backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

คออักเสบ เจ็บคอมาก บรรเทาอาการได้ง่าย ๆ แบบไร้กังวล

คออักเสบ เจ็บคอมาก บรรเทาอาการได้ง่าย ๆ แบบไร้กังวล

อาการเจ็บคอ เป็นอาการทางสุขภาพที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย หรืออากาศเย็น ซึ่งมักจะก่อให้เกิดไข้หวัดจนมีอาการไอและเจ็บคอตามมา แต่…ถ้าอาการเจ็บคอที่คุณเป็นอยู่และไม่มีทีท่าว่าจะหายไปสักที แถมยัง เจ็บคอ จนกระทบต่อการรับประทานอาหารและการดื่มน้ำ คุณอาจเป็นมากกว่าไข้หวัดทั่วไปที่ทำให้มีอาการเจ็บคอ เพราะคุณอาจจะกำลังเป็น คออักเสบ อยู่ก็ได้ แต่คออักเสบคืออะไร และรับมือได้อย่างไร บทความนี้ของ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาฝากแล้วค่ะ

คออักเสบ คืออะไร

คออักเสบ คือ อาการ เจ็บคอ ระคายเคืองคอ ซึ่งโดยมากแล้วมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส จนทำให้เกิดการอักเสบขึ้นที่บริเวณคอหอย อย่างไรก็ตาม คออักเสบยังสามารถเกิดขึ้นได้จากปัจจัยอื่น ๆ ด้วย ดังนี้

โดยอาการโดยทั่วไปของคออักเสบ มีดังนี้

  • ปวดหรือแสบในลำคอ
  • รู้สึก เจ็บคอ เวลากลืนอาหาร หรือดื่มน้ำ
  • กลืนอาหารลำบาก
  • เจ็บและบวมที่คอหรือกราม
  • ต่อมทอนซิลมีอาการบวมและแดง
  • มีคราบสีขาวหรือหนองที่ต่อมทอนซิล
  • เสียงแหบ

ในกรณีที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส มักจะมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย

ทำอย่างไรหากมีอาการ คออักเสบ

หากมีอาการคออักเสบ หรือ เจ็บคอ ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากคออักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวัรส ผู้ป่วยจึงมักจะมีไข้สูง อ่อนเพลีย และอ่อนล้า จึงควรพักการทำกิจกรรมต่าง ๆ แล้วพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำให้บ่อย ๆ เพื่อให้ลำคอมีความชุ่มชื้น และลดความเสี่ยงของภาวะขาดน้ำ 
  • รับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มที่สามารถกลืนได้ง่าย เพื่อให้สะดวกต่อการกลืน
  • เปิดเครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศหรือเครื่องเพิ่มไอน้ำ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นภายในบ้าน ลดสภาพอากาศแห้งที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการระคายเคืองในลำคอ
  • หลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศ ฝุ่น ควัน หรือควันบุหรี่ เพราะเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองในลำคอ
  • รับประทานยาตามที่คุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัด 

หรืออาจใช้วิธีดูแลตัวเองดังต่อไปนี้ เพื่อบรรเทาอาการคออักเสบ

  • ผสมน้ำผึ้งกับน้ำอุ่นหรือชาแล้วดื่ม เพื่อบรรเทาอาการไอ เนื่องจากน้ำผึ้งมีสารต้านจุลชีพที่มีส่วนช่วยต้านการอักเสบตามธรรมชาติ
  • กลั้วคอด้วยน้ำอุ่นผสมเกลือหรือกลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่น ๆ เพื่อลดอากาาระคายเคืองในลำคอและอาการ เจ็บคอ เพราะน้ำเกลือมีสรรพคุณช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในลำคอ
  • ดื่มชาอุ่น ๆ อย่างชาคาโมมายล์ที่มีสรรพคุณช่วยในการผ่อนคลาย ช่วยลดอาการระคายเคืองหรือเจ็บคอได้
  • ผสมน้ำอุ่น 1 ถ้วย เบกกิ้งโซดา 1/4 ช้อนชา และเกลือ 1/8 ช้อนชา จากนั้นใช้กลั้วคอเพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ และฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • ผสมน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลหรือแอปเปิ้ลไซเดอร์ 1-2 ช้อนโต๊ะ กับน้ำหนึ่งถ้วยแล้วกลั้วคอ ทำ 1-2 ต่อชั่วโมง เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และสลายเมือกในลำคอ 

เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

อาการคออักเสบ แม้จะไม่ใช่อาการทางสุขภาพที่อันตรายถึงแก่ชีวิต แต่ก็สร้างความรำคาญและความไม่สบายตัวอยู่ไม่น้อย หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบคุณหมอ

อาการคออักเสบในเด็กที่ควรไปพบคุณหมอ

  • หายใจไม่ออก
  • กลืนอาหารลำบากไปจนถึงไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ
  • มีน้ำลายไหลออกมามากกว่าปกติ

อาการคออักเสบในผู้ใหญ่ที่ควรไปพบคุณหมอ

  • มีอาการ เจ็บคอ นานเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์
  • เสียงแหบนานเกินกว่าสองสัปดาห์
  • หายใจไม่ออก
  • กลืนอาหารลำบากไปจนถึงไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ
  • อ้าปากไม่ค่อยได้ และมีอาการเจ็บ
  • ปวดข้อ
  • ปวดหู
  • มีผื่นขึ้น
  • มีไข้สูงถึง 38 องศาเซลเซียส
  • มีเลือดปนมากับน้ำลายหรือเสมหะ
  • มีก้อนในลำคอ
  • มีอาการบวมที่คอหรือใบหน้า

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What is pharyngitis?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/324144. Accessed March 11, 2021.

Sore Throat (Pharyngitis). https://www.health.harvard.edu/diseases-and-conditions/sore-throat-pharyngitis-a-to-z. Accessed March 11, 2021.

Pharyngitis. https://www.healthline.com/health/pharyngitis#_noHeaderPrefixedContent. Accessed March 11, 2021.

12 Natural Remedies for Sore Throat. https://www.healthline.com/health/cold-flu/sore-throat-natural-remedies#Overview. Accessed March 11, 2021.

Sore throat. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sore-throat/symptoms-causes/syc-20351635t. Accessed March 11, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/03/2021

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล

avatar

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 23/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา