backup og meta

แก่ตัวไปอะไร ๆ ก็เสื่อม ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ จะมีอะไรบ้างนะ

แก่ตัวไปอะไร ๆ ก็เสื่อม ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ จะมีอะไรบ้างนะ

ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นเรื่องปกติที่ไม่ปกติสำหรับคนที่เรารัก เมื่อคนที่เรารักแก่ตัวลงย่อมมีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เข้ามารุมเร้า การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง วันนี้เรามาทำความรู้จัก ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ ที่พบบ่อยเพื่อเตรียมป้องกันก่อนที่จะลุกลามและร้ายแรงขึ้น

[embed-health-tool-bmi]

ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ ที่พบบ่อย

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer)

ภาวะสมองเสื่อมเป็นปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุมีอัตราเพิ่มขึ้นตามอายุ และพบได้มากในผู้สูงอายุทำให้การใช้ชีวิตลำบากยิ่งขึ้น เช่น การขับรถที่ไม่ปลอดภัย การเลือกใช้สิ่งของซึ่งอาจได้รับบาดเจ็บ รวมถึงการจดจำสมาชิกในครอบครัว และสิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักคือสัญญาณเตือนของโรคอัลไซเมอร์ เพื่อพร้อมรับมือและสามารถเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อชะลอการลุกลามของโรค

ความสมดุลของร่างกาย

เมื่ออายุมากขึ้นความสมดุลของร่างกายย่อมลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุของการหกล้มของผู้สูงอายุและเป็นต้นเหตุของอาการบาดเจ็บ การรักษาสมดุลของร่างกายผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรใส่ใจ

สุขภาพช่องปาก

ในผู้สูงอายุบางคนอาจสูญเสียฟันจนทำให้เกิดปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร การรักษาด้วยฟันปลอมสามารถช่วยให้ผู้สูงอายุบดเคี้ยวอาหารได้ดีขึ้น และผู้สูงอายุสามารถเกิดโรคเหงือกอักเสบที่นำไปสู่โรคปริทันต์อักเสบ เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่งผลต่อเหงือกและกระดูกรองรับฟัน ดังนั้นควรดูแลช่องปากผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม เข้าพบทันตแพทย์เป็นนประจำเพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก ๆ 6 เดือน เพื่อสุขภาพฟันและเหงือกที่แข็งแรง

โรคหัวใจ

โรคหัวใจและหลอดเลือดยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุดของผู้สูงอายุ เช่น โรคหัวใจขาดเลือดเรื้อรัง หัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ จำเป็นต้องมีการดูแลสุขภาพหัวใจให้ดีเพราะอาจนำไปสู่ภาวะอื่น ๆ คือการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือด เกิดความฝืดของหลอดเลือดทำให้เกิดการอักเสบ เพิ่มความเสี่ยงต่อหลอดเลือดในสมอง โรคหลอดเลือดส่วนปลาย ความบกพร่องทางสติปัญญา หรืออาจส่งผลต่ออวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย

โรคข้อเข่าเสื่อมหรือโรคกระดูกพรุน

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้สูงอายุเป็นสาหตุของอาการปวดเรื้อรังและความพิการ โรคข้อเข่าเสื่อมมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายและโรคอ้วนก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม การรักษาเป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเจ็บปวดได้แต่อาจต้องใช้การผ่าตัดร่วมด้วยในบางคน ซึ่งต้องได้รับการพักฟื้นร่างกายและการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด

โรคกระดูกพรุนเป็นอีกหนึ่งโรคกระดูกที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เป็นการสูญเสียความหนาแน่นของกระดูกอย่างรุนแรงซึ่งอาจนำไปสู่การแตกหักของกระดูกในอนาคตได้ การตรวจกระดูกเป็นประจำหรือเข้ารับการรักษาจึงเป็นวิธีที่จะช่วยป้องกันการแตกหักของกระดูกได้ การเสริมแคลเซียม วิตามินในอาหารก็อาจช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกได้อีกทางหนึ่ง

โรคทางเดินหายใจ

ในผู้สูงอายุบางคนอาจเจอปัญหาโรคหอบหืดหรือโรคปอดอุดกั้นเรื้องรัง (Chronic obstructive pulmonary disease : COPD) ซึ่งสร้างปัญหาให้กับระบบการหายใจของผู้สูงอายุ ดังนั้นการเข้าตรวจสุขภาพทางเดินหายใจจึงเป็นสิ่งที่จะช่วยได้

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานอาจเพิ่มความเสี่ยงตามอายุของผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งโรคเบาหวานยังคงเป็นปัจจัยที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุ อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย เส้นประสาทส่วนปลาย มีส่วนทำให้เกิดแผลที่เท้าหรือถูกตัดขาจากโรคเบาหวาน

ไข้หวัดใหญ่หรือปอดบวม

การติดเชื้อ เช่น ไข้หวัดใหญ่หรือปอดบวมไม่ใช่โรคที่เกิดในผู้สูงอายุเพียงอย่างเดียวแต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย แต่อัตราการเกิดขึ้นในผู้สูงอายุอาจง่ายกว่าเพราะผู้สูงอายุมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง จึงมีทำให้การฟื้นตัวจากโรคเป็นไปได้ยาก

การมองเห็นและสูญเสียการได้ยิน

ระดับการมองเห็นจะลดลงตามอายุและมักประสบปัญหาเรื่องการสะท้อนของแสงทำให้มีความเสี่ยงในการขับรถตอนกลางคืน หรืออาจเพิ่มโอกาสการเกิดโรคสายตาชนิดอื่นตามมา ดังนั้นการรักษาสุขภาพตาในผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญ

สูญเสียการได้ยิน เมื่ออายุเพิ่มขึ้นร่างกายผลิตขี้หูมากเกินไปอาจทำให้การได้ยินลดลงได้ ซึ่งการสูญเสียการได้ยินอาจส่งผลทำให้การรับสารจากผู้อื่นผิดพลาดไป ความรู้ความเข้าใจลดลง รวมไปถึงคุณภาพชีวิตที่ลดลงตามไปด้วย

โรคมะเร็ง

ความเสี่ยงของโรคมะเร็งบางชนิดอาจเพิ่มขึ้นในผู้สูงอายุ เช่น ผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งเยื่อโพรงมดลูก และผู้ชายมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ดังนั้นการตรวจร่างกายเพื่อหามะเร็งในระยะแรกอาจช่วยรักษามะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ageing and health. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ageing-and-health. Accessed July 8, 2021

The Top 10 Health Concerns for Seniors. https://www.asccare.com/health-concerns-for-seniors/. Accessed July 8, 2021

Age-Related Diseases and Clinical and Public Health Implications for the 85 Years Old and Over Population. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5732407/. Accessed July 8, 2021

Ageing. https://www.who.int/health-topics/ageing#tab=tab_1. Accessed July 8, 2021

National Center for Chronic Disease Prevention and Health Promotion (NCCDPHP). https://www.cdc.gov/chronicdisease/resources/publications/factsheets/promoting-health-for-older-adults.htm. Accessed July 8, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/09/2024

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงวัย ควรรับมือและช่วยเหลืออย่างไรดี

อาหารผู้สูงอายุ เพื่อสุขภาพดีของชาววัยเก๋า จึงต้องเลือกกิน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 2 สัปดาห์ก่อน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา