดแจ้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ทราบในทันที อาการอาการของ ความดันในกะโหลกศีรษะสูง อาการทั่วไปของความดันในกะโหลกศีรษะสูง ได้แก่ ปวดศีรษะ (Headache) คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตสูง ความสามารถทางจิตใจต่ำ มึนงงเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และผู้คน เมื่อความดันในกะโหลกศีรษะสูงขึ้นอีก มองเห็นภาพซ้อน ลูกตาไม่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของแสง หายใจตื้น ชัก (Seizures) ไม่รู้สึกตัว โคม่า (Coma) อาการในข้างต้นนี้ อาจแสดงให้เห็นถึงภาวะรุนแรงอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) […]


โรคความดันโลหิตสูง

คาเฟอีน ส่งผลต่อโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างไรบ้าง

กาแฟ เป็นเครื่องดื่มสุดโปรดของใครหลายคน และความจริงแล้วคนทั่วโลกบริโภคกาแฟเกือบจะ 8.6 พันล้านกิโลกรัมต่อปี อย่างไรก็ตามมีการตั้งคำถามว่า การบริโภคกาแฟเป็นประจำดีต่อสุขภาพหรือไม่ และกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มี คาเฟอีน ส่งผลต่อความดันโลหิต และโรคหัวใจหรือเปล่า [embed-health-tool-bmi] คาเฟอีนส่งผลต่อความดันโลหิต อย่างไรบ้าง อาจเพิ่มความดันโลหิตชั่วคราว งานวิจัยชี้ว่า กาแฟอาจเพิ่มความดันโลหิตในเวลาสั้น ๆ หลังจากดื่มกาแฟ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่า กาแฟอาจเพิ่มความดันโลหิต เป็นเวลามากกว่า 3 ชั่วโมงหลังจากดื่มกาแฟ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณดื่มกาแฟเป็นประจำ ผลกระทบจากกาแฟก็อาจลดลง คาเฟอีนส่งผลต่อความดันโลหิต ในระยะยาว สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง งานวิจัยได้แนะนำว่า การบริโภคกาแฟทุกวัน ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อความดันโลหิต หรือความเสี่ยงโดยรวมของโรคหัวใจ อย่างมีนัยสำคัญ และความจริงกาแฟอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เนื่องจากสำหรับผู้ที่มีสุขภาพดี มีงานวิจัยที่ชี้ว่า การดื่มกาแฟ 3-5 แก้วต่อวัน เชื่อมโยงกับความเสี่ยงของโรคหัวใจที่ลดลง 15% รวมถึงลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วย สำหรับความเชื่อมโยงระหว่าง การดื่มกาแฟและความดันโลหิตสูง ในระยะยาว ปัจจุบันยังมีงานวิจัยที่จำกัด โดยบางข้อมูลชี้ว่าการดื่มกาแฟเป็นประจำ ไม่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูงที่เพิ่มขึ้น หรือการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ นอกจากนี้กาแฟยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่อาจช่วยให้หัวใจแข็งแรงขึ้นด้วย ดังนั้นสำหรับผู้ที่ความดันโลหิตสูง การดื่มกาแฟในปริมาณที่พอดี ในแต่ละวัน จึงอาจไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพิ่มเติมไปกว่านั้น การกินอาหารที่มีประโยชน์ และการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี ยังมีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบต่อความดันโลหิตสูง มากกว่าการดื่มกาแฟ สาเหตุที่ทำให้ คาเฟอีนส่งผลต่อความดันโลหิต คาเฟอีน […]


โรคความดันโลหิตสูง

ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)

ความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่แรงดันเลือดกระทำต่อหนังหลอดเลือด การมี ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นเวลานาน ถือว่าเป็น โรคความดันโลหิตสูง ที่อาจทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดตามมา คำจำกัดความ โรคความดันโลหิตสูงคืออะไร ความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะหนึ่งที่มีแรงดันเลือดกระทำต่อผนังหลอดเลือด ในขณะที่หัวใจสูบฉีดโลหิตมากเกินไป หากแรงดันดังกล่าวเพิ่มขึ้น และอยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน สามารถทำลายร่างกายได้ในหลายทาง ความดันโลหิตสูงคือการที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 140 เหนือ 90 มม. ปรอท โดยมีความสอดคล้องกันกับค่ามาตรฐาน หมายความว่าค่าบ่งชี้ซิสโตลิก (systolic index) หรือความดันในขณะที่หัวใจสูบฉีดโลหิตไปทั่วร่างกาย มีค่าสูงกว่า 140 มม. ปรอท (มิลลิเมตรปรอท) และ/หรือค่าบ่งชี้ไดแอสโตลิก (diastolic index) ความดันในขณะที่หัวใจคลายตัวและเต็มไปด้วยเลือด มีค่าสูงกว่า 90 มม. ปรอท ความดันโลหิตสูงหลายประเภท โดยมีประเภทหลักๆ ดังต่อไปนี้ ความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ (Essential hypertension) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (primary hypertension) ความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ (Secondary hypertension) คงามดันโลหิตตัวบนสูง (Isolated systolic hypertension) ครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) ซึ่งเป็นความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์ ความหมายของตัวเลขค่าความดันโลหิต เลือดเคลื่อนที่ในร่างกายในอัตราคงที่ ค่าความดันโลหิตประกอบด้วยตัวเลข 2 ตัว […]


โรคความดันโลหิตสูง

5 วิธีธรรมชาติที่ช่วย ลดความดันโลหิต สำหรับผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ทุกคนคุ้นเคย เนื่องจากเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนไม่เว้นแม้แต่วัยหนุ่มสาว แต่เราจะป้องกันอย่างไรเพื่อไม่ให้ตนเองต้องเผชิญกับโรคดังกล่าวนี้ได้นั้น วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ จึงนำ 5 วิธีเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ ที่จะช่วย ลดความดันโลหิต ลงได้มาฝากทุกคนให้ลองนำไปปฏิบัติตาม ก่อนเกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรงเข้ามาทำลายสุขภาพค่ะ 5 วิธี ลดความดันโลหิต ง่าย ๆ ที่คุณก็ทำได้ 1. หลีกเลี่ยงความเครียด อย่างที่เรารู้กันดีนั่นแหละว่าความเครียดส่งผลร้ายต่อสุขภาพขนาดไหน และถึงแม้ชีวิตที่แสนวุ่นวายของคนสมัยนี้จะทำให้หลีกเลี่ยงความเครียดได้ยาก แต่ก็ยังพอมีเคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ และนี่ก็คือเคล็ดลับง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ จัดการตารางการทำงานให้ดี เพื่อที่จะได้มีเวลาว่างสำหรับทำอะไรที่อยากจะทำ หรือลองนั่งสมาธิให้จิตใจสงบดูก็ได้ หลีกเลี่ยงการทะเลาะเบาะแว้งกับใคร ๆ อย่าปล่อยให้เรื่องร้าย ๆ พวกนั้นมาทำร้ายสุขภาพกายใจของคุณเด็ดขาด รู้จักปฏิเสธอะไรที่ไม่จำเป็น ทำอะไรในขอบเขตที่เราสามารถทำได้เท่านั้น เพราะอะไรที่เกินเลยหน้าที่ อาจก่อให้เกิดความเครียดโดยไม่จำเป็นขึ้นมา 2. หาเวลาออกกำลังกาย การออกกำลังกายไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย แต่ยังช่วยให้คุณลดคอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL) และช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลดี (HDL) ได้ โดยสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ออกกำลังกายวันละอย่างน้อย 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน เพื่อช่วยป้องกันการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่รูปแบบการออกกำลังกายนั้น จะต้องเหมาะสมกับภาวะสุขภาพของตัวเองซึ่งคุณสามารถขอเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ได้ ส่วนใหญ่การออกกำลักายที่นิยมเพื่อลดความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติมักจะเป็น การวิ่งเหยาะ ๆ ว่ายน้ำ เดิน ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค […]


โรคความดันโลหิตสูง

โรคเหงือกกับความดันโลหิตสูง เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงอาจคาดไม่ถึงว่า สุขภาพช่องปากของเรานั้นมีความเกี่ยวข้องกับโรคความดันโลหิตสูงด้วย วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอพาทุกคนมาร่วมรู้จักถึงความสัมพันธ์ที่เชื่อมกันของ โรคเหงือกกับความดันโลหิตสูง นี้ ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อคลายข้อสงสัย และให้ได้ทราบถึงวิธีป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนส่งผลความเสี่ยงต่อสุขภาพช่องปากที่แย่ลง โรคเหงือก คืออะไร โรคเหงือก (Gum disease) คือโรคที่มีอาการอักเสบเกิดขึ้นที่เหงือก โดยเริ่มต้นขึ้นจากอาการเหงือกอักเสบ (Gingivitis) จากการติดเชื้อแบคทีเรียในเหงือก อีกทั้งยังสัญญาณเริ่มต้นที่คุณสามารถสังเกตได้ ดังนี้ เหงือกบวมแดง และมีเลือดออกขณะแปรงฟัน นอกจานี้หากยังไม่ได้รับการรักษา หรือปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานก็อาจส่งผลให้นำไปสู่การเป็นโรคปริทันต์ (Periodontitis) ซึ่งเนื้อเยื่อรอบฟัน และกระดูกจะถูกทำลาย เป็นสาเหตุสำคัญให้ฟันโยกและหลุดออกในที่สุด โรคเหงือกกับความดันโลหิตสูง เกี่ยวข้องกันอย่างไร จากงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ Hypertension ให้ข้อมูลว่า โรคเหงือก (Gum disease) หรือโรคปริทันต์ (Periodontitis) อาจรบกวนการควบคุมความดันโลหิตสูง โดยนักวิจัยได้ตรวจสอบประวัติทางการแพทย์ และประวัติทันตกรรมของผู้ป่วยมากกว่า 3,600 รายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่เป็นโรคเหงือกมีแนวโน้มที่จะตอบสนองต่อยารักษาโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่า และสามารถบรรลุเป้าหมายในการมีค่าความดันโลหิตที่ถือว่าสุขภาพดีน้อยกว่า 20% เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ที่มีสุขภาพช่องปากที่ดี นอกจากนี้ นายแพทย์เดวิท พีโทพาลี แผนกศัลยกรรมช่องปากแห่ง University of L’Aquila […]


โรคความดันโลหิตสูง

ควบคุมความดันโลหิต จากแร่ธาตุธรรมชาติ ป้องกันความดันโลหิตสูง

อาหารที่เรารับประทานนั้นมักมีส่วนที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายอย่างปฏิเสธไม่ได้ และสำหรับผู้ที่มีโรคเรื้อรังบางอย่าง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นการได้รับแร่ธาตุบางอย่างก็อาจจะช่วย ควบคุมความดันโลหิต ได้ดีขึ้น ที่วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมแร่ธาติที่จำเป็นทั้ง 3 ชนิด มาฝากทุกคนให้ได้ลองนำไปหารับประทานเพื่อช่วยปรับปรุงระดับความดันโลหิตไปพร้อม ๆ กันค่ะ [embed-health-tool-bmi] แร่ธาตุสำคัญ ที่อาจช่วย ควบคุมความดันโลหิต โพแทสเซียม โพแทสเซียม (Potassium) เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการทำงานของเซลล์ เส้นประสาท และกล้ามเนื้อ โดยมีส่วนช่วยให้ร่างกายควบคุมความดันโลหิต จังหวะการเต้นของหัวใจ และปริมาณน้ำในเซลล์ รวมถึงช่วยในการย่อยอาหารด้วย การมีปริมาณโพแทสเซียมในร่างกายในระดับปกติ สามารถทำให้ความดันโลหิตลดลง และช่วยป้องกันการเกิดตะคริวที่กล้ามเนื้อ เนื่องจากโพแทสเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ รวมถึงการผ่อนคลายผนังหลอดเลือด มากไปกว่านั้นโพแทสเซียมยังสำคัญต่อการนำสัญญาณไฟฟ้า ในระบบประสาทและหัวใจ ซึ่งช่วยป้องกันอาการหัวใจเต้นผิดปกติ สำหรับอาหารที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียม เช่น ลูกพรุน มันเทศ กล้วยหอม เมล็ดทานตะวัน อินทผลัม เป็นต้น ซึ่งคุณสามารถหารับประทานได้ง่ายตามท้องตลาด หรือห้างสรรสินค้าทั่วไป อย่างไรก็ตามการกินอาหารเพียงอย่างเดียวอาจทำให้ได้รับโพแทสเซียมไม่เพียงพอ เพราะยังมียาบางชนิดอย่างยาขับปัสสาวะ เช่น ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ (Hydrochlorothiazide) อย่างเอซิดริกซ์ (Esidrix) ไฮโดรไดยูริล (Hydrodiuril) ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ร่างกายขับโพแทสเซียมออกทางปัสสาวะ ซึ่งเป็นการลดระดับโพแทสเซียมในร่างกายได้ ดังนั้นถ้าคุณเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว โรคความดันโลหิตสูง หรืออาการบวมน้ำ […]


โรคความดันโลหิตสูง

กินลดความดันโลหิต ลองอาหาร 7 อย่างที่หาได้ง่ายพวกนี้เลย!

หากคุณต้องการลดความดันโลหิต การปรับพฤติกรรมในการรับประทานอาหารนับว่าเป็นสิ่งจำเป็น ในส่วนของการ กินลดความดันโลหิต นอกจากการลดปริมาณการรับประทานเกลือแล้ว คุณสามารถเพิ่มอาหารดังต่อไปนี้ เพื่อสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือดที่ดีขึ้น 7 อาหารเพื่อสุขภาพ กินลดความดันโลหิต 1. ถั่วขาว ถั่วขาว ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ถั่วขาวอุดมไปด้วยแคลเซียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียม จึงเหมาะกับอาหารทุกๆ มื้อของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณทานอาหารเจ คุณสามารถใส่ถั่วขาวในซุป หรือเป็นเครื่องเคียง หรือใส่ในเมนูอาหารจานหลักของคุณก็ได้ 2. โยเกิร์ต โยเกิร์ต อุดมด้วยแร่ธาตุหลายชนิด คุณอาจทานโยเกิร์ตเป็นอาหารเช้า หรือผสมกับสลัดหรือซอส ควรทานโยเกิร์ตธรรมชาติ เลือกแบบที่ไม่มีไขมัน หรือไขมันต่ำ และไม่เติมน้ำตาล หากคุณกังวลว่า โยเกิร์ตที่คุณซื้อจะมีน้ำตาลหรือไม่ คุณก็สามารถทำโยเกิร์ตกินเองที่บ้านได้ 3. กีวี่ กีวี่ เป็นผลไม้ที่มีวิตามินและแร่ธาตุสูง สามารถหาซื้อได้ตามซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไปได้ตลอดทั้งปี ผลไม้ชนิดนี้เก็บรักษาได้ง่าย เพียงแค่ใส่ไว้ในตู้เย็น หรือวางไว้ด้านนอกก็ได้ ข้อมูลชี้ว่ากีวี่มีวิตามินซีสูงกว่าส้มเสียอีก กีวี่สามารถรับประทานเป็นผลไม้ หรือใส่ในสลัดก็ได้ 4. ลูกพีช ผู้ที่มีความดันเลือดสูงสามารถกินอาหารที่ใส่ลูกพีช เพื่อช่วยบรรเทาอาการได้ แต่ต้องไม่ใช่ลูกพีชแช่อิ่ม ซึ่งจะมีน้ำตาลสูง วิธีง่ายๆ และได้รสชาติในการรับประทานลูกพีชก็คือ ลองเอาลูกพีชไปแช่แข็ง แล้วนำมาใส่เครื่องปั่น คุณก็จะได้เครื่องดื่มลูกพีช ที่อุดมด้วยสารอาหารต่างๆ โดยใช้เวลาไม่นาน 5. ผักคะน้า ผักคะน้า […]


โรคความดันโลหิตสูง

ความดันหลอดเลือดปอดสูง (Pulmonary Hypertension)

ความดันหลอดเลือดปอดสูง (Pulmonary Hypertension) เป็นความดันโลหิตสูงประเภทหนึ่ง ที่ส่งผลต่อหลอดเลือดแดงในปอด และบริเวณด้านขวาของหัวใจ   คำจำกัดความความดันหลอดเลือดปอดสูง คืออะไร ความดันหลอดเลือดปอดสูง (Pulmonary Hypertension) คือ ประเภทหนึ่งของความดันโลหิตสูง ที่ส่งผลต่อหลอดเลือดแดงในปอด และบริเวณด้านขวาของหัวใจ ที่เกิดจากหลอดเลือดแดงฝอยในปอด (Pulmonary Arterioles) และหลอดเลือดฝอย (Capillary) จะแคบลง อุดตัน หรือถูกทำลาย ทำให้เลือดไหลเวียนเข้าสู่ปอดได้ยากขึ้น จนในที่สุดอาจระดับความดันเพิ่มขึ้น รวมถึงห้องหัวใจด้านขวาล่าง (Right Ventricle) ทำงานอย่างหนักทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอและล้มเหลว ความดันหลอดเลือดปอดสูงบางชนิด อาจมีสภาวะรุนแรงที่จะแย่ลงเรื่อย ๆ และอาจถึงขั้นเสียชีวิต แม้ความดันหลอดเลือดปอดสูงบางรูปแบบ อาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็มีการบำบัดเพื่อบรรเทาอาการ และเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ พบได้บ่อยได้แค่ไหน ความดันหลอดเลือดปอดสูงสามารถเกิดได้กับผู้ป่วยทุกช่วงวัย สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษากับแพทย์ อาการอาการของ ความดันหลอดเลือดปอดสูง อาการทั่วไปของความดันหลอดเลือดปอดสูง มีดังต่อนี้ หายใจไม่ทั่วท้อง (Dyspnea) ในตอนแรกจะเริ่มจากขณะออกกำลังกาย แล้วสุดท้ายก็จะเป็นในช่วงเวลาพัก เหนื่อยล้า  เวียนหัวหรือเป็นลมบ่อย หรือเป็นโรควูบ (Syncope) มีแรงดันที่หน้าอกหรืออาการปวด บวมน้ำ (Edema) ที่บริเวณข้อเท้า ขา และสุดท้ายในช่องท้อง เป็นอาการท้องบวม (Ascites) ริมฝีปากและผิวหนังเป็นสีเขียวคล้ำ (Cyanosis) ชีพจรเต้นเร็ว หรือใจสั่น (Heart palpitations) สัญญาณและอาการของความดันหลอดเลือดปอดสูงในระยะแรก อาจไม่สามารถสังเกตเห็นได้เป็นเวลาหลายเดือน หรือหลายปี เมื่อโรคนี้เป็นมากขึ้น […]


โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง สาเหตุ อาการ และการรักษา

ความดันโลหิตสูง เกิดจากการที่เลือดไหลผ่านหลอดเลือด (arteries) ในความดันที่สูงกว่าปกติ ค่าความดันเลือดมักมีค่าอยู่ที่ 140/90 หรือสูงกว่าเป็นเวลาหลายสัปดาห์ โดยสามารถวัดได้โดยการใช้เครื่องวัดความดันที่แขน ซึ่งหากมีค่าความดันโลหิตสูงติดต่อกัน ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ ความดันโลหิตสูงคืออะไร ความดันโลหิตสูง (High blood pressure) เป็นอาการที่พบได้ทั่วไป เกิดจากการที่เลือดไหลผ่านหลอดเลือด (arteries) ในความดันที่สูงกว่าปกติ ค่าความดันเลือดมักมีค่า 140/90 หรือสูงกว่าเป็นเวลาหลายสัปดาห์ พบได้บ่อยเพียงใด ความดันโลหิตสูงเกิดขึ้นได้คนทุกวัย แต่มักจะพบผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมากขึ้นหลังจากอายุ 55 ปี ทั้งนี้ความดันโลหิตสูงสามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการโรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมักไม่มีอาการใด ๆ และรู้สึกปกติดี คนส่วนใหญ่รู้ตัวว่ามีภาวะนี้ เมื่อไปตรวจร่างกายกับแพทย์ตามปกติ อย่างไรก็ดี อาการของความดันโลหิตสูงที่รุนแรงมาก ได้แก่ อาการปวดศีรษะมาก หรือการมองเห็นไม่ชัด อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น ให้เข้ารับการรักษาทันที เพราะอาการความดันโลหิตสูงอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เช่น สายตาพร่ามัว โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ ไตวาย หัวใจล้มเหลว สาเหตุ สาเหตุของความดันโลหิตสูง สาเหตุที่แน่ชัดของความดันโลหิตสูงยังคงไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังต่อไปนี้มีความสัมพันธ์กับความดันโลหิตสูง อายุที่มากขึ้น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 2 แก้วต่อวันสำหรับผู้ชาย หรือมากกว่า 1 แก้วต่อวันสำหรับผู้หญิง การบริโภคโซเดียมในปริมาณมาก […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม