backup og meta

7 ปัจจัยเสี่ยง ความดันสูง ที่คุณควรรู้

7 ปัจจัยเสี่ยง ความดันสูง ที่คุณควรรู้

บทความ Hello คุณหมอ วันนี้ขอนำ 7 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง มาฝากทุกคนกันค่ะ หากคุณกำลังอยู่ในเกณฑ์ที่เข้าข่ายเป็น โรคความดันโลหิตสูง จะได้ดูแลตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว ว่าแต่ปัจจัยเสี่ยงโรคนี้จะมีอะไรบ้าง มาดูพร้อมกันเลยค่ะ

[embed-health-tool-heart-rate]

ทำความรู้จัก โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะสุขภาพที่พบได้บ่อย เกิดจากความดันในหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้น หากปล่อยไว้นานวัน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะเมแทบอลิกซินโดรม และอื่น ๆ ที่สร้างความเสียหายแก่ร่างกายแทบทุกส่วนได้

7 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ดังต่อไปนี้

  1. อายุ ความเสี่ยงของ โรคความดันโลหิตสูง จะเพิ่มมากขึ้น เมื่อคุณมีอายุมากขึ้นจนถึงอายุ 64 ปี โรคนี้พบได้บ่อยในผู้สูงอายุเพศชายมากกว่าเพศหญิง
  2. น้ำหนักเกิน เมื่อคุณน้ำหนักมากขึ้น ก็ต้องใช้เลือดในการลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารเข้าไปในเนื้อเยื่อมากยิ่งขึ้น เมื่อปริมาณเลือดไหลเวียนผ่านหลอดเลือด ก็จะเพิ่มความดันบนผนังหลอดเลือดเช่นเดียวกัน
  3. สูบบุหรี่ สารเคมีในบุหรี่มีผลทำให้ระดับความดันโลหิตของคุณเพิ่มสูงมากขึ้น อีกทั้งยังทำลายผนังบุหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงแคบลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจด้วย
  4. รับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็ม การรับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็ม ทำให้ความระดับความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจอีกด้วย
  5. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากไป ยิ่งคุณดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเท่าไหร่ ความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงของคุณก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
  6. ภาวะเครียด ความเครียดสูงอาจทำให้ความดันโลหิตของคุณเพิ่มสูงขึ้นชั่วคราวได้
  7. ภาวะเรื้อรัง ภาวะเรื้อรังของโรคต่าง ๆ มีส่วนช่วยเพิ่มความดันโลหิตสูง เช่น โรคไต เบาหวาน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง

หากเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ไม่ควบคุมอาการของโรค อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้

  • โรคหลอดเลือดสมอง (Heart attack or stroke) ความดันโลหิตอาจทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวและหนาขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่อาการหัวใจวายได้
  • หลอดเลือดโป่งพอง (Aneurysm) ความดันโลหิตที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผนังหลอดเลือดไม่แข็ง จึงทำให้หลอดเลือดโป่งพอง
  • ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic syndrome) ขนาดเอวที่มากขึ้น บ่งบอกถึงปริมาณไขมันในท้อง และเมื่อระบบการเผาผลาญในร่างกายผิดปกติ ความดันจึงเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเมตาบอลิกซินโดรม
  • ปัญหาเกี่ยวกับความจำ (Trouble with memory or understanding) โรคความดันโลหิตสูง ที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้ อาจส่งผลให้ระบบความคิด และความจำ ของคุณแย่ลงได้
  • โรคสมองเสื่อม (Dementia) เมื่อหลอดเลือดแดงแคบลง ปริมาณเลือดที่ไหลเวียนไปยังหลอดเลือดสมองก็น้อยลง นำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมบางประเภทได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

High blood pressure (hypertension). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-pressure/symptoms-causes/syc-20373410. Accessed April 27, 2021

Everything you need to know about hypertension. https://www.medicalnewstoday.com/articles/150109. Accessed April 27, 2021

10 ways to control high blood pressure without medication. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-pressure/in-depth/high-blood-pressure/art-20046974. Accessed April 27, 2021

Taking Care of High Blood Pressure. https://intermountainhealthcare.org/blogs/topics/heart/2013/06/taking-care-of-high-blood-pressure/. Accessed April 27, 2021

Understanding Blood Pressure Readings. https://www.heart.org/en/health-topics/high-blood-pressure/understanding-blood-pressure-readings. Accessed April 27, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/04/2024

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความดันสูง เกิดจาก สาเหตุอะไร และวิธีป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง

ผู้ป่วย ความดันโลหิตสูง กับ ความเสี่ยงในการติดเชื้อ โควิด-19


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 24/04/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา